Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
สาเหตุและการกำจัดกลิ่นอับชื้นจากแอร์ รถยนต์

รถยนต์

กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่จะกล่าวนี้ ไม่รวมถึงกลิ่นที่ได้มาจากของกิน หรือสารเคมีอื่นๆ ที่หกเลอะในรถนะครับ
ทีนี้มาดูว่ากลิ่นนั้นเกิดมาจากอะไร

กลิ่นอับชื้นออกเหม็นเปรี้ยวนั้น เป็นก๊าซที่ได้จากกระบวนการสังเคราะอาหารของแบคทีเรีย
ทั้งประเภทที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต
โดยใช้น้ำหรือความชื้นเพียงนิดหน่อยก็ดำรงชีวิตอยู่ได้
บางชนิดจะสร้างสารคล้ายเจลลี่ห่อหุ้มตัวไว้ และเกาะตามซอกหลือต่างๆในกล่องและตู้แอร์
ดังนั้นการกำจัดกลิ่นก็คือต้องกำจัดแบคทีเรียนั้นเสีย ที่ทำกันอยู่ก็คือ

วิธีถอดล้างตู้แอร์แบบเก่า
คือเอาออกมาทั้งโครงและตู้แอร์ที่มีซอกหรือคลีบเยอะๆ มาล้างทั้งขัดทั้งถูออกหมดทั้งฝุ่น ทั้งเจลลี่หรือวุ้นใสๆ
นั้นแหละครับตัวแบคทีเรียอยู่เป็นโคโลนีเลย แน่นอนว่าเกลี้ยงถ้าช่างไม่หมกเม็ด

วิธีล้างตู้แอร์โดยไม่ถอดมาล้างข้างนอก
โดยการฉีดน้ำยาล้างเป็นโฟมแล้วทิ้งไว้ตามเวลาที่กำหนดจึงล้างออก
โดยน้ำยาที่ล้างจะผสมสารทำให้เกิดฟอง เพื่อให้ฝุ่นละอองนั้นหลุดล่อนออกมา
และยังมีการผสมน้ำยาฆ่าเชื้อไม่ว่าจะได้มาจากธรรมชาติ หรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
และอย่างสุดท้ายผสมน้ำหอม เพื่อกลบเกลื่อนผลงานว่าสะอาดแล้วเพราะหอมมากๆ หลังทำเสร็จ

แล้วเหตุใดหลังทำเสร็จจึงมีกลิ่นนั้นอีก อธิบายได้ว่าแบคทีเรียนั้นตายไม่หมด มีเหลือรอดซาก
เพราะบางชนิดสามารถสร้างสปอร์หรือเมล็ดพันธ์ ซึ่งมีความทนทานมาก
น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างตู้แอร์ ขอบอกว่าเด็กๆ เอาสปอร์มาแช่เป็นเดือนมันยังไม่ตายเลยครับ
และพอเจ้าสปอร์ได้รับความชื้นที่พอเหมาะก็จะโตขึ้นมาได้อีก
หรือแบคทีเรียบางตัวสร้างเจลลี่หรือgerm ห่อหุ้มตัวมันไว้ เมื่อฉีดน้ำยาโฟมล้างตู้แอร์เข้ามา
เจ้าตัวแบคทีเรียก็ไม่สัมผัสกับน้ำยาฆ่า เชื้อจ้างก็ไม่ตาย
และยิ่งอยู่ในซอกหลืบน้ำยาเข้าไม่ถึงน่ะได้รับแบคทีเรียเข้ามาใหม่
อันนี้มาจากสิ่งแวดล้อมถายนอกรถ หรือจากตัวเราก็ได้ ท่านเชื่อหรือไม่ ผมเคยเอาน้ำจากตู้แอร์มาเพาะเชื้อ
มันได้กลิ่นเดียวกับที่เท้าผมเลย ก็เพราะระบบหมุนเวียนอากาศนั้นแหละดูดเข้าไป (งามเลย)
แล้วจะต้องทำอย่างไรกับพวกที่เหลือ ก็ต้องฆ่ามันนั้นแหละครับ ต้องเลือกน้ำยาที่มีประสิทธิภาพสูง (high level)
ชอนไชได้ดีจึงจะฆ่าสปอร์ได้ แอลกอฮอล์ 70% ที่ใช้ล้างแผลฆ่าสปอร์ไม่ตาย
แล้วท่านคิดว่าน้ำยาล้างตู้แอร์แบบไม่ต้องถอดล้าง ที่มีแอลกอฮอล์เข้มข้นนิดหน่อยจะได้ผลไหม
ผมจึงเลือกแบบรมควันหรือแบบอบแก๊สที่ใช้กันทางการแพทย์นั้นแหละ

