Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 
25 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้

.




ภิกษุ ท. !
ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า เราพึงทำวิตกทั้งหลายให้เป็นสองส่วนเถิด.

ภิกษุ ท. !
เราได้ทำ ..
- กามวิตก
- พยาปาทวิตก
- วิหิงสาวิตก
สามอย่างนี้ให้เป็นส่วนหนึ่ง,

ได้ทำ ..
- เนกขัมมวิตก
- อัพยาปาทวิตก
- อวิหิงสาวิตก
สามอย่างนี้ให้เป็นอีกส่วนหนึ่งแล้ว.


(หมายเหตุ จขบ ..

วิตก, วิตก [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิดสงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวล ไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ, ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).

กามวิตก น. ความครุ่นคิดในกาม, ความคิดคำนึงในทางกาม. (ป.).

พยาบาท [พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย, ในคำว่า ผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย, เช่น อย่าไปพยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท, วฺยาปาท; ส. วฺยาปาท).

วิหิงสะ, วิหิงสา, วิเหสา น. ความเบียดเบียน; การทําร้าย. (ป. วิหึสา, วิเหสา; ส. วิหึส).

เนกขัม (แบบ) น. การออก, การออกจากกาม, การออกบวช. (ป. เนกฺขมฺม).

อัพบาปาท = ไม่พยาบาท

อวิหิงสา = ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้าย)



ภิกษุ ท. !
เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้กามวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว,

กามวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ ..
- เบียดเบียนตนบ้าง
- เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
- เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและผู้อื่น) บ้าง,
- เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา
- เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น
- ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. !
เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่....ฯลฯ*.... อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้.

ภิกษุ ท. !
เราได้ละและบรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ ท. !
เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้พยาปาทวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า พยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว,

ก็พยาปาทวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ ..
- เบียดเบียนตนบ้าง
- เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
- เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง,
- เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา
- เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น
- ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. !
เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่...ฯลฯ... อย่างนี้ พยาปาทวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้.

ภิกษุ ท. !
เราได้ละและบรรเทาพยาปาทวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ ท. !
เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,

ก็วิหิงสาวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ ..
- เบียดเบียนตนบ้าง
- เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
- เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง,
- เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา
- เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น
- ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. !
เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่....ฯลฯ....อย่างนี้ วิหิงสาวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้.

ภิกษุ ท. !
เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้วกระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ ท. !
ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ :

- ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงกามวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละเนกขัมมวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม.

- ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึงพยาปาทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอัพยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งพยาปาทวิตก, จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท.

- ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการทำสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝนคนเลี้ยงโคต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจากข้าวกล้านั้นด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษคือการถูกประหาร การถูกจับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ ข้อนี้ฉันใด,

ภิกษุ ท. !
ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทรามเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย, เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. !
เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้น...** อัพยาปาทวิตกย่อมเกิดขึ้น....อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย, แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืน ก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดวัน, หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.

ภิกษุ ท. !
เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนักกายจะเมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ, เราจึงได้ดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้ ด้วยหวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท. !
ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ :

- ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการออกจากกาม.

- ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอัพยาปาทวิตกมากก็เป็นอันว่าละพยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอัพยาปาทวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท.

- ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมดเขาขนนำไปในบ้านเสร็จแล้ว*** คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้งๆ พึงทำแต่ความกำหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด;

ภิกษุ ท. !
ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. !
ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเราได้ดำรงไว้แล้วไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียวแล้ว.

ภิกษุ ท. !
เรานั้น เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. (คำต่อไปนี้เหมือนในตอนที่กล่าวด้วยการตรัสรู้ ข้างหน้า อันว่าด้วยรูปฌานสี่)
.
.
.
เทวธาวิตักกสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒,
ตรัสที่เชตวัน.
--------------------------------------------------------------
* เห็นอย่างนี้ คือเห็นอย่างว่ามาแล้ว เช่นมีการเบียดเบียนตนเป็นต้น.

** ที่ละด้วยจุดนี้ หมายความว่าตรัสทีละวิตก แต่คำตรัสเหมือนกันหมด ผิดแต่ชื่อเท่านั้น, ทุกๆ วิตกมีเนื้อความอย่างเดียวกัน.

*** คำแปลตรงนี้ ข้าพเจ้าถือเอาตามที่ได้สอบสวนสันนิษฐานแล้ว คือฉบับบาลีเป็น สพฺพปสฺเสสุคามนฺตสมฺภเวสุ มีผู้แปลกันต่างๆ ตามแต่จะให้คล้ายรูปศัพท์เพียงใด. ข้าพเจ้าเห็นว่าต้องแก้บาลีนั้นเป็น สพฺพสสฺเสสุ จึงจะได้ความ เพราะอรรถกถาแก้คำหลังไว้ดังนี้ คามนฺตสมฺภเวสูติ คามนฺตอาหเฏสุ ฯ ปปญจ. ๒/๑๑๑. ขอจงใคร่ครวญด้วย. บาลีคือพระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ หน้า ๒๓๖ บรรทัด ๖ นับลง.




Create Date : 25 พฤษภาคม 2555
Last Update : 25 พฤษภาคม 2555 5:43:29 น. 0 comments
Counter : 1324 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.