Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
19 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. ธรรมลักษณะ ๘ ประการแห่งเวทนา

.





ภิกษุ ท.!
เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ ..
- สุขเวทนา
- ทุกขเวทนา
- อทุกขมสุขเวทนา
นี้เราเรียกว่า เวทนา.

.. เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ จึงมี ความเกิดขึ้น แห่งเวทนา
(: นี้คือสมุทัยแห่งเวทนา)

.. ตัณหา เป็น ปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้น แห่งเวทนา๑
(: นี้คือสมุทยคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา.)

.. เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมี ความดับ แห่งเวทนา
(: นี้คือนิโรธแห่งเวทนา).

อริยอัฏฐังคิกมรรค (มรรคมีองค์ 8) นี้ เป็น ปฏิปทาให้ถึงความดับ แห่งเวทนา; คือ

.. สัมมาทิฎฐิ .. ความรู้ที่ถูกต้อง ความเห็นที่ถูกต้อง
.. สัมมาสังกัปปะ .. ความดำริ คิด ที่ถูกต้อง
.. สัมมาวาจา .. การพูดจาที่ถูกต้อง
.. สัมมากัมมันตะ .. การกระทำ ความประพฤติ ที่ถูกต้อง
.. สัมมาอาชีวะ .. การหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบ สุจริต ไม่เบียดเบียน
.. สัมมาวายามะ .. ความพากเพียร พยายาม อุตสาหะที่ถูกต้อง
.. สัมมาสติ .. ความระลึกแต่ในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เพ้อเจ้อฟุ้งซ่าน
.. สัมมาสมาธิ .. การตั้งจิตมั่นอย่างถูกต้อง เช่น อาณาปาณสติ-กำหนดลมหายใจ จดจ่อกับความเลื่อนไหลเข้าออกของลมหายใจ

(: นี้คือนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา).

สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น : นี้คือ อัสสาทะ (รสอร่อย)
แห่งเวทนา.

ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แห่งเวทนา :
นี้คือ อาทีนวะ (โทษ) จากเวทนา.

การนำออกเสียได้ซึ่งฉันทราคะ การละเสียได้ซึ่งฉันทราคะ ในเวทนา :
นี้คือ นิสสรณะ (อุบายเครื่องออก) จากเวทนา
.
.
.
สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๘/๔๓๘.



หมายเหตุ จขบ.
จะเห็นได้ว่าในมรรคมีองค์ 8 ท่านวาง สัมมาทิฏฐิ ไว้เป็นอันดับ 1
คำถามคือ .. ทำไม ?
คำตอบมีว่า .. เพราะ"สัมมาทิฏฐิ" คือความรู้ที่ถูกต้อง เหมือนเข็มทิศ ที่ต้องมีก่อนการเดินทางในเส้นทางแห่งการฝึกฝนจิตใจไปสู่ความหลุดพ้น ..

แถมเอา"สัมมาสมาธิ"ไว้หลังสุด ด้วยเหตุว่านั่นเป็นเพียงอุบายต่อสู้กับความฟุ้งซ่าน ซัดส่ายในจิตใจ (คนที่สังขารมีกำลังแรง หรือ เหตุผลในสามัญสำนึกมีกำลังน้อยหรือไม่ทำงานตามที่ควรเป็น)

พระพุทธองค์ก่อนบวชคือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ .. แม้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีปัญญาญาณสูงสุดในหมู่มนุษย์ยุคเดียวกัน ยังต้องใช้วิธีลองผิดลองถูก (ทุกรกิริยา โยคะ ฯลฯ) เสียเวลาตั้ง 6 ปี ถึงจะบรรลุการหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในสภาพธรรมต่างๆ รอบตนและถอนอาสวะออกจากจิตจนหมดสิ้นได้ .. เพราะไม่มีคนสอนในสิ่งที่ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก

พระโมคคัลลานะ อัครสาวกฝ่ายฤทธิ์เพื่อนรักพระสารีบุตรอัครสาวกฝ่ายปัญญา .. หลังจากฟังธรรมจากพระพุทธองค์ก็บรรลุความหลุดพ้นภายในเวลาเพียง 7 วัน ขณะที่พระสารีบุตรต้องใช้เวลา 15 วัน

จะ 7 หรือ 15 วันก็ตาม อย่างไรก็สั้นกว่า 6 ปี มากมายมหาศาล .. จริงไหม .. ก็เพราะมีคนสอนในสิ่งที่ถูกต้องนั่นเอง ..

