Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
"อย่างไร" ในระบบการรักษาพยาบาลของอเมริกา

Health Care in America

Photobucket

วันนี้ขอเล่าเกี่ยวกับเรื่องระบบการรักษาพยาบาล Health-Care Systems ในอเมริกานะคะ เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลาย ๆท่านที่อยู่ที่นี่ก็คงมีประสบการณ์หรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มากก็น้อยแล้ว แต่คิดว่ายังมีหลาย ๆ ท่านที่ไม่ทราบและอาจสงสัยในระบบ Health Care ของอเมริกา ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ว่าเป็นอย่างไร ดีหรือไม่




ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนนะคะว่าไม่ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายแต่อย่างไร แต่อยากมาเล่าประสบการณ์ที่ได้รู้ได้่เห็นสู่เพื่อน ๆ ซึ่งอาจสนใจในเรื่องนี้น่ะค่ะ เพื่อนท่านใดที่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้โปรดช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไขด้วยนะคะ

Photobucket Photobucket Photobucket


ในส่วนตัวมีความรู้สึกว่าระบบการรักษาพยาบาลของที่นี่เป็นระบบที่เข้าใจยากเหมือนกันนะคะ คิดว่าแม้แต่เจ้าของประเทศที่แท้จริงยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่เลยค่ะ ดูง่าย ๆ จากที่เราพยายามถามข้อสงสัยกับสามี ส่วนใหญ่ก็ได้รับรับคำตอบ “I don’t know ….. หรือไม่ก็ ..... It’s good enough…” หรือหากเราวิจารณ์อย่างโง้นอย่างงี้ เธอก็จะพูดว่า “How do you know for sure….” คือ เขาคงภูมิใจในระบบของประเทศเขาน่ะค่ะ เธอมักจะพูดว่า “เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรมากมายนี่ พยายามทำตนให้มีสุขภาพดีอยู่ตลอดเวลาแล้วกัน” “ไวตามงไวตามิน ก็หมั่นทานให้สม่ำเสมอ สุขภาพจะ
ได้แข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วย”



Photobucket


ระบบการรักษาพยาบาลของที่นี่ ประชาชนให้ความสำคัญมากค่ะ นักการเมืองระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติหากต้องการได้รับเลือกตั้งจะต้องชูประเด็นเรื่องนี้เป็นสำคัญ นั่นแสดงว่าระบบการรักษาพยาบาลที่นี่ยังไม่เป็นที่พอใจของประชาชาติและยังต้องการการปรับปรุง “ใช่หรือไม่?”



คำตอบจากพลเมืองส่วนใหญ่ คือ “ใช่!” (นะคะ) เรื่องของเรื่องก็คือ ค่ารักษาพยาบาลที่นี่ถือว่า “แพงมาก” ค่ะ พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ (ไม่ขอบอกเป็นจำนวนตัวเลขหรือเปอร์เซ็นต์นะคะ) ให้บริษัทประกันสุขภาพ (Health Insurance) เป็นผู้จัดการค่ารักษาพยาบาล โดยการให้นายจ้าง สถานประกอบการ บริษัท ห้าง ร้าน ฯ (Employer) ที่ตนทำงานอยู่หักเงินเดือนแต่ละเดือนส่วนหนึ่งเพื่อเป็นเบี้ยประกันแก่บริษัทประกัน ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนไม่ใช่น้อยเลย แม้นายจ้าง (Employer) จะช่วยสมทบจ่ายในส่วนนี้ด้วยก็ตาม


อย่างไรก็ตามบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล (ที่ถูกเรียกเก็บจากสถานพยาบาลที่เราไปรับการรักษา) มากน้อยขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันที่เราเอาประกันด้วย หากเราและนายจ้าง จ่ายมาก เวลาเราเจ็บป่วย บริษัทประกันก็สามารถจ่ายค่ารักษาให้กับเรา “เกือบ” หรือ “ทั้งหมด” โดยที่เราไม่ต้องมานั่งควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มอีก (แต่ส่วนใหญ่บริษัทประกันไม่ยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่เราทั้งหมดหรอกค่ะ เรายังต้องมานั่งจ่ายในส่วนที่เหลือ "นิดหน่อย" ให้กับสถานพยาบาลอีกที ซึ่งเรียกว่า Co-Pay น่ะค่ะ ทั้ง ๆ ที่เราจ่ายเบื้ยประกันทุกเดือนนี่แหล่ะ) ในกรณีผู้มีรายได้น้อย สวัสดิการของที่ทำงานไม่ดีล่ะ แน่นอนว่าหากมีกรณีเจ็บป่วยขั้นรุนแรง ต้องมีการผ่าตัด นอนโรงพยาบาลประมาณนั้น ค่ารักษาพยาบาลจะแพงมาก บางทีบริษัทประกันจะไม่ยอมจ่ายให้ทั้งหมดค่ะ คนไข้ต้องหาเงินจ่ายส่วนเกินนี้เอง เรียกว่าระบบการรักษาดูของที่นี่ดูจะไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่มีรายได้น้อยเลยนะคะ


