Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 
25 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. สัจจะและหลักถึงปฏิบัติเกี่ยวกับการถึงสัจจะ

.





(ตามธรรมชาติมนุษย์แต่ละคนมีสิ่งที่เราเรียกว่า"ความจริง" ที่เขาถือเป็นหลักประจำตัวของเขาอยู่ด้วยกันทั้งนั้น แล้วแต่ว่าเขาได้ทำให้มันเกิดขึ้นในใจของเขาอย่างไร ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้.

แต่ว่าความจริงชนิดนี้ยังไม่ใช่ความจริงที่เด็ดขาด ยังไม่สูงสุด ยังใช้เป็นประโยชน์ในขั้นสูงสุดไม่ได้. ดังนั้นความจริงนั้น จะต้องถูกปรับปรุงให้ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไปจนกว่าจะกลายเป็นความจริงที่ใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้จริง โดยวิธีพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้อย่างน่าอัศจรรย์;

กล่าวคือ .. ไม่ยึดมั่นถือมั่นความจริงอันดับแรกนั้น แต่หล่อเลี้ยงมันไว้ในลักษณะที่มันจะพิสูจน์ความเป็นของจริงออกมาในตัวการปฏิบัตินั้นเอง. ในพระพุทธภาษิตที่ทรงแนะนำไว้อย่างยืดยาวนี้ จำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ..

1- ลักษณะของความจริง ที่ชาวโลกจะได้มาตามธรรมชาติ ซึ่งยังไม่เป็นความจริงแท้ ยังจะต้องเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย นี้ตอนหนึ่ง,

2- การหล่อเลี้ยงความจริงอันนั้นไว้ ให้มีโอกาสพิสูจน์ความจริงที่ยิ่งขึ้นไป นี้ตอนหนึ่ง,

3- การแสวงหาความจริง จากบุคคลที่กำลังปฏิบัติความจริงที่ตนประสงค์จะรู้ให้แน่ชัด นี้ตอนหนึ่ง,

4- เมื่อได้ความแน่ชัดมาแล้ว ตนเองที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันนั้น จนพบความจริงนั้นด้วยตนเองโดยประจักษ์ ไม่ต้องคาดคะเน ไม่ต้องคำนวณ ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่นอีกต่อไป นับว่าเป็นการเข้าถึงหัวใจแห่งควมจริงในกรณีนั้น เป็นตอนสุดท้าย.

ต่อไปนี้เป็นพระพุทธภาษิตที่ตรัสปรารภ ความจริงที่เป็นไปตามภาษาชาวโลก ตามธรรมชาติ :-)


(1. ความจริงตามแบบของชาวโลกตามธรรมชาติ)

ภารท์วาชะ !
เมื่อก่อนท่านได้ถึงความเชื่อ (อย่างใดอย่างหนึ่งลงไปแล้ว) มาบัดนี้ท่านกล่าวมันว่า (เป็นเพียง) สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา.

ภารท์วาชะ !
สิ่งทั้งห้านี้ อย่างที่เราเห็น ๆ กันอยู่ในบัดนี้ เป็นสิ่งที่มีผลเป็น ๒ ฝ่าย.
สิ่งทั้งห้านั้น คืออะไรเล่า ? คือ ..
1 ความเชื่อ (ว่าจริง),
2 ความชอบใจ (ว่าจริง),
3 เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมา (ว่าจริง),
4 ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม (ว่าจริง),
5 และข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นของเขา (ว่าจริง),
ดังนี้

นี่แหละคือสิ่งทั้งห้าที่เราเห็น ๆ กันอยู่ในบัดนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลเป็น ๒ ฝ่าย.

ภารท์วาชะ !
สิ่งที่เชื่อ กันแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จอยู่ก็มี;
แม้ สิ่งที่ไม่เชื่อกัน แล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท์วาชะ !
สิ่งที่ชอบใจ กันแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี;
แม้ สิ่งที่ไม่ชอบใจ กันแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท์วาชะ !
สิ่งที่ได้ฟังตามกันมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่าเป็นของไม่จริง เป็นของเท็จอยู่ก็มี;
แม้ สิ่งที่ไม่ได้ฟังตามกัน มาแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท์วาชะ !
สิ่งที่ได้ตริตรึก กันมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของเปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จอยู่ก็มี;
แม้ สิ่งที่ไม่ได้ตริตรึก กันมาแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท์วาชะ !
สิ่งที่ได้เพ่งพินิจ กันมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของเปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี;
แม้ สิ่งที่ไม่ได้เพ่งพินิจ กันมาแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท์วาชะ !
วิญญูชนผู้จะตามรักษาไว้ซึ่งความจริง อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียวว่า "อย่างนี้เท่านันจริง, อย่างอื่นเปล่า" ดังนี้

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
- การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง (สจฺจานุรกฺขณา) นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ?
- บุคคลจะตามรักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ?
ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึง วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง."

