Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 
26 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้

.




อนุรุทธะ ท.!
นิมิตนั้นแหละ เธอพึงแทงตลอดเถิด. แม้เราเมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็จำแสงสว่างและการเห็นรูปทั้งหลายได้.
ต่อมาไม่นาน แสงสว่างและการเห็นรูปของเรานั้นๆ ได้หายไป. เกิดความสงสัยแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป?

อนุรุทธะ ท.!
เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า : -


วิจิกิจฉา (ความลังเล) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้วก็เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก....ฯลฯ....

(มีคำระหว่างนี้เหมือนท่อนต้น ไม่มีผิด ทุกตอน ตั้งแต่คำว่า ต่อมาไม่นาน จนถึงคำว่า เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า :-)

อมนสิการ (ความไม่ทำไว้ในใจ คือไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีอมนสิการเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงุน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, และถีนมิทธะ จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แล บังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีฉัมภิตัตตะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดผู้มุ่งหมายเอาชีวิตขึ้นทั้งสองข้างทาง ความหวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, และฉัมภิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอุพพิละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ซึ่งขุมทรัพย์ขุมเดียว เขาพบพร้อมกันคราวเดียวตั้งห้าขุม ความตื่นเต้นเกิดขึ้นเพราะการพบนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นเราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ และอุพพิละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีทุฏฐุลละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, และทุฏฐุลละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอัจจารัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบด้วยมือทั้งสองหนักเกินไป นกนั้นย่อมตายในมือ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, และอัจจารัทธวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) และ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอติลีนวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบหลวมมือเกินไป นกหลุดขึ้นจากมือบินหนีเสียได้ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, และอติลีนวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอภิชัปปาเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ และอภิชัปปาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

นานัตตสัญญา (ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีนานัตตสัญญานั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่ วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฎฐุลละ,อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ, อภิชัปปา, และนานัตตสัญญา จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

รูปปานํ อตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,
สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอตินิชฌายิตัตตะเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ, อภิชัปปา, นานัตตสัญญา, และ รูปานํอตินิชฌายิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว จึงละแล้วซึ่งวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เสีย.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
เรานั้นเมื่อไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) เห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดเราไม่ทำ รูปนิมิต ไว้ในใจ แต่ทำ โอภาสนิมิต ไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป. สมัยใดเราไม่ทำโอภาสนิมิตไว้ในใจ แต่ทำรูปนิมิตไว้ในใจ, สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจำแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างมากไม่มีประมาณเห็นรูปก็มากไม่มีประมาณบ้าง เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดสมาธิของเราน้อยสมัยนั้นจักขุก็มีน้อย, ด้วยจักขุอันน้อย เราจึงจำแสงสว่างได้น้อย เห็นรูปก็น้อย. สมัยใดสมาธิของเรามากไม่มีประมาณ สมัยนั้นจักขุของเราก็มาก ไม่มีประมาณ, ด้วยจักขุอันมากไม่มีประมาณนั้น เราจึงจำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปได้มากไม่มีประมาณ, ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี) วิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว และละมันเสียได้แล้ว กาลนั้นย่อมเกิดความรู้สึกขึ้นแก่เราว่า "อุปกิเลสแห่งจิตของเราเหล่าใด อุปกิเลสนั้นๆ เราละได้แล้ว, เดี๋ยวนี้ เราเจริญแล้วซึ่ง สมาธิโดยวิธีสามอย่าง."

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
เราเจริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร, ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ, ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร, ซึ่งสมาธิอันมีปีติ, ซึ่งสมาธิอันหาปีติมิได้, ซึ่งสมาธิอันเป็นไปกับด้วยความยินดี, และสมาธิอันเป็นไปกับด้วยอุเบกขา.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.!
กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร (เป็นต้นเหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติอันเราเจริญแล้ว, กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า "วิมุติของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก" ดังนี้.*
.
.
.
บาลี อุปักกิเลสสูตร สุญญตวรรค อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๒/๔๕๒.
ตรัสแก่พระเถระ ๓ รูป คือ อนุรุทธะ นันทิยะ กิมพิละ, ทรงอาลปนะว่า
อนุรุทธทั้งหลาย ! พระบาลีตอนนี้ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญเป็นพิเศษ,
เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาสมาธิภาวนา.
--------------------------------------------------------------------
* สมาธิเจ็ดอย่างในที่นี้ คงเป็นของแปลกและยากที่จะเข้าใจสำหรับนักศึกษาทั่วๆ ไป เพราะแม้แต่ในอรรถกถาของพระบาลีนี้ ก็แก้ไว้ไม่ละเอียด ท่านแก้ไว้ดังนี้ :- (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารท่านไม่แก้ เพราะได้แก่ปฐมฌานนั้นเอง จะโดยจตุกกนัยหรือปัญจกนัยก็ตาม).

- สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ได้แก่ ทุติยฌาน สมาธิในปัญจกนัย.
- สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ได้แก่ฌานทั้งสามเบื้องปลายทั้งในจตุกกนัยและปัญจกนัย.
- สมาธิมีปีติ ได้แก่ทุกติกฌานสมาธิ.
- สมาธิไม่มีปีติ ได้แก่ทุกทุกฌานสมาธิ.
- สมาธิเป็นไปกับด้วยความยินดีได้แก่ ติกจตุกกฌานสมาธิ.
- สมาธิเป็นไปกับด้วยอุเบกขา ได้แก่จตุตถฌานแห่งจตุกกนัย หรือปัญจมฌานแห่งปัญจกนัย. --ปปัญจ. ภ. ๓. น. ๖๑๔.

ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียด พึงศึกษาจากตำราหรือผู้รู้สืบไป. สมาธิเหล่านี้ตามอรรถกถากล่าวว่าทรงเจริญในคืนวันตรัสรู้ที่มหาโพธิ.




Create Date : 26 พฤษภาคม 2555
Last Update : 26 พฤษภาคม 2555 6:20:29 น. 1 comments
Counter : 1315 Pageviews.

 
สวัสดีคราบบบบ


โดย: papisong วันที่: 26 พฤษภาคม 2555 เวลา:6:47:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.