Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
27 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
๑๑. ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา-มรณะ และอาสวะกิเลส




อุปาทานสังขารขันธ์ หรือสังขารูปาทานขันธ์ คือสังขารขันธ์ เช่น ความคิด, การกระทําทางกาย, การกระทําทางวาจา ล้วนเกิดขึ้นสืบเนื่องต่อจากอุปาทานสัญญา(สัญญูปาทานขันธ์)อันเกิดในชาติ ดังนั้นสัญญูปาทานขันธ์ความคิดความเข้าใจนั้นๆย่อมแฝงความยึดมั่นถือมั่นในกิเลสเพื่อความพึงพอใจแห่งตนนั้นแฝงอยู่ จึงรวมทั้งความเชื่อ(ทิฎฐุปาทาน - อันเป็น ๑ ในอุปาทาน ๔ อยู่แล้ว) แล้วจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานสังขารขันธ์หรือก็คือการกระทำต่างๆทั้งทาง กาย วาจา ใจ อันประกอบหรือถูกครอบงําด้วยอิทธิพลของอุปาทานตามสัญญูปาทานขันธ์ที่เกิดขึ้น ดังกระบวนธรรมที่แสดง


รูป + ตา -> วิญญาณ -> ผัสสะ -> เวทนา + ตัณหา -> อุปาทาน -> ภพ -> ชาติ การเกิดอันคืออุปาทานสัญญา(สัญญูปาทานขันธ์) -> อุปาทานสังขารขันธ์


จึงทําให้การกระทําใดๆที่เกิดสืบเนื่องต่อไปทั้งทางกาย วาจา ใจ ล้วนเป็นไปตามอิทธิพลของภพหรืออุปาทาน กล่าวคือ เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ขึ้นใหม่และดำเนินต่อไปอีกอย่างต่อเนื่องและแปรปรวน อย่างวนเวียน เป็นวงจรอยู่ในชรา ที่หมายถึง ความแปรปรวน ความถดถอย, ชรา อันเป็นองค์ธรรมที่กำลังเสพเสวยความทุกข์ชนิดอุปาทานทุกข์ อย่างเต็มรูปแบบ อันเร่าร้อนเผาลน และมักเกิดขึ้นยาวนานเพราะมีการฟุ้งซ่านปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา โดยไม่รู้ตัว

กล่าวคือ ความคิดนึกต่างๆโดยเฉพาะความคิดนึกปรุงแต่งหรือคิดฟุ้งซ่าน อันล้วนเป็นขันธ์ ๕ ที่จะเกิดต่อสืบเนื่องต่อไปอีกอันเป็นปกติวิสัยของปุถุชนนั้น ทุกๆความคิดเหล่านั้นจึงล้วนถูกครอบงํากลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ด้วยทั้งสิ้นโดยไม่รู้ตัว ดังกระบวนธรรมการทํางานของอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ ที่จักเกิดต่อสืบเนื่องในองค์ธรรมต่อไปคือชรา ก็จะเป็นไปดังต่อไปนี้


รูป + ตา -> วิญญาณ -> ผัสสะ -> เวทนา + ตัณหา -> อุปาทาน -> ภพ -> ชาติ - อุปาทานสัญญา(หมายรู้) -> อุปาทานสังขารขันธ์ เช่น ความคิด


ความคิดที่เกิดขึ้นข้างต้นนั้นเป็นอุปาทานสังขารแล้ว, หรือความคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านที่เกิดใหม่ต่อเนื่องต่อไปอันย่อมมีอุปาทานแอบแฝง(ทั้งหมดเรียกอุปาทานรูป) + อุปาทานวิญญาณ + ใจ(สฬายตนะ) -> ผัสสะ ->อุปาทานสัญญา(จํา) -> อุปาทานเวทนา -> อุปาทานสัญญา(หมายรู้) -> อุปาทานสังขาร

อันล้วนแต่ถูกครอบงําโดยอุปาทานทั้งสิ้น หรือเขียนใหม่แสดงศัพท์เป็นแบบอุปาทานขันธ ์๕ ได้ดังนี้


รูปูปาทานขันธ์ + ใจ -> วิญญาณูปาทานขันธ์ -> สัญญูปาทานขันธ์(จํา) -> เวทนูปาทานขันธ์ -> สัญญูปาทานขันธ์ -> สังขารูปาทานขันธ์


อันจักทํางานต่อเนื่องแบบเกิดดับๆ...ดังภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ ด้านล่าง อันต้องการแสดงการทํางานของอุปาทานขันธ์ ๕ ข้างบนแต่เป็นแบบที่ต่อเนื่อง และแสดงแบบเกิดดับๆๆ...ต่อสืบเนื่องกันในชรา(ชรา-มรณะ)ที่เกิดขึ้นเพราะชาติเป็นปัจจัย กล่าวคือสังขารูปาทานขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุปัจจัยหรือไปทำหน้าที่เป็นรูปูาทานขันธ์ จึงวนเวียนเป็นวงจรของอุปาทานทุกข์ อันแสนเร่าร้อนเผาลน ภายในชราของปฏิจจสมุปบาท

(ผู้เขียนจะตัดหรือละสัญญูปาทานขันธ์ชนิดความจําไว้ เพื่อให้คล้องจองกับหลักปฏิจจสมุปบาทอันไม่ได้แสดงสัญญาจําไว้ เพราะสัญญาส่วนจํานี้ได้แฝงอยู่ในส่วนของอาสวะกิเลสหรือสัญญาจําชนิดมีกิเลสนอนเนื่อง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว)

ภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ที่จักเกิดใน ชรา อย่างค่อนข้างต่อเนื่อง, อันมีชาติเป็นปัจจัย





ชรา อันคือความแปรปรวน ตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ชราอันเป็นองค์ธรรมที่กำลังเสวยอุปาทานทุกข์อย่างเต็มรูปแบบ คือเป็นทุกข์อุปาทานที่เร่าร้อนเผาลนและมักเกิดอย่างวนเวียนคือฟุ้งซ่านจึงยาวนาน แต่ถึงอย่างไรก็มรณะดับไปในที่สุด แต่ย่อมมีอาสวะกิเลสร่วมเกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีไป อันมี โสกะ(ความโศก ความเศร้า), ปริเทวะ(ครํ่าครวญ รําพัน อาลัย), ทุกข์(ทุกข์ต่างๆทางกาย), โทมนัส(ความทุกข์อันเกิดแต่ใจ), อุปายาส(ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ ขัดเคืองใจ) กล่าวคือ เมื่อทุกข์นั้นเริ่มเกิดขึ้นแล้ว(ชาติ) ก็จะเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์(อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา)เช่นกัน คือเกิดการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไป(ชราหรืออนิจจัง)ไปตามสภาวะความทุกข์นั้นๆ เป็นดังภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ ที่แสดงข้างต้น คือเกิดอุปาทานขันธ์๕ที่ปรุงแต่งหลายๆครั้งที่เนื่องสัมพันธ์ในเรื่องนั้นๆ เกิดแล้วดับๆๆ....อย่างแปรปรวน สิ่งใดเป็นไปตามอุปาทานความพึงพอใจของตัวของตนก็จะรู้สึกเป็นสุข อุปาทานขันธ์๕ใดไม่เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวของตนก็รู้สึกเป็นทุกข์ เกิดดับๆๆ..วนเวียนเร่าร้อนอยู่เป็นวงจรอยู่เยี่ยงนี้ จึงเป็นภาวะที่เป็นสุข หรือทุกข์ก็ได้ หรือทั้งสุขทั้งทุกข์คละเคล้ากันไปตามการคิดปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลานั่นเอง แต่ก็ล้วนแฝงความเร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลสตัณหาอุปาทานเหมือนกัน แม้กระทั่งในความสุขทุกอย่าง และข้อสําคัญคือเป็นไปไม่รู้ตัวหรือรู้ตัวแต่ไม่สามารถออกจากอำนาจอันแข็งแกร่งของภพที่เกิดขึ้นแล้ว ตามอำนาจอุปาทานที่ครอบงำได้

ที่ชรานี้นี่เอง คือสภาวทุกข์ของสรรพสัตว์ ที่ได้ดำเนินกันเป็นอยู่ในชีวิตอยู่เนืองๆเป็นอเนก เกิดขึ้นและดำเนินเป็นไปอยู่ตลอดเวลา เป็นที่เกิดของอุปาทานขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นอย่างวนเวียนเป็นวงจรดังข้างต้น จึงอยู่อย่างยาวนานและเป็นไปอย่างเผ็ดร้อนเผาลน เพียงแต่เป็นไปแบบโดยไม่รู้ตัว แม้ที่บางครั้งเป็นไปในรูปแบบของความสุข แต่ล้วนจะก่อทุกข์ในภาคหน้า เพราะเมื่อเกิดการมรณะหรือการดับแล้ว ย่อมเกิดปริเทวะคืออาการโหยไห้ อาลัยหา ให้ก่อทุกข์ขึ้นในภาคหน้าเป็นที่สุดนั่นเอง

มรณะ แต่ในที่สุดตามสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นั่นเอง จึงต้องดับไป(มรณะหรือทุกขัง)ตามกฎพระไตรลักษณ์(ทุกขัง-ความคงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปเป็นอาการธรรมดา) แต่ถึงแม้ว่าทุกข์อุปาทานนั้นจะดับไปแล้ว แต่ก็จะเก็บสั่งสมเป็นสัญญาความจําชนิดที่แฝงกิเลสต่างๆ(สิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวอันหมายรวมทั้งความสุขและความทุกข์ที่ได้ดับไปแล้ว)หรือที่พระองค์ท่านทรงเรียกว่าอาสวะกิเลส เก็บจำนอนเนื่องไว้ภายในจิตหรือใจ(เพียงรอวันที่จะกําเริบเกิดขึ้นใหม่อย่างแน่นอน) หรือก็คือเก็บไว้ในรูปสัญญา(ความจํา)ชนิดมีกิเลสแอบแฝงนอนเนื่องในจิตใต้สํานึกนั่นเอง อันถือว่าเป็นสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง ที่ยังคงค้างคา นอนเนื่อง หมักหมม อยู่ในจิตต่อไปอีกนานแสนนาน รอเวลาที่จะคุกรุ่นเป็นสังขารหรือกิเลสอันยังให้เกิดทุกข์ขึ้นมาใหม่โดยไม่รู้ตัว เพราะความละเอียดลึกซึ้งของอาสวะกิเลสดังที่กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้น

อาสวะกิเลส ที่เกิดการสั่งสมขึ้นเหล่านี้ ก็ไปเป็นเหตุปัจจัยหนุนให้วงจรปฏิจจสมุปบาทดำเนินหมุนเวียนต่อไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น จึงเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอยู่เช่นนี้ตลอดกาลนาน





Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2554 18:37:32 น. 0 comments
Counter : 1794 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.