วิธีการดังกล่าวเมื่อเชื้อแบคที่เรียตายหมด กลิ่นก็น่าจะหมดไป
แต่อย่าลืมว่ากลิ่นจากแบคทีเรียในช่องแอร์ เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น
และกลิ่นต่างที่ไม่พึ่งประสงค์ มักเป็นสารประกอบอีเทอร์, สารประกอบซัลไฟล์
หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่อาจฝังแน่นกับวัสดุในตัวรถและระเหยกลิ่นมาให้เราดมอยู่เลย
ถึงต้องใช้เทคโนโลยีมีแต่งบบานปลาย กลับมาหาธรรมชาติใช้ถ่านดูดกลิ่นไม่ชอบรูปลักษณ์
ก็เอาใส่ภาชนะเป็นเครื่องประดับไปในตัว จะซ่อนใว้ก็ได้
หรือจะเลือกแบบผลไม้ที่เอามาเผาเป็นถ่าน มาขายเป็นเครื่องประดับก็เก๋ดี อุดหนุนหน่อยภูมิปัญญาคนไทย


ข้อมูลโดย //www.one2car.com
ที่มา : //www.freestyle-club.net
ภาพจาก : //www.eshine.ca


สารบัญรถยนต์




Create Date : 05 พฤษภาคม 2553
Last Update : 12 พฤษภาคม 2553 18:37:50 น. 2 comments
Counter : 2282 Pageviews.

 
เชื้อราชอบสะสมอยู่ในช่องลมของรถยนต์ การล้างทำความสะอาดก็ช่วยได้ แต่ไม่ตลอดเหมือนกัน เพราะต้องถอดล้างบ่อยๆ กลิ่นอับที่เกิดจากเชื้อรา จะลอยออกมาทางช่องลมแอร์ ทำให้เหม็นรำคาญหรือเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นได้

plasmacluster สุดยอดของเครื่องพ่นทำลายเชื้อโรค กลิ่นอับ ลดกลิ่นอาหารในห้องโดยสารรถยนต์

Plasmacluster ion generator for car use ดูได้ที่ link :

//www.sharp-pci.com/th/b/news_archive.html

ข้อเหนือกว่าเครื่องฟอกอากาศระบบทั่วไป

1. ฆ่าทำลายเชื้อโรค ทำลายกลิ่นอับ โดยตรง ไม่ใช่กักเก็บไว้ในเครื่อง
2. ไม่ต้องใช้แผ่นกรอง ไม่เป็นที่สะสมเชื้อ ไม่สิ้นเปลืองในการเปลี่ยนแผ่น
3. ใช้ได้ปลอดภัยในห้องโดยสาร ไม่ต้องกังวลต่อพิษของโอโซน (โอโซนในปริมาณที่ฆ่าเชื้อได้ เป็นพิษร้ายแรงต่อร่างกาย)
4. วางไว้ข้างหน้าของห้องโดยสาร เสียบปลั๊กเข้าที่จุดบุหรี่ ใช้งานได้ทันที เป็นการทำลายต้นเหตุของมลพิษที่ออกมาจากช่องลมแอร์
5. ทำลายก๊าซพิษ และลดกลิ่นที่มากับบุหรี่

เชื้อโรคที่ถูกทดสอบยืนยันแล้ว่า PLASMACLUSTER สามารถทำลายได้ ดูได้ที่

//www.icnurse.org/webboard/webboardDetail.php?detailID


โดย: จิรศักดิ์ IP: 202.32.86.102 วันที่: 10 มิถุนายน 2553 เวลา:17:00:07 น.  

 
กลไกการทำลายเชื้อแบคทีเรียของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์
(Bactericidal effects of plasma-generated cluster ions)

ตีพิมพ์ใน Abstract ของวารสารการแพทย์ Med.Biol.Eng.Comput.,2005,43,800-807

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Diget , A.Temiz Artmann , K.Nishikawa , M.Cook , E.Kurulgan , G.M.Artmann

University of Applied Sciences, Aachen , Germany
Sharp Corporation , Japan


ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์เป็นการพ่นอนุภาค + และ – ออกมา จากผลการทดสอบที่ผ่านมาหลายๆครั้งยืนยันได้ว่าเป็นอาวุธอย่างดีในการทำลายเชื้อโรคหลากหลายสายพันธุ์ แต่เราก็ยังไม่ทราบกลไกการทำงานอย่างกว้างขวางนัก วัตถุประสงค์ของการทดสอบครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีการทำงานและประสิทธิภาพการทำลายเชื้อโรคของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ที่