สิ่งที่ถูกต้อง .. คือความจริง คือความรู้ .. นี่คือสิ่งที่พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรได้รับจากพระพุทธองค์

ขณะที่ ความเห็น .. คือความคาดเดา การคาดการณ์ การประเมินประมวลเชิงตรรกะ .. ย่อมไม่ใช่ความรู้ คือสิ่งที่เจ้าชายสิทธัตถะได้จาก สำนักอาฬารดาบส สำนักอุทกดาบส รวมทั้งกระบวนการทุกรกิริยาทั้งปวง

สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นในคืนวิสาขะบูชาเมื่อ 2601 ปีที่แล้วที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา .. เป็นการเกิดขึ้นในลำดับสุดท้ายของการเดินทาง

และเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นพระศาสดาผู้เมตตาบอกเส้นทางเดินที่ถูกต้องแก่ผู้อื่น .. ขณะที่มรรคอีก 7 ตัวนั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้ในการเดินทางในขั้นตอนลำดับต้นๆ .. เนื่องจากนั่นเป็นหนทางของศาสดา

หากสำหรับปวงสาวกแล้ว .. ท่านเอาสิ่งที่ท่านรู้เป็นสิ่งสุดท้าย มาวางไว้ให้รับรู้ก่อนเดินทางโดยไม่ต้องวกวนอ้อมค้อมอีกต่อไป

ในขณะที่จิตที่ขาดความรู้ที่ถูกต้อง .. สิ่งที่นอนเนื่องในจิตคือ "โลกนอกกาย" ที่ปรุงแต่งขึ้นมาให้มีปฏิสัมพันธ์กับจิตตนเองด้วยอุปาทานโง่เขลา .. คือไม่มีจริง ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปได้ เป็นขยะรกรุงรัง ทำความหนักแก่จิต เพื่อจะยึดมั่นถือมั่นเป็นกฎเกณฑ์ไว้กดทับจิตวิญญาณ เป็นเหมือนตังเหนียวดักนก .. ติดจนตายคากิ่งไม้

การนั่งหลับตา เพื่อทำสัมมาสมาธิ จึงต้องมาจาก สัมมาทิฏฐิ เป็นปฐมบทคือต้อง ..

ปราศจากความคิดว่า .. เป็นท่วงท่าของคนที่กำลังทำดีรอสายตาคนเห็น .. เพราะความคิดนี้ต้องมี "ตัวกู" ยืนแบกป้ายอวดโลกเสมอไป

ปราศจากความคิดว่า .. กำลังสร้างบุญ กุศล ที่จะก่อภาวะเพื่อตราลงติดจิตวิญญาณให้สงบ สบาย .. เพราะความคิดนี้ต้องมี "ของกู" ล่ามรัดเอาทั้งบุญ กุศล สวรรค์ รัดขาเหมือนนักโทษถูกล่ามโซ่มีตุ้มถ่วง ไปไหนต่อไหน ตามแต่จิตวิญญาณแห่ง "ตัวกู" จะแถไป

ปราศจากความคิดว่า .. ความนิ่งเฉยแห่งจิตชั่วคราวหนึ่งๆ เป็นการบรรลุธรรมขั้นโน้นขั้นนี้ อันคิดปรุงไปเอง .. และความคิดพวกนี้ต้องตั้งบน "ตัวกู" เสมอไป

ไม่จำเป็นต้อง"แสดง"ให้โลกรู้ .. เพราะมันเป็นปัญหาภายในจิตของแต่ละคน .. พูด แสดงออก ทำให้คนอื่นรู้ เมื่อไร ก็เมื่อนั้นแหละที่ "ตัวกู-ของกู" อาละวาด จนโลกธาตุสั่นไหว !

ตรงไหน ?

ตรงที่ .. กูผู้รู้ธรรมนี้ .. นั้น .. ดีแล้ว !
ตรงที่ .. กูเป็นผู้แนบเนื่องด้วยธรรม - กูเป็นคนดี นั่นเอง
ตรงที่ .. ธรรมขั้นโน้นขั้นนี้จิตกูเข้าถึงแล้ว !
ตรงที่ .. ลองทำอย่างกูว่าสิ !

จะเชื่อศาสดา หรือ เชื่ออุปัชฌาอาจารย์ตน .. ก็เลือกเอา





Create Date : 19 พฤษภาคม 2556
Last Update : 19 พฤษภาคม 2556 9:04:55 น. 0 comments
Counter : 1008 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.