Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
8 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์

.




ภิกษุ ท.!
คำที่เรากล่าวว่า "พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง"
ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ ..
- ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
- ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
- ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
- ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
- อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
- อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง

ภิกษุ ท.!
ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
- ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
เมื่อคนเรามองเห็น ..
- การได้ซึ่ง รูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตาว่า เป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ก็ตาม,
- หรือว่าเมื่อระลึกถึงรูป เช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อน ซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.

ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส).

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำ นองเดียวกับ ข้อ ว่า รูป ผิด กัน แต่ชื่อ เท่านั้น ).

ภิกษุ ท .!
เหล่านี้คือความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
เมื่อคนเรารู้แจ้งถึง ..
- ความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
- ความแปรปรวน ความจางคลาย ความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย
เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า "รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา" ดังนี้ แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.

ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส).

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่างก็ตรัสทำ นองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
เมื่อคนเรามองเห็น ..
- การไม่ได้ซึ่งรูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตาว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม,
- หรือว่า เมื่อระลึกถึงรูปเช่นนั้นอันตนยังไม่เคยได้แต่กาลก่อนซึ่งล่วงลับ ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโทมนัสขึ้น.

ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโทมนัส).

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่างก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้คือความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!
เมื่อคนเรารู้แจ้งถึง ..
- ความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
- ความแปรปรวน ความจางคลาย ความกำหนัดยินดี
- และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย
เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตาที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า

"รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา"

ดังนี้แล้ว เขา ย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลายว่า "เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึงอายตนะนั้น แล้วแลอยู่ อันเป็นอายตนะที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้" ดังนี้.

เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้ ย่อมเกิดความโทมนัสขึ้น เพราะความกระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย. ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่าความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส)

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำ นองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุท.!
เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจาเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน(เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่ ..
- คนพาล
- ผู้หลง
- ผู้เขลา
- ผู้บุถุชน
- ผู้ยังไม่ชนะกิเลส
- ผู้ยังไม่ชนะวิบาก
- ผู้ไม่เห็นโทษ
- ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง.
อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของบุถุชน อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วงซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้นเราเรียกอุเบกขานั้น ว่า อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน.

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจาเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
เมื่อคนเรารู้แจ้งถึง ..
- ความเป็นของไม่เที่ยงขอรูปทั้งหลาย
- ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนดยินดี
- และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย
เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า

"รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา"

ดังนี้ แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น. อุเบกขาใดมีลักษณะเช่นนี้ อุเบกขานั้นไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้นเราเรียกอุเบกขานั้นว่าอุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา).

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.

ภิกษุ ท.!
คำใดที่เรากล่าวว่า "พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง" ดังนี้นั้น,

คำนั้น เรากล่าวอาศัยความข้อนี้แล.
.
.
.
อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๒-๔๐๕/๖๒๔-๖๓๐


Create Date : 08 มิถุนายน 2556
Last Update : 8 มิถุนายน 2556 6:14:24 น. 0 comments
Counter : 970 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.