Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
 
20 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงทราบพรหมโลก

.




วาเสฏฐะ !
บุรุษผู้ที่เกิดแล้วและเจริญแล้วในบ้านมนสากตคามนี้ เมื่อถูกถามถึงหนทางของบ้านมนสากตคาม บางคราวอาการอึกอักตอบได้ช้า หรือ ตอบไม่รู้เรื่อง ; ก็ยังมีได้บ้าง ; ส่วนเรา, เมื่อถูกใครถามถึงพรหมโลก หรือ ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่มีอาการอึกอัก หรือตอบไม่ได้เรื่องเช่นนั้นเลย.

วาเสฏฐะ !
เรารู้จักพวกพรหม รู้จักพรหมโลก และรู้จักปฏิปทาทำบุคคลผู้ปฏิบัติตาม ให้เข้าถึงพรหมโลกนั้น.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วว่า พระสมณโคดม แสดงหนทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกพรหม ท. ได้. ดังข้าพเจ้าขอโอกาส, ขอพระโคดมผู้เจริญจงแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกพรหม ท. นั้น. ขอพระโคดมผู้เจริญจงช่วยยกฐานะชนชาติพราหมณ์" วาเสฏฐมาณพ ทูลขอ.

วาเสฏฐะ !
ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

วาเสฏฐะ !
ตถาคตเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ฯลฯ .. แสดงธรรมไพเราะใน ..
- เบื้องต้น
- ท่ามกลาง
- เบื้องปลาย,
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.
คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ฯลฯ .. ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ ..
- ออกจากเรือนบวชเป็นคนไม่มีเรือน ฯลฯ
- ถึงพร้อมด้วยศีล ฯลฯ ..
- มีทวารอันสำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ฯลฯ ..
- มีสติสัมปชัญญะ ฯลฯ ..
- เป็นผู้สันโดษ ฯลฯ ..
- เสพเสนาสนะอันสงัด ..
- ละนิวรณ์ ..
- เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ทั้งห้าอันตนละได้แล้วในตน ก็เกิดปราโมทย์,
- เมื่อปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ,
- เมื่อใจปีติ กายก็สงบ,
- ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุขเวทนา,
- ผู้เสวยสุขเวทนา ย่อมยังจิตให้ตั้งมั่นได้
- เธอนั้นด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศ(ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น,
- เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัดแล้วแลอยู่



(หมายเหตุ จขบ ..

นิวรณ์ทั้งห้าคือ
1.กามฉันท์ .. ความพอใจในกามคุณ
2.พยาบาท .. คิดร้ายผู้อื่น
3.ถีนมิทธะ .. ความหดหู่ ความซึมเซา
4.อุทธัจจกุกกุจจะ .. ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ,เดือดร้อนใจ
5.วิจิกิจฉา .. ความลังเลสงสัย ;
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์ ๕ คือ สมาธิ



นี่คือลำดับของการที่คนคนหนึ่ง .. เริ่มสนใจธรรม ปฏิบัติธรรม และได้ผลจากการปฏิบัติธรรมในที่สุด .. ลองพิจารณาให้ดีว่า .. ตั้งแต่ ..

ฟังธรรม -> ออกจากเรือนเพื่อบวช -> .. -> จนถึง -> จิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด (จิตอรหันต์) .. เกิดขึ้นในชีวิตเดียวนี้หรือไม่ ?

ต้องรอสะสมบุญ (บริจาคให้วัดมากๆ .. เอารถแพงๆให้หลวงพ่อนั่ง .. เอาอาหารดีๆให้หลวงพ่อฉัน .. เอาจีวรเนื้อเนียนนุ่มให้หลวงพ่อห่ม .. ฯลฯ) .. เพื่อภพภูมิหลังการตายเข้าโลง แล้ววิญญาณ (เที่ยง เป็น อมตะแบบอุปนิษัทของพราหมณ์) ล่องลอย แล้วเกิดใหม่จากท้องแม่ - ที่ไหนกันเล่า ?

มันเป็นเรื่องที่คนทุกคนสามารถเข้าถึง เข้าใจได้ .. สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็นธรรมที่เป็นธรรมชาติและมุ่งหมายให้คนปฏิบัติได้ในชีวิตปัจจุบัน .. เพื่อตัวตนนั้นๆจะได้มีเมตตาต่อผู้อื่น และสังคมส่วนรวมจะเต็มไปด้วยเมตตาบุคคลในที่สุด .. สังคมก็สงบสุข

ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนลึกซึ้งถึงขนาดจะต้องสะสมบุญบารมี ข้ามภพข้ามชาติ ที่พิสูจน์ไม่ได้ อย่างที่ลัทธิธรรมกายคอยพูดกรอกหูเหล่า "บัวใต้น้ำ" ที่การใช้ความใคร่ครวญอ่อนด้อย .. แต่อย่างใด
)


วาเสฏฐะ !
คนเป่าสังข์ที่แข็งแรง อาจเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยาก ฉันใด; ในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่าง(ข้างบน) นี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ใน (เมตตาเจโตวิมุตติอันเป็นกรรมที่ไม่มีขีดจำกัด) นั้น, ก็ฉันนั้น.

วาเสฏฐะ !
นี้แล เป็นทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม ท.


( หมายเหตุ - จขบ ..
เมตตาเจโตวิมุตติ คืออัปปนาสมาธิ ที่ประกอบด้วยเมตตา ..


ข้อความนี้ .."กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด".. อาจเข้าใจได้ยากอยู่สักหน่อย .. จึงต้องพิจารณาต่อเนื่องมาจากข้อความด้านบน ที่ว่า..

.. (เมตตาเจโตวิมุตติ นั้น) เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด

เมตตาที่แผ่ออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัด .. แปลว่า ไปพ้นจากความเป็นตัวตนของตนเอง .. เพราะเหตุว่าขีดจำกัดของคนทั้งหลายคือความเป็นตัวตน - อัตตา

ดังนั้นคำว่า "กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด" ย่อมหมายถึง การกระทำกอปรด้วยเจตนาที่ยังถูกจำกัดด้วยความเป็นตัวตนของผู้กระทำ .. คือยังอยู่ในกรอบของอัตตา

แปลต่อไปว่า .. เมตตาเจโตวิมุมตินั้น .. เกิดได้จากจิตที่"ว่าง"จากตัวตนแล้วเท่านั้น .. คือ จิตพระอรหันต์ .. นั่นเอง )



(ต่อไปนี้ ทรงแสดง ข้อ กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, อีก โดยเนื้อความอย่างเดียวกัน. ทุก ๆข้อเป็นหนทางเหมือนกัน โดยพระบาลีว่า แม้นี้ ๆ ก็เป็นหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ท.)
.
.
.
บาลี สี. ที. ๙/๓๐๙/๓๘๒.
ตรัสแก่วาเสฏฐะมาณพ ที่บ้านมนสากตคาม

ที่ละ ฯลฯ เช่นนี้ คือมีเนื้อความพิสดารกว่านี้ แต่ได้ตัดมาแต่พอสมควร เพราะไม่ใช่ตอนสำคัญของในที่นี้.

ผู้ปรารถนาดูพิสดาร ดูได้ในสามัญญผลสูตร, หนังสือพิมพ์พุทธสาสนเล่ม ๑ ปีที่๑. ภาคส่งเสริม (บุรพภาคของการตามรอยพระอรหันต์)


Create Date : 20 กรกฎาคม 2555
Last Update : 20 กรกฎาคม 2555 10:02:45 น. 0 comments
Counter : 1258 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.