(ต่อไปนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ในลักษณะที่ไม่ให้ถือเอาด้วยความยึดมั่นความที่ตนเชื่อ ตามที่ตนชอบใจ ตามที่ตนได้ยินได้ฟังมาเป็นต้น :-)


(2. วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง)
ภารท์วาชะ !
ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า "ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้" ดังนี้,

เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า" ดังนี้ก่อน

ภารทวาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเรา
บัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้; แต่ว่า นั่น
ยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท์วาชะ !
ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า "ข้าพเจ้ามีความชอบใจอย่างนี้" ดังนี้,

เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า" ดังนี้ก่อน.

ภารท์วาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท์วาชะ !
ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า "ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาอย่างนี้"ดังนี้,

เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า" ดังนี้ก่อน.

ภารท์วาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท์วาชะ !
ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษมีอยู่ และเขา ก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า "ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อมอย่างนี้" ดังนี้,

เขาก็ อย่าเพ่อถึงการสันนิษฐานโดยส่วนเดียวว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า" ดังนี้ก่อน.

ภาร์ทวาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกะทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้; แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท์วาชะ !
ถ้าแม้ ข้อยุติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นของบุรุษ มีอยู่ และเขาก็ตาม รักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า "ข้าพเจ้ามีข้อยุติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นอย่างนี้" ดังนี้,

เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง. อย่างอื่นเปล่า" ดังนี้ก่อน.

ภารท์วาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
- การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ?
- บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ?
ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการตามรู้ความจริง".

(ต่อไปนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการทรงแนะให้สังเกตธรรมะที่มีอยู่ที่บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมะ เพื่อให้รู้จักธรรมะซึ่งเป็นตัวความจริงสำหรับจะนำมาใคร่ครวญต่อไป :-)


(3. การติดตามทำความกำหนดรู้ในความจริง)
ภารท์วาชะ !
ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่ในใจเกี่ยวกับธรรม 3 ประการ คือ ..

1. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
2. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
3. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ

ทั้งหลาย (โดยนัยเป็นต้นว่า) "ท่านผู้มีอายุผู้นี้ จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรมที่เมื่อครอบงำจิตของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นุบคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวรู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นในธรรมอันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นตลอดกาลนาน" ดังนี้;

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า "ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่านผู้มีอายุนี้, อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปในลักษณะแห่งสมาจารของบุคคลผู้ไม่โลภแล้ว. อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภจะแสดงให้ถูกต้องได้" ดังนี้.

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น เขาจะพิจารณาใคร่ครวญ ภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ….

(ก็ได้เห็นประจักษ์ในลักษณะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งโลภะตรงเป็นอันเดียวกันทุกตัวอักษรไปจนถึงคำ ว่า "เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ".)

ลำดับนั้น เขา ..
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไป ในภิกษุนั้น ครั้นมีสัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ, เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อมมีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจรณาหาความสมดุลย์แห่งธรรมครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยนามกาย ด้วย, ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.

ภารท์วาชะ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ก่อน.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. บุคคลเชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
- การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ?
- บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ?
ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง."

(ต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการประพฤติกระทำให้มากซึ่งธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการ ดังที่กล่าวแล้วใน ข้อ ค.จนกระทั่งบรรลุถึงซึ่งความจริง :-)


(4. การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง)
ภารท์วาชะ !
การเสพคบ การทำให้เจริญ การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารท์วาชะ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามบรรลุซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้..."