Photobucket


บทความ What’s wrong with America's Health Care ของ aflcio.org จาก Internet ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่นี่ค่ะ อ้างว่ามีพลเมืืองชาวอเมริกาจำนวนประมาณ 47 ล้านคนที่ไม่มีการประกันชีวิต โดย 8.7 ล้านคนในกลุ่มนี้เป็นเด็ก ถือเป็นตัวเลขที่ไม่น่ายินดีเลยค่ะ เพราะนั่นหมายความว่าคนกลุ่มนี้จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมดเวลาเจ็บป่วย ซึ่งเป็นที่รู้ว่าค่าใช้จ่ายจะต้องสูงมาก เวลาไปหาหมอทีก็ต้องใช้เงินสดหรือเครดิตมีหนี้สินขึ้นมาอีก


คนอเมริกันในส่วนที่ไม่มีประกันชีวิตนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีรายได้น้อย สวัสดิการของที่ทำงานไม่ดี คือไม่มีค่ารักษาพยาบาลหรือประกันชีวิตแก่ลูกจ้าง มีคุณตาท่านหนึ่งที่ดิฉันรู้จักที่โบสถ์น่ะค่ะ แกเล่าให้ฟังว่าแกต้องทำงานจนถึงอายุ 72 ปีถึงไ้ด้เกษียณ ด้วยภรรยาของแกมีโรคเบาหวาน ในการรักษาโรคนี้ที่นี่ต้องใช้เงินจำนวนมากเหมือนกัน ปัจจุบันนี้แกก็ยังต้องรับงานเล็ก ๆ น้อย ๆ จากที่ทำงานเก่ามาทำที่บ้าน เพื่อเสริมรายได้ และช่วยค่ารักษาพยาบาลทั้งของตนเองและภรรยา ฟังแล้วก็เศร้าค่ะ



เพื่อน ๆ อาจสงสัยว่าแล้วรัฐบาลประเทศใหญ่ขนาดนั้นไม่มีนโยบายอะไรมาช่วยผู้มีรายได้น้อยเหล่านี้เหรอ ประเทศไทยเล็ก ๆ เองยังทำโครงการ “30 บาท” รักษาพลเมืองได้ทั้งประเทศ คำตอบคือ “มี” ค่ะ แต่ระบบยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร


Photobucket


ตามที่ได้อ่านใน Wikipedia, an online encyclopedia คลิ้กดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ สหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ทุ่มงบประมาณเงินภาษีลงในส่วนการรักษาพยาบาลของประชาชาติมากที่สุดในโลก รองจากงบประมาณการประกันสังคม (Social Security) และการคุ้มครองและป้องกันประเทศ (Defense)


อเมริกามีงบประมาณที่เรียกว่า Medicaid สำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย และผูู้ทุพลภาพ (ผู้พิการ) อย่างเพื่อนบ้านที่รู้จัก แกก็ไม่ได้จนอะไรนะคะ แต่แกเป็นแม่บ้าน แล้วมีโรคประจำตัว ประเภทเบาหวาน เนื้องอก แทรกซ้อนหลาย ๆ อย่าง แกก็เดินเรื่อง (paper work) เพื่อขอเป็นบุคคลทุพพลภาพ เพื่อจะได้มีเงินเลี้ยงดูรายเดือนและค่ารักษาพยาบาลจากรัฐ แกก็ได้นะคะ จะเห็นว่าในอเมริกา รัฐบาลต้องมานั่งอุ้มประชากรลักษณะนี้เป็นจำนวนมากและก็มีโแนวโน้มจะมากขึ้นทุกปีอีกด้วย เรียกว่าต้องใช้งบประมาณหลายร้อยล้านเหรียญต่อปี อย่างไรก็ตามใช่ว่าคนจนทุกคนจะได้รับความช่วยเหลือในส่วนนี้ อเมริกายังมีพลเมืองกลุ่มที่เรียกว่า Homeless พวกไร้ที่อยู่อาศัยอยู่เลยค่ะ (เศร้า - แบบไม่น่าเชื่อว่าจะมีในประเทศที่รวยและพัฒนาแล้ว) อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Medicaid ได้ที่นี่ค่ะ


Photobucket Photobucket


งบประมาณหนักเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอีกอย่างที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบทั้งหมดก็คือ การรักษาพยาบาลทหารผ่านศึก Veterans Health
Administration (VHA) เพื่อน ๆ ก็คงจะทราบนะคะ ว่าอเมริกามีทหารไปรบมาแล้วมากมายแค่ไหน ทั้ง Korean War, Persian Gulf War, Vietnam War (ทราบว่ายังมีทหารผ่านศึกส่วนหนึ่งจาก World War II ยังมีชีวิตอยู่เลยค่ะ) ตอนนี้ก็มาถึง Afghanistan และ Iraq เศร้าเหมือนกันค่ะเวลาพูดถึงเรื่องนี้ เฮ้อ....



