Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. พระอรหันต์มีคุณลักษณะที่น่าสนใจ

(หลังจากที่ได้ตรัสว่า พระอรหันต์ เป็นผู้เลิศในโลกทั้งปวงยิ่งกว่าสัตตาวาสและ
ภวัคค-พรหมแล้ว (ข้อความนั้นอยู่ในหัวข้อถัดไปจากหัวข้อนี้) ได้ตรัสข้อความที่ประพันธ์เป็นคาถา ดังต่อไปนี้ :-)


พระอรหันต์ ท.
.. ท่านมีความสุขหนอ.
.. ตัณหาของท่าน ไม่มี,
.. ท่านถอนอัสมิมานะหมดสิ้นแล้ว,
.. ท่านทำลายข่ายแห่งโมหะได้แล้ว,
.. ท่านถึงความไม่หวั่นไหวแล้ว,
.. จิตของท่านนั้นไม่ขุ่นมัว,
.. ไม่มีอะไรฉาบไล้ท่านให้ติดอยู่ในโลก,

ท่านเป็นเสมือนพรหม๑
.. ผู้ไม่มีอาสวะ,
.. รอบรู้ซึ่งเบญจขันธ์
.. มีสัทธรรมเจ็ด๒ เป็นที่โคจร,
.. เป็นสัปบุรุษ๓ ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ.
.. เป็นบุตรที่เกิดแต่อกพระพุทธเจ้า,
.. ถึงพร้อมแล้วด้วยรัตนะเจ็ดประการ๔,
.. ผ่านการศึกษาในสิกขาทั้งสาม,
.. เป็นมหาวีระ๕ เที่ยวไปในที่ต่าง ๆ,
.. ปราศจากภัยเวรโดยสิ้นเชิง,
.. ถึงพร้อมแล้วด้วยองค์ (แห่งสัมมัตตะ๖) ทั้งสิบ
.. เป็นมหานาคผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว,
นี่แหละคือผู้ประเสริฐในโลกละ,

.. ตัณหาของท่านไม่มี,
.. อเสขญาณ เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน
.. ประชุมแห่งกายนี้มีแก่ท่านเป็นครั้งสุดท้าย,
.. ไม่ต้องอาศัยปัจจัยจากใครอื่น ในสาระแห่งพรหมจรรย์.
.. ไม่หวั่นไหวในเพราะวิชา (ชั้นแห่งมานะสาม) ทั้งหลาย,
.. พ้นพิเศษแล้วจากการต้องมีภพใหม่,
.. บรรลุแล้วตามลำดับซึ่งทันตภูมิ ๗,
.. ท่านชนะโลกแล้วทั้งเบื้องบนเบื้องขวางและเบื้องล่าง,
.. นันทิของท่านไม่มี,
.. ท่านประกาศธรรมในลักษณะนับถือสีหนาท,
.. ท่านเป็นผู้รู้ในโลก อย่างไม่มีผู้รู้อื่นยิ่งกว่า,

ดังนี้แล.
.
.
.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๑/๑๕๓.


๑. "พรหม" เป็นภาษาดึกดำบรรพ์ในอินเดีย หมายถึงผู้ประเสริฐสูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.

๒. สัทธรรมเจ็ด ได้แก่ สัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตะ วิริยะ สติ ปัญญา (พุทธภาษิต ๒๓/๑๔๗/๘๔)

๓. คำ ว่า "สัปบุรุษ" คำ นี้ อาจจะเป็นคำ ประหลาดที่สุดสำ หรับพวกเราสมัยนี้ก็ได้ ที่ท่านใช้เป็นคำเรียกพระอรหันต์ แม้ในศิลาจารึกยุคหลังพุทธกาลตอนต้น ๆ.

๔. รัตนะเจ็ดประการ ในที่นี้ ท่านหมายถึง โพชฌงครัตนเจ็ดประการ (พุทธภาษิต ๑๙/๑๓๙/๕๐๖)

๕. "มหาวีระ" คำนี้ ใช้ร่วมกันในระหว่างพุทธกับลัทธิอื่น เช่นเดียวกับ คำว่า ชินะ เป็นต้น.

๖. คำว่า "สัมมัตตะสิบ" หมายถึงความถูกต้องสิบประการ ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า "สัมมัตตะสิบของพระอเสขะ" หน้า ๕๕๖ และที่หน้า ๕๕๗ แห่งหนังสือเล่มนี้.


Create Date : 02 ตุลาคม 2558
Last Update : 2 ตุลาคม 2558 6:49:00 น. 0 comments
Counter : 802 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.