ช่วงนี้คงไม่มีอะไรเทรนดี้ไปกว่า “โควิด-19”

เดี๋ยวก่อนครับ....ไม่ได้จะบอกว่าผมอินเทรน ติดโควิด-19นะครับ
แต่จะมาเล่าว่า ความรู้สึกตอนที่จำเป็นต้องไปที่ความเสี่ยงสูงมันเป็นยังไง สถานที่นั่นคือ “โรงพยาบาล” นี่มันแหล่งประชุมโรคของแท้ครับ ปกติก่อนหน้าโควิดเวลาไป รพ ผมจะใส่แมสทุกครั้ง เพราะกลัวติดหวัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส อะไรบ้าบอมาจาก รพ ยิ่งตอนนี้พี่โควิดระเริงเมือง บอกเลยว่า ผมไม่ไปเลยครับ ยาเยออะไรแม่บอกว่ารับให้เอง แต่.... ย้อนไปเมื่อ 1 เมษา ที่ผ่านมา ดันมีเหตุสุดวิสัย ไอ่ที่ทนมาซักพักงานนี้คงต้องไปโรงบาลจริงๆ !!! รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง! ไปถึงโรงบาล คือ ไม่ว่าคุณจะเป็นอะไรมา ถ้ายังมีสติ พูดคุย ตอบโต้ได้ ต้องผ่านขั้นตอนนี้
 ผมถูกดรอปลงตรงฉุกเฉิน ซึ่งปกติจะสามารถเข้าอีกทางได้เลย แต่คราวนี้ ทางเข้าออกมีทางเดียว และต้องผ่านจุดคัดกรองก่อน พยาบาลวัดไข้และซักประวัติความเสี่ยงโควิด ว่าไปพื้นที่เสี่ยงมาไหม เจอคนเสี่ยงมาไหม ขึ้นรถตู้ เครื่องบิน หรืออะไรมาไหม อันนั้นหน้า รพ นะครับ พอเค้าไปข้างใน เจ้าหน้าที่ที่ฉุกเฉินก็มาซักอีกรอบ อันนี้เคสที่ผมนั่งรถเข็นนะครับ ปกติพอตอบสั้นๆ ไหว ส่วนอีกด้าน แฟนผมที่ขับรถมาส่ง ก็ต้องกลับมาที่จุดคัดกรองเหมือนกัน ระหว่างรอก็ถ่ายรูป รพ มาให้ครับ ว่า รพ ตั้งguard สูงมาก มีแผ่นพลาสติกกั้นทุกจุดป้องกันการใกล้ชิด แต่ปากกาที่เซ็นต์ก็ยังอันเดิม เหอะๆ

ตอนผมจับปากกาเซ็นต์เอกสารคือคิดขึ้นมาได้เลยครับว่า....
เดี๋ยวนะ....ใช้มากี่คนแล้ววะเนี่ย?! ก่อนที่ตาจะเหลือบไปเห็นว่า....เฮ้ย! ผ้าปู กับผ้าห่มในห้องฉุกเฉิน เค้าพับใช้ซ้ำนี่หว่า!!! ก็เข้าใจนะว่า บางทีคนไข้มาแค่ปวดท้องฉีดยากลับบ้าน ทำแผลแล้วกลับบ้าน แล้วเค้าก็คัดกรองหวัดไปแล้ว และคงเปลี่ยนผ้าทุกครั้งที่ใช้แค่แป้บๆไม่ไหวหรอก ภาพจากแฟนผมบอกว่า รพ ตอนนี้ดูเหงาๆ คนน้อยมากๆ ทุกคนคงคิดเหมือนกันว่า “ที่นี่แหละ ไม่ควรมา!”