นอกจากนี้ รัฐบาลอเมริกายังต้องทุ่มงบอย่างมหาศาลในแต่ละปีเพื่อสนุนสถาบันวิจัยต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีรวมทั้งวิธีการรักษาโรคร้ายต่าง ๆ บางคนวิจารณ์วงการแพทย์ที่นี่ว่าใช้งบประมาณจำนวนมาก ๆ เพื่อศึกษาหาวิธีที่จะช่วยให้การรักษามีความปลอดภัยสำหรับตนเองมากกว่าที่จะเป็นวิธีการศึกษาเพื่อช่วยชีวิตและสุขภาพของคนไข้ อันนี้พูดแล้วก็งงเอง ไม่ขอลงรายละเอียด เพราะไม่มีความรู้ชัดแจ้งเลยค่ะ ที่รู้แน่ ๆ เลยคือหากแพทย์ที่นี่รักษาผิดพลาด ทางสถานพยาบาลก็จะโดนคนไข้ sue หรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนักเหมือนกัน อันนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ให้ค่ารักษาพยาบาลแพงในอเมริกา เพราะทางสถานพยาบาลต้องบวกค่าประกันความปลอดภัยในการอาชีพแก่ผู้ทำการรักษาพยาบาลด้วย


Photobucket Photobucket


ระบบการจ้างงานในส่วนการรักษาพยาบาล คือ อาชีพหมอ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร และหมอในสาขาอื่น ๆ ถือว่าเป็นระบบอาชีพการทำงานที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา (จาก Grolier – Encyclopedia of Knowledge 1991) แต่ระบบจะูเอนไปในเชิงธุรกิจมากว่า พวกหมอส่วนใหญ่จะถูกผลิตมาจากภาคเอกชน บริษัทผลิตยา อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นของภาคเอกชน (เรียกว่าเกือบทั้งหมด) บริษัทประกันสุขภาพ (Health Insurance) ส่วนใหญ่ก็ดำเนินโดยองค์กรเอกชน ปัจจัยเหล่านี้เสริมกันเข้าก็ทำให้ค่ารักษาพยาบาลสูง เป็นเรื่องธุรกิจและแสวงผลกำไรไปแล้วค่ะ แม้ว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ (มากกว่า 80%) ในอเมริกาจะอยู่ภายใต้การดูแลและสนับสนุนงบประมาณโดยรัฐบาลก็เถอะ



ตามที่ได้อ่านใน Wikipedia, an online encyclopedia กล่าวว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศเดียวที่ ไม่มี ระบบ Universal Health Care หรือระบบที่รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการรักษาพยาบาลแก่ประชาชาติโดยรวมทั้งหมด (พลเมืองทุกคน รวมทั้งกลุ่มพลเมืองที่ไ้ด้ Green Card – Permanent Residents) เหมือนในประเทศพัฒนาส่วนใหญ่ โดยเฉพาะประเทศในยุโรป ตอนนี้อเมริกากำลังอยู่ในช่วงการรณรงค์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ใน
เืดือนพฤศจิกายนศกนี้ ประเด็นเกี่ยวกับระบบ Universal Health Care ก็ถูกยกขึ้นมาเป็นข้อโต้เถียง (Debate) ระหว่างพรรคเหมือนกันค่ะ (ที่จริงก็เคยเห็นมีสารคดีทางโทรทัศน์พูดถึงเรื่องนี้เนือง ๆ เหมือนกัน) เพื่อน ๆ ที่อยูู่ในประเทศที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลนี้โปรดช่วยแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยนะคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Universal Health Care ได้ที่นี่ค่ะ

Photobucket Photobucket

พูดมายืดยาว ไม่ทราบพอจะเห็นภาพบ้างมั้ยคะ ทีแรกตั้งใจจะมาพูดเรื่องการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ (Prescription Drugs) และพูดถึงประสบการณ์ตลกปนเศร้าที่ตนประสบในการรักษาพยาบาลที่นี่ แต่ดันไปพูดถึงระบบกว้าง ๆ เสียนี่ เขียนเรื่องนี้ยากเหมือนกันค่ะ เพราะตนไม่มีพื้นฐานความรู้เลย อย่างที่บอกข้างต้น หากเพื่อสนศึกษาอย่างละเอียดถึงระบบการักษาพยาบาลของอเมริกา คลิ้กดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ


ความจริงเรื่องการรักษาพยาบาลที่นี่ก็ดีมากค่ะ เครื่่องมือทันสมัย อันนี้ไม่ต้องพูดถึง แต่ระบบบางอย่างทำให้เราอึดอัด และคิดถึงยาแก้ปวดแก้ไข้ตามร้านหมอตี๋บ้านเรา เดี๋ยวคราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังค่ะ

ขอบคุณที่มาช่วยอ่านนะคะ

Photobucket






Create Date : 09 มิถุนายน 2551
Last Update : 9 มิถุนายน 2551 19:15:54 น. 26 comments
Counter : 6276 Pageviews.

