Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
17 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. วิภาคแห่งภวตัณหาร้อยแปด

ภิกษุ ท.!
เราจักแสดงแก่พวกเธอ ถึงเรื่อง ตัณหา อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะ และปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้.

พวกเธอจงฟังข้อความนั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.
ครั้งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธวจนะนี้ว่า :-

ภิกษุ ท.!
ตัณหานั้น เป็นอย่างไรเล่า จึงชื่อว่ามีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์มีธรรมชาติไหนนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ ?

ภิกษุ ท.!
ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่างที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก เหล่านี้ มีอยู่.

ภิกษุ ท.!
ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน เหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!
ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็นภายใน นั้นคือ เมื่อมีความนึกไปในทาง ที่ ..
.. ว่า "เรามี เราเป็น" ดังนี้ ก็เกิดความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา
.. ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆ (คืออย่างเดียวกันกับคู่เปรียบ)" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นอย่างอื่น (คือแตกต่างตรงกันข้ามจากคู่เปรียบ)" ดังนี้๑,
.. ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นผู้เที่ยงผู้ยั่งยืน" ดังนี้ ๑,
.. ว่า “เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่” ดังนี้ ๑ ,
.. ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ ” ๆ ดังนี้ ๑ ,
.. ว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ”ดังนี้ ๑,
.. ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ดังนี้ ๑,
.. ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑,
.. ว่า"ขอให้เราเป็นอย่างอื่น" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักเป็นอย่างอื่น" ดังนี้๑.

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน.

ภิกษุ ท.!
ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก คือ เมื่อมีความนึกไปในทางที่ว่า "เรามี เราเป็น ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก) นี้" ดังนี้ ก็เกิดความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา

.. ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก) นี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราพึงเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "ขอให้เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
.. ว่า "เราจักเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก.

ภิกษุ ท.!
ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายในด้วยและตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอกด้วย เหล่านี้แล เรียกว่า ตัณหาวิจริต๓๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริตอย่างนี้แล เป็นอดีต ๓๖ อย่าง, เป็นอนาคต๓๖ อย่าง, และปัจจุบัน ๓๖ อย่าง, รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
นี่แลคือ ตัณ หานั้น อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ถูกทำ ให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกับสันสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ๑จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ แล.
.
.
.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๙/๑๙๙.


Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2557 6:55:20 น. 0 comments
Counter : 924 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.