Group Blog
 
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
7 มกราคม 2559
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. พระอริยบุคคล มีอันดับเจ็ด

ภิกษุ ท.!
บุคคลเจ็ดจำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้ อยู่ในโลก.
เจ็ดจำ พวกอย่างไรเล่า ?

เจ็ดจำ พวก คือ ..
1.อุภโตภาควิมุตต์
2.ปัญญาวิมุตต์
3.กายสักขี
4.ทิฏฐิปปัตต์
5.สัทธาวิมุตต์
6.ธัมมานุสารี
7.สัทธานุสารี.

๑. ผู้อุภโตภาควิมุตต์
ภิกษุ ท.!
บุคคลผู้เป็น อุภโตภาควิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ถูกต้องวิโมกข์ทั้งหลาย อันไม่เกี่ยวกับรูป เพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำ งับ, ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่ (นี้อย่างหนึ่ง); และ อาสวะทั้งหลายของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว

เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา (นี้อีกอย่างหนึ่ง).

ภิกษุ ท .!
นี้เรากล่าวว่าบุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์.

ภิกษุ ท.!
สำรับภิกษุนี้ เราไม่กล่าวว่ายังมีอะไร ๆ เหลืออยู่ ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำ ด้วยความไม่ประมาท เธอทำเสร็จแล้ว, และเธอเป็นผู้ไม่อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป


ผู้อุภโตภาควิมุต์โดยสมบูรณ์ ๑
(ผู้อุภโตภาควิมุตต์ หมายความว่าผู้มีความคล่องแคล้วในวิโมกข์แปด และหลุดพ้นแล้วด้วยเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้. สำหรับวิโมกข์แปดมีรายละเอียดดับนี้คือ :-)

อานนท์ !
วิโมกข์แปด เหล่านี้แลมีอยู่.
แปดเหล่าไหนเล่า ?

แปดคือ :-
(๑) ผู้มีรูป (ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (อันเป็นสมาธินิมิตเหล่านั้น) นี้คือ วิโมกข์ที่หนึ่ง. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย)

(๒) ผู้ไม่มีสัญาในรูปซึ่งเป็นภายใน (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) : นี้คือ วิโมกข์ที่สอง. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย).

(๓) เป็นผู้น้อมใจ (ไปในรูปนิมิตแห่งสมาธิ) ด้วยความรู้สึกว่า "งาม" เท่านั้น : นี้คือ วิโมกข์ที่สาม. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรบกวนของความรู้สึกว่าเป็นปฏิกูลในสิ่งที่เป็นปฏิกูล)

(๔) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวงเพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาทั้งหลายเป็นผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สุด" ดังนี้แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่สี่.
(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของรูปสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในรูปทั้งหลาย
อันให้เกิดการกระทบกระทั่งกับสิ่งที่เป็นรูปนั่นเอง).

(๕) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจาตนะโดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สุด" ดังนี้แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่ห้า.
(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากาสานัญจายตนสัญา ซึ่งทำ ความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทแรกคืออากาสานัญจายตนะนั่นเอง).

(๖) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" ดังนี้ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่หก.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของวิญญาณัญจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพัน
อยู่ในอรูปประเภทที่สองคือวิญญาณัญจายตนะนั่นเอง).

(๗) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่เจ็ด.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากิญจัญญายตนะสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สามคืออากิญจัญญายตนะนั่นเอง).

(๘) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่แปด.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สี่คือเนวสัญญานาสัญญายตนะนั่นเอง).

อานนท์ !
เหล่านี้แล วิโมกข์แปด.

อานนท์ !
ในกาลใดแล ภิกษุเข้าสู่วิโมกข์แปดเหล่านี้ โดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้างทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ได้ตามที่ที่ต้องการ ตามสิ่งที่ต้องการ ตามเวลาที่ต้องการ ; กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

อานนท์ !
ภิกษุนั้นแลชื่อว่า อุภโตภาควิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนสอง).

อานนท์ !
อุภโตภาควิมุตติอื่นที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าอุภโตภาควิมุตตินี้ย่อมไม่มี.





Create Date : 07 มกราคม 2559
Last Update : 7 มกราคม 2559 6:55:49 น. 0 comments
Counter : 801 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.