 
ได้ความรู้เยอะเลยค่ะประเทศไทยมี30บาทก็ดีนะคะ แต่ไม่ทราบว่ายาจะมีคุณภาพเท่ากับยาของพวกประกันชีวิตหรือเปล่าก็ไม่รู้
ดีที่มี ประกันสุขภาพผู้สูงอายุเวลาคุณตาคุณยายไปหาหมอไม่เสียเงินเลยค่ะแต่รอคิวนานมากมาก เพราะคนเจ็บป่วยเยอะ อยู่ต่างจังหวัดค่ะ บางทีกระแตยังแอบอารมณ์ไมดีเกี่ยวกับการบริการเลยค่ะ
เคยได้ยินมาไม่รู้ว่าจริงมากน้อยเพียงไหน ว่ายาที่ใช้กับพวกประกันชีวิตคุณภาพจะดีกว่าคนที่ใช้ประกันสังคม และยาของคนที่ใช้ประกันสังคมก็จะมีคุณภาพดีกว่าคนที่ใช้30บาท
แต่ที่ฟินแลนด์ไม่ทราบว่าเป็นยังไง ยังไม่เคยเจ็บป่วย แต่เค้ามีการ์ดให้นะคะ เป็นแบบประกันสังคมของที่นี่
แต่กระแตก็ยังไม่เคยลองเจ็บดูสักที


วันนั้นที่บอกหัวเราะ กระแตไม่ได้ขำพี่ทริสตี้นะ กระแตขำคอมติงต๊องนะค ยังกังวลอยู่นิดนิด กลัวพี่เข้าใจผิด
ขอโทษที่ขำนะคะะ


โดย: กระแต (pp_parich ) วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:3:45:25 น.  

 
ขอบคุณน้องกระแตที่มาช่วยเพิ่มเติมความรู้ค่ะ พี่ก็พอจะทราบซึ้งกับโครงการสามสิบบาทเหมือนกัน น้องสาวเล่าให้ฟัง เพราะพ่อใช้บริการนี้ด้วย แล้วก็เป็นอย่างที่น้องกระแตพูดจริง ๆ น่ะค่ะ


โดย: Tristy วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:4:02:31 น.  

 
โห...ไม่น่าเชื่อเลยนะว่าที่อเมริกาจะมีปัญหาด้านนี้อะ
ถึงว่าเวลาดู ซีรี่ส์ ER คนไข้ที่ไม่มีประกันสุขภาพมักจะอยากกลับบ้าน ไม่อยากรักษาต่อ...

เรื่อง 30 บาท บ้านเรานั้น จากประสบการณ์ตรงที่เคยทำงานในวงการนี้มา (ร.พ.ที่ทำงาน)
ยาจะเหมือนกับระบบประกันสุขภาพนะ แต่อาจจะมีบางตัวเบิกไม่ได้ หมอจะทำเรื่องเขียนขอพิเศษให้อีกที
แต่เคยเบื่อคนที่มีฐานะ สามารถจ่ายค่ารักษาได้ แต่หัวหมอไปขอ 30 บาท อะ มีเยอะเลย....

ปล-ทำเค๊ก เก่งจังเลยค่ะ แต่งหน้าสวยมากๆด้วย


โดย: UStogetheR วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:4:59:17 น.  

 
เห็นด้วยนะคะว่าการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ใครจะไปห้ามได้ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาจริงๆ ก็ต้องรักษากันไปนะคะ..

ที่แคนาดาเค้าพิจารณาตามรายได้ค่ะ แล้วรัฐบาลก็จะ Subsidized ให้ตามรายได้ ถ้ารายได้ต่ำกว่า 18,000 (มั้งคะ) รัฐก็จ่ายให้หมดเลย ไม่ต้องมาเสียค่าประกันรายเดือน

สำหรับนิ้ง อยู่ที่นี่มาก็เคยไปหาหมอแค่ครั้งเดียวค่ะ..มี Haelth Care Card ไม่ต้องจ่ายค่าหมอ แต่ค่ายาก็แพงโหดจริงๆ เลยต้องรีบๆ หายซะ..555



โดย: กะตุ้งนิ้ง วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:5:01:40 น.  

 
คุณ UstogetheR พูดอีกก็ถูกอีกนะคะ สามสิบบาทนี่ รัฐก็ต้องแบกภาระมากจริง ๆ เหมือนกัน


โดย: Tristy วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:6:36:44 น.  

 
ขอบคุณ คุณนิ้งค่ะสำหรับความรู้เกี่ยวกับการรักษาในอเมริกา เอ๊ย แคนาดาค่ะ ชักเพี้ยน ฮิฮิ


โดย: Tristy วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:8:17:50 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้ดีจังค่ะ

เห็นด้วยเลยว่าคนอเมริกันเอง บางที
ก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้เกี่ยวกับระบบ
รักษาพยาบาลของเค้านะค๊ะ


โดย: วิสกี้โซดา วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:8:18:30 น.  