ทุกที่ที่เจ้าหน้าที่จะ contact กับคนไข้จะมีแผ่นพลาสติกกั้นไว้ แล้วเจาะช่อง เก้าอี้จะถูกติดป้ายไว้ให้นั่ง 1ที่เว้น 2 ที่ ประมาณนั้นครับ ลานจอดรถด้านนอกอาคารจัดไว้เป็นที่ตรงผู้ป่วยที่เป็นไข้เป็นหวัด จัดเก้าอี้ไว้ในเต้นท์นั่งห่างกัน 2 เมตร ซ้าย ขวา หน้า หลัง รับยาก็ไอ่ตรงลานจอดรถนั่นแหละ อากาศอย่าง flow ส่วนผู้ป่วยที่ต้องรับยาต่อเนื่อง ก็ไปรับที่ลานจอดรถชั้นใต้ดิน รับปั้บก็กลับบ้านได้เลย ทั้งหมดด้านบนนั้นคือสิ่งที่ รพ รับมือกับ โควิด ส่วนนี่....คือสิ่งที่แฟนผมต้องรับมือ..... มีป้ายหน้า รพ ระบุว่า “ห้ามเยี่ยมผู้ป่วย” และ คนเฝ้าทีได้แค่ “ 1 คนเท่านั้น” อันนี้ยังไม่ใช่ปัญหาครับ แต่ปัญหาคือ พยาบาลแจ้งว่า “คนเฝ้าต้องระบุชื่อแล้วห้ามออกไปข้างนอกอีก” คือเอาจริงๆ ตอนออกจากห้องมา ผมว่าไฟ กับแอร์ยังไม่ได้ปิดเลยมั้งครับ นับประสาอะไรกับเตรียมของใช้มานอนโรงบาล งานนี้พอรู้ว่าต้องนอนโรงบาลแฟนผมก็ต้องหลับไปเอาของใช้ที่ยังไม่รู้ว่าต้องจัดกี่วัน โชดดีที่กว่าไอ่ผมจะดีขึ้นพอไปพักที่ห้องได้ก็ ตี 4 ตี5 แฟนเลยกลับไปจัดของได้สบาย เพราะปกติเค้าจะทนๆไปก่อนคืนนึง พอเช้าแม่ผมมาทำงานก็ทีดูแทน เค้าก็กลับไปจัดของ แต่ตอนนี้แม่ผมไม่ได้เข้ามาที่ รพ ทุกวันครับ ยกเว้นวันมีประชุม เพราะต้องดูแลพี่สาวที่เพิ่งคลอด และโชดดีกำลัง 2 คือตอนนั้นยังไม่ประกาศเคอร์ฟิวส์ หัวหน้า ward จำผมได้ เลยมาคุยด้วยตอนเช้า บอกแฟนว่า อย่าเดินออกไปข้างนอกบ่อยๆ นะ ชั้นบน....มีผู้ป่วยเข้าข่ายโควิด ดูอาการอยู่ 2 คน พระ!!!! หรือโควิดแม่งจะใกล้คือเพดานกั้น!!!! แฟนผม Work from home อยู่แล้ว เลยนั่งทำงานตลอด 5 วันครับ ก็คงไม่เบื่อเท่าไหร่ แต่เห็นแอบหนีไปเซเว่นข้างนอกซื้อขนมมากินได้เหมือนกัน ระหว่างนั้นก็มีประกาศเรื่องเคอร์ฟิวส์
 วันกลับบ้าน หมอบอกว่า ไม่นัดตรวจ 1 สัปดาห์นะ เอายาไปยาวๆ
กลับมาได้น่าจะ1-2 วัน ก็กลับไปเยี่ยมโรงบาลอีกรอบ สุดท้ายก็ต้องนอนโรงบาลอีกรอบ ซึ่งผมปฎิเสธว่าไม่นอนมาตั้งแต่ทุ่มกว่าๆ จนถึง 3 ทุ่มกว่า ก่อนจะรู้ตัวว่า โอเค....กุไม่ไหว...กุยอม....
 คนที่พามา รพ คือ แฟนพี่สาวกับแม่ กฎเดิมยังอยู่ คนเฝ้าเข้าแล้วห้ามออก แม่กับแฟนพี่ต้องกลับบ้านไปเอาของมานอนเฝ้า แต่ด้วยบ้านกับ รพ ใกล้กัน ขากลับไปก็ชิลๆ ครับ ก่อน 4 ทุ่ม แต่รอบที่ออกจากบ้านมา รพ นี่สิ....แม่ติดด่านเคอร์ฟิวส์! แม่บอกว่า มัวแต่รีบเลยลืมเอาขอเอกสารว่าผมต้องนอนโรงบาลมาจากพยาบาลเลย ซึ่งต้องลุ้นว่าตำรวจจะว่ายังไง เพราะตอนนั้น 5 ทุ่มกว่าแล้ว

แต่.....พี่ตำรวจเหนื่อยก่อน และเลิกด่านไปก่อนจะถึงรถแม่แค่ 2 คัน แม่ก็ไหลตามคันอื่นไปแบบเนียนๆ แล้วมานั่งเล่าให้ผมฟังอย่างตื่นเต้น 555555 แต่อย่าแหกเคอร์ฟิวส์กันเลยครับ ถ้าไม่มีเหตุจำเป็น เช่น เหงา เห็นถนนโล่งอย่างจะขับรถเล่น ทะเลาะกับปฟนแล้วหนีออกจากบ้าน ไรงี้ ทำงั้นอาจจะได้นอนยิ้มในคุกได้นะครับ รู้ว่าเสี่ยง....แต่ไม่ต้องไปลองก็ได้

Create Date : 14 เมษายน 2563 |
Last Update : 14 เมษายน 2563 13:41:04 น. |
|
29 comments
|
Counter : 1102 Pageviews. |
 |
|