(ต่อไปนี้ กาปทิกมาณพนั้น ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ดังที่พระองค์ได้ตรัสตอบเป็นลำดับไป :-)


(5. ธรรมเป็นอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง)
ภารทวาชะ !
การตั้งตนไว้ในธรรม (ปธาน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง : ถ้าบุคคลไม่ตั้งตนไว้ในธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตามบรรลุถึงซึ่งความจริงได้. เพราะเหตุที่เขาตั้งตนไว้ในธรรม เขาจึงบรรลุถึงซึ่งความจริง, เพราะเหตุนั้น การตั้งตนไว้ในธรรม จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารท์วาชนะ !
การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม (ตุลนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม : ถ้าบุคคลไม่พบความสมดุลย์แห่งธรรมนั้นแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตั้งตนไว้ในธรรม. เพราะเหตุที่เขาพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม เขาจึงตั้งตนไว้ในธรรม; เพราะเหตุนั้น การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม.

ภารท์วาชะ !
อุสสาหะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม : ถ้าบุคคลไม่พึงมีอุสสาหะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม. เพราะเหตุที่เขามีอุสสาหะ เขาจึงพบความสมดุลย์แห่งธรรม; เพราะเหตุนั้น อุสสาหะจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม.

ภารท์วาชะ !
ฉันทะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ : ถ้าบุคคลไม่ถึงยังฉันทะให้เกิดแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงมีอุสสาหะ. เพราะเหตุที่ฉันทะเกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ; เพราะเหุตนั้น ฉันทะจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ.

ภารทวาชะ !
ความที่ธรรมทั้งหลายทนได้ต่อการเพ่งพินิจ (ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ : ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ถึงทนต่อการเพ่งพินิจแล้วไซร้ ฉันทะก็ไม่พึงเกิด. เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด; เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.

ภารท์วาชะ !
ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ (อตฺถุปปริกฺขา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ: ถ้าบุคคลไม่เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะแล้วไซร้ ธรรมทั้งหลายก็ไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจ. เพราะเหตุที่บุคคลเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนต่อการเพ่งพินิจ; เพราะเหตุนั้น การเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพิ่งพินิจ.

ภารท์วาชะ !
การทรงไว้ซึ่งธรรม (ธมฺมธารณา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ. ถ้าบุคคลไม่ทรงไว้ซึ่งธรรมแล้วไซร้เขาก็ไม่อาจเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้ เพราะเหตุที่เขาทรงธรรมไว้ได้ เขาจึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้. เพราะเหตุนั้น การทรงไว้ซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ.

ภารท์วาชะ !
การฟังซึ่งธรรม (ธมฺมสฺสวน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม. ถ้าบุคคลไม่พึงฟังซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงทรงธรรมไว้ได้ เพราะเหตุที่เขาฟังซึ่งธรม เขาจึงทรงธรรมไว้ได้. เพราะเหตุนั้นการฟังซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม.

ภารท์วาชะ !
การเงี่ยลงซึ่งโสตะ (โสตาวธาน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม. ถ้าบุคคลไม่เงี่ยลงซึ่งโสตะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงฟังซึ่งธรรมได้ เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลงซึ่งโสตะ เขาจึงฟังซึ่งธรรมได้. เพราะเหตุนั้นการเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม.

ภารท์วาชะ !
การเข้าไปนั่งใกล้ (ปยิรุปาสนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ. ถ้าบุคคลไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเงี่ยลงซึ่งโสตะ เพราะเหตุที่เขาเข้าไปนั่งใกล้ เขาจึงเงี่ยลงซึ่งโสตะได้. เพราะเหตุนั้น การเข้าไปนั่งใกล้ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ.

ภารท์วาชะ !
การเข้าไปหา (อุปสงฺกมน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้. ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหาแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้ได้เพราะเหตุที่เขาเข้าไปหา เขาจึงเข้าไปนั่งใกล้ได้. เพราะเหตุนั้น การเข้าไปหาจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้

ภารท์วาชะ !
สัทธา เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา. ถ้าสัทธาไม่พึงเกิดแล้วไซร้ เขาก็จะไม่เข้าไปหา เพราะเหตุที่สัทธาเกิดขึ้น เขาจึงเข้าไปหา. เพราะเหตุนั้น สัทธาจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การไปหา.
.
.
.
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๘/๖๕๕-๖๕๙.


(ขอผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า สิ่งที่เรียกว่าความจริงในสูตรนี้ หมายถึงความจริงทั่วไปไม่มุ่งหมายเฉพาะจตุราริยสัจ แต่อาจจะใช้กับความจริงอันมีชื่อว่าจตุราริยสัจได้ โดยประการทั้งปวง จึงได้นำมากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้.)


Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2556 8:29:43 น. 0 comments
Counter : 2144 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.