 
ขอบคุณสำหรับบทความ-และความรู้ดี ๆ ใกล้ตัว
นะคะพี่ฉวี ปุ้มอ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นเยอะเลยคะ
คนที่อยู่ที่อเมริกา ถ้าเป็นโรคภัยไข้เจ็บ แล้วไม่มี
medicare อย่างนี้ซี้แหง๋แก๋ค้ะ ความหมายของปุ้ม คือ ต้องแย่แน่ ๆ จริงเชียว เพราะ
ว่าค่ายา ค่ารักษาพยาบาลนี้แพงเหลือหลาย
ทำงานกี่เดือนจะเอาไปจ่ายค่าหยูกค่ายาได้...
หูย พูดแล้วขนลุก เพราะอะไรพี่คงรู้
แต่เห็นด้วยนะคะว่าเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ
การแพทย์เค้าทันสมัยน่าดูอันนี้ดีคะอุ่นใจขึ้นมานิดนึง..
ส่วนเรื่องอึดอัดตอนต่อไปจะมารออ่านน้ะคะ
ปุ้มชอบอ่านพี่ฉวีเขียน ได้ความรู้เยอะเลย
ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้น้ะคะ
----
พี่ฉวีวันนี้ปุ้มอัพอาหารอีกแล้วน้ะ อิอิ
เรื่องอะไรไปชมได้เลย
วันนี้เข้ามาอีกรอบหลังจากอัพเรื่องอาหาร
ก็ไปทำขนมปัง ... แล้วก็คุยกับพ่อแม่ เรื่อง Medicare ของที่นี่แหล่ะคะ เข้ามาหาพี่ช้าเลย
แล้วกำลังจะไปนอนแล้ว ผันดีน้ะคะ


โดย: pumorg วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:8:57:50 น.  

 
โอ้วว พี่ฉวี เราวิ่งสวนทางกัน
เพราะปุ้มใช้เวลาอยู่บ้านพี่นานเลย...
อิอิ ..เนื้อเรื่องยาวและมีประโยชน์
ต้องอ่านให้ละเอียด เก็บความรู้ให้หมด
ฝันดีค้ะพี่


โดย: pumorg วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:9:01:46 น.  

 
ไปหาหมดฟันก่อนกลับเมืองไทย ถอนไปซีกพ่อฟาดหกหมื่นกว่าบาท ถ้าไปปวดไม่ถอนเด็จขาก รอกลับมาทำทีเมื่องไทย ถอนได้ทั้งปากเลย


โดย: jjbd วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:12:26:51 น.  

 



น่าสนใจมากๆๆเลยค่ะ
แต่เดี๋ยวค่อยกลับมาอ่านค่ะ
วันนี้ เวลา จะแว๊บๆๆๆมาที่บล็อกได้แค่สั้นๆค่ะ
เดี๋ยวค่อยมาใหม่





โดย: d__d♥ (มัชชาร ) วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:13:44:53 น.  

 
สวัสดีจ้า ยินดีที่ไดรู้จักค่ะ เข้ามาแอบอ่านอยู่บ่อยๆ แอบชื่นชม เจ้าของบล็อคที่ทำอาหารเก่ง ฝีมือก็ประณีต


โดย: Compute วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:17:25:58 น.  

 
เอ...อ่านแล้วก็ทำให้สงสัยว่าแล้วประเทศฝรั่งเศสเป็นยังไงนะ
คือส่วนมากจะรู้แค่เรื่องใกล้ตัวน่ะค่ะ จากประสบการณ์ตรงซะมากกว่า
ไม่รู้ว่าคนอื่นๆที่มีสถานะแตกต่างจากเราเค้าจะมีสิทธิแตกต่างจากเรามั๊ย
แต่โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าระบบนี้ของฝรั่งเศสดีมากๆเลยค่ะ

เคยไปนอน รพ. อยู่หลายวัน เพราะเป็นไตอักเสบ
บิลออกมาแทบลมจับเลยค่ะ แต่โชคดีไม่ต้องจ่ายเองซักกะบาท
คิดอยู่เหมือนกันว่า ถ้าไม่มีระบบประกันสังคมดีๆอย่างนี้
แล้วเราจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลนะ ฮี่ๆๆ

อีกอย่างรักษาฟันก็เหมือนกันค่ะ ทำมาหมดทุกอย่าง
ทั้งอุด ทั้งถอน รักษารากฟัน และขูดหินปูน
เห็นบิลแต่ละครั้งก็เหงื่อแตกเหมือนกันค่ะ แต่ก็อีกนั่นแหละค่ะ
ไม่ต้องจ่ายเองซักบาท อะไรจะดีขนาดนั้นนะ แฮ่ๆ


โดย: Complicatedgirl วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:18:16:32 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้ดีจังค่ะ


โดย: whitelady วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:18:33:43 น.  

 
ต้องเข้ามาอ่านหาความรู้ค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ค่ะ


โดย: Madame Kp วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:23:46:51 น.  

 
อ่านไป นึกไป
ที่นึกนี่ก็นึกเปรียบเทียบกับ
การดูแลรักษาในบ้านเรา (ประเทศเทย)

เมื่อก่อนผมเป็นคนหนึ่งล่ะ
ที่ไม่ค่อยเชื่อบริการในการรักษาของภาครัฐ
ที่ไม่เชื่อและไม่ชอบก็ตรงที่เข้าคิวรอให้การรักษษนี่แหละ นานมาก
ผมก็เลยซื้อประกันชีวิตแบบเน้นการรักษา

ทุกวันนี้รัดเข็มขัดทุกอย่าง
อีกทั้งยังมีระบบประกันสังคมด้วย
ปีก่อนประกันสังคมก็โอเคอยู่ เพราะว่าโรงพยาบาลที่เราเลือกนั้นใช้ได้เลย

พอมาปีนี้โรงพยบาลที่เคยเลือกเค้าขอถอนตัวออกจากโครงการประกันสังคม
ก็เลยซักออกอาการเซ็ง

ทุกวันนี้ทางที่ดีก็ต้องดูแลรักษาตัวเองให้แข็งแรง
อย่าได้เจ็บอย่าได้ป่วย ตนเป็นที่พึ่งแห่งต้น
แม้ว่าจะมีประกันสังคมก็เถอะ ... หักเงินเราไปทุกเดือนๆละ 1500 (บ.ครึ่ง เราออกเองครึ่ง) แต่บอกตรงๆว่าเสียดายเงินจริงๆ


ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

ปล. เคยเห็นในหนัง ส่วนใหญ่คนที่แสดงเป้นหมอ
มักจะมีหน้าตาออกไปทางคนอินเดียน่ะ
เคยนั่งสรุปกันกับเพื่อน ๆมันบอกว่า คนอินเดียน่ะเรียนเก่ง
โดยเฉพาะวิชาเลข ยิ่งเก่ง
แล้วที่เจ้าของ blog เห็นๆหมอน่ะ ส่วนมากจะเป็นคนหน้าแขกๆหรือเปล่า?


โดย: merf1970 วันที่: 10 มิถุนายน 2551 เวลา:8:19:44 น.  

 
เรื่องบริษัทประกันไม่ยอมออกให้ทั้งหมดน่าจะเป็นเกี่ยวกับประเด็นของ Moral Hazard มั้งครับ
//en.wikipedia.org/wiki/Moral_hazard

คือคงกลัวว่าถ้าออกให้หมดร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วคนจะเข้าโรงพยาบาลกันเป็นว่าเล่น

จนค่ารักษาพยาบาลจะเยอะเกินไปแล้วบริษัทจะเจ้งเอา -__-


โดย: TuM IP: 210.249.184.60 วันที่: 11 มิถุนายน 2551 เวลา:18:01:22 น.  

 
ท่าจะจริงนะคะ

คุณ Tum นี่คือพี่ธรรมวิมลหรือเปล่าเอ่ย ...


โดย: Tristy วันที่: 12 มิถุนายน 2551 เวลา:4:11:29 น.  

 
มาขอ Add เป็นเพื่อนด้วยคนค่ะ..สาระประโยชน์มากมายค่ะ


โดย: Look at all วันที่: 30 มิถุนายน 2551 เวลา:12:56:51 น.  

 
ตามมาดูเมเปิ้ล ที่ INDIANA



Photobucket


โดย: Cheria (SwantiJareeCheri ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:19:46 น.  

 
เข้ามาเก็บความรู้ค่ะพี่ฉวีขอบคุณที่เก็บมาฝากค่ะ ตอนแรกที่จอยมาเมกาเข้าโรงพยาบาลเป็นว่าเล่นเลยค่ะ เดี๋ยวจะไปเขียนไว้ที่บล๊อก ถึงจะเข้าโรงพยาบาลบ่อยแต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจระบบเค้าอยู่ดีค่ะ ได้มาอ่านจากบล๊อกพี่ฉวีรู้สึกเข้าใจมากขึ้นค่ะ


โดย: jOY (smithfamily ) วันที่: 10 ธันวาคม 2551 เวลา:2:40:52 น.  

 
อยากให้มีการเปรียบเทียบข้อมูลระบบประกันสุขภาพในอเมริกากับในฝรั่งเศส(ก้าวหน้าทางการแพทย์เหมือนกัน)ที่มีรายจ่ายด้านสุขภาพของประชากรไม่มากเท่าอเมริกา


โดย: ขอภาษาไทยครับ IP: 222.123.232.121 วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:14:33 น.  

 
เขียนได้ดีจริงๆค่ะ
มาอยู่แรกๆ งงเลยค่ะ
ทุกวันนี้เข้าใจระบบมากขึ้น
แต่ก็ยังงง ในรายละเอียดหลายๆอย่างอยู่ดี
และคนอเมริกันเองก็งง อย่างที่คุณเขียนไว้จริงๆค่ะ
มีเรื่องตลกเรื่องการเรียกเก็บบิลของที่นี้ค่ะ
เราไปฝากครรภ์ จนกระทั้งลูกคลอด จนจะครบ
สองขวบแล้ว เพิ่งมีบิลและโทรมาเรียกเก็บค่า
อันทราซาวน์ลูก 1,000 เหรียญ
และเมื่อวานนี้ก็โทรมาอีกค่ะ
บอกว่ามีค่าอะไรอีกไม่รู้ 900 กว่าเหรียญ
มึนไปเลยค่ะ




โดย: ปากาวรตี วันที่: 23 กรกฎาคม 2552 เวลา:4:10:03 น.  

 
บทความนี้มีความเข้าใจไม่ตรงกับความจริงในหลายเรื่องนะคะ ในเรื่อง Universal Healthcare

1. ตัวเลขที่นำมาอ้างอิงว่าคน 47 ล้านคน ว่าไม่มี health insurance นั้น ต้องดูในรายละเอียดค่ะ
- จำนวน 8 ล้าน เป็นเด็ก ไม่มีประกันสุขภาพเพราะใช้ประกันจากพ่อแม่
- 10-15 ล้าน เป็น illegal aliens ไม่ใช่ประชาชน แต่เป็นพวกลี้ภัยที่หลบหนีเข้าประเทศ
- ที่เหลือเป็นตัวเลขปะปน ซึ่งในนี้มี 1) คนหนุ่มสาวที่สุขภาพแข็งแรงดีที่ไม่ต้องการเสียเงินโดยไม่จำเป็นกับ health insurance ที่เขาไม่ได้ใช้ (แปลว่าเขาตั้งใจไม่ซื้อ health insurance ไม่ได้แปลว่าไม่มีปัญญาซื้อ) รวมทั้ง 2) คนจนและป่วยจริงๆที่ไม่มีปัญญาซื้อ health insurance

เวลาที่เขาสรุปว่า 47 ล้านคนไม่มีประกันสุขภาพนั้น แปลว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตรันทด เพราะไม่มีปัญหาจ่ายค่าประกันสุขภาพ นี่เป็นการสรุปแบบ simplistic และ บิดเบือนความเป็นจริงจากตัวเลขที่คลุมเคลือค่ะ

2. ค่า health insurance ปัจจุบันนั้นแพงมาก ต้องมีการปรับปรุงระบบ อันนี้ถูกต้อง และปัจจุบันก็เริ่มมีการหาวิธีการที่ผู้ซื้อได้ประโยชน์แม้จะไม่ได้ไปหาหมอ เช่น เงินที่จ่ายเข้า health insurance นั้น ถ้าไม่ได้ไปหาหมอ ก็เอาจำนวนนั้นสะสมเป็นเงินเก็บแทน (แทนที่จะจ่ายฟรีไปเป็นเดือนๆโดยที่เสียแล้วเสียเลย) ระบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในขั้นแบบค่อยๆไป

3. คนอเมริกันส่วนมากพอใจกับบริการที่ได้รับ เพราะสามารถเลือกได้ ว่าจะประกันจะครอบคลุมระดับไหน คนมีสิทธิซื้อประกันตามความต้องการ

4. ข้อนี้เป็นคนละคอนเซ็ปต์กับทางเมืองไทยและยุโรป ความคิดที่ว่ารัฐบาลต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของผู้คนนั้น แนวคิดแบบ "พี่งพารัฐ" เป็นแนวคิดที่ไม่ "อเมริกัน" ค่ะ คนอเมริกันมีรากที่เชื่อมากในเรื่อง ตนเป็นที่พี่งแห่งตน รัฐบาลไม่ควรก้าวก่ายในเรื่องชีวิตส่วนตัวของประชาชน ในเรื่องทุกเรื่อง รวมถีงปากท้อง เพราะเหตุที่ว่าเมื่อรัฐเอามือมายุ่มย่ามเมื่อไร ก็เท่ากับว่าประชาชนสูญเสีย "ฟรีด้อม" ในการใช้ชีวิตไปพร้อมๆกันเมื่อนั้น ประชาชนต้องการมีสิทธิในการใช้ชีวิตที่ปราศจากการก้าวก่ายของคนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของชีวิต รัฐไม่มีสิทธิเอาฟรีด้อมไปจากปวงชนได้ แม้ว่าสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นจะดูดีแค่ไหนก็ตาม ****ที่สำคัญ หลักข้อนี้มีอยู่ในตัวบทกฏหมายข้อต้นๆในรัฐธรรมนูญค่ะ**** เหตุนี้เองที่ทำให้อเมริกาเป็นอเมริกา ที่ต่างจากยุโรปหรือประเทศอื่นๆที่คนเชื่อว่าชีวิตนี้พี่งรัฐดีกว่าพึ่งตัวเองค่ะ

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า รัฐบาลโอบาม่าที่โปร government healthcare ในตอนนี้โดนประท้วงแบบถล่มทะลาย เพราะประชาชนส่วนมากไม่ต้องการค่ะ


โดย: เภา IP: 67.45.165.94, 67.142.130.35 วันที่: 23 สิงหาคม 2552 เวลา:22:13:09 น.  

 
ตอนนี้อยู่อเมริกา5เดือนแล้วแต่งงานแล้วกำลังรอGREENCARD อยากทำประกันสุขภาพและประกันชีวิตแต่ไม่รู้เรื่องแฟนก็ไม่เข้าใจเราEไม่แข็งแรงอยากได้ที่จ่ายค่ารักษาเราทุกอย่างนะคะและอยากขอคำแนะนำว่าแบบไหนดีตอนนี้อายุ45และจะทำให้ลูกสาวด้วยพ่วงกันลูกสาว17คะช่วแนะนำด้วยนะคะขอรายละเอียดด้วยเพราะไม่เข้าใจE -v[86I8t


โดย: Boonyanee Lallemont IP: 71.90.49.15 วันที่: 24 กันยายน 2555 เวลา:19:09:47 น.  

 
You need to take part in a contest for one of the highest quality blogs on the web. I am going to highly recommend this blog!
stivali ugg jeans //www.fbcunionevenezia.it/stivali-ugg/CRGN4sboUt/


โดย: stivali ugg jeans IP: 192.99.14.34 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2557 เวลา:14:05:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tristy
Location :
.... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1263 คน [?]







มือที่หย่อนเป็นเหตุให้เกิดความยากจน แต่มือที่ขยันขันแข็ง กระทำให้มั่งคั่ง

สุภาษิต 10 : 4



แผนงานของคนขยันขันแข็ง นำสู่ความอุดมสมบูรณ์แน่นอน แต่ทุกคนที่เร่งร้อน ก็มาสู่ความขัดสนเท่านั้น

สุภาษิต 21 : 5


* สุภาษิตจาก “พระคัมภีร์ไบเบิ้ล”



Some Blogs – Click on Each Image for Recipe or Information



Baby Shower Cake



Hand Painted Fondant Cake



Graduation Cake



50 States Birthday Cake



Choc-Espresso Layer Cake



Congratulations Cake



Strawberry Shortcake



Charlotte Royale Cake



Chocolate Gingerbread Yule Log



Orange Cake Rolls



Pumpkin Cake Rolls



Peach Cupcakes



Coconut Cake



Coffee Caramel Mouuse Cake



Apple Sharlotka



Mocha Cake Rolls



Ube Puto



Carrot Cake



Rasberry Madeleines



A Birthday Cake



A Birthday Cake



Macarons (Ladurée Recipe)



Macarons with Salted Caramel Cream



Macarons with Italian Meringue



Pâte à Choux with Streusel



Meringue Mushrooms



Chocolate-Nut Filled Biscotti



Dried-Fruit Biscotti



Poppyseed–Orange Scones



Cinnamon Sugar Scone



Lady Fingers



Spiral Apple Bread



Carrot Appale Breads



Farthing Biscuits



Rich Fudge Brownies



Spinach and Cheddar Tart



Pear Frangipane Tart



Egg Bread – A Korean Street Food



Choc - Banana Bread



Berry Lemonade Bars



Magic Custard Cake



Chocolate and Hazelnut Bread



Strawberry Mousse Cakes



Le Fraisier



Coconut & Mixed Berries



White Chocolate Yogurt Mousse



B-Caraibe



Pumpkin Mousse Cake



Opera w/ Lacquer Glaze



Coffee Genoese



Chocolate Espresso Dacquoise



Mini Dome Cakes



Green Tea Pound Cake



Marion's Raised Waffles



Éclair



Soft Sweet Bread



Mix Berry Tarts



Mini Domes



โมจิ



กะหรี่ปั๊บ



บัวลอยงาดำน้ำขิง



ข้าวมันดอกอัญชัน



เค้กโมจิชาเขียว ถั่วแดง



Perfect Party Cake



Crepe Cake



Taiwanese Pineapple Cake



Mango Mousse Cake



Raspberry Mousse Cake



Lamington Cake



Japanese Strawberry Shortcake



Lemon Mirror Cake



Dobos Torte



No - Bake Fruit Cake



Orange Cake in Lady - Finger Ring



เค้กมะพร้าวอ่อน



Strawberry Bavarian Cake



Red Berry Cake



Green Tea Mousse Cake



Chocolate Mousse Cake



Chocolate Pumpkin Cake



Strawberry Jam



Challah Bread



Delicate Mint Thins



Snowflake Cookies



Parisian Fruit Tarts



Vanilla Crème Brûlée



New York Style Bagels



Waffle Cups



Sour Cream Pancakes



ลอดช่องน้ำกะทิ



ขนมทองเอก



ใส้กรอกอีสาน



น้ำจิ้มลูกชิ้น



ลูกชิ้นเด้งกรุบกรอบ



ข้าวมันไก่



น้ำจิ้มสุกี้



หมูยอ



น้ำพริกอ่อง



สาระน่ารู้เรื่องเครื่องเทศ



ข้าวขาหมู



ข้าวมัน ส้มตำไทย ไก่ฝอย



Fresh Spring Rolls



Lemon Spinach Pesto



Malaysian Pork and Beef Jerky



Korean Spicy Chicken Wings


Friends' blogs
[Add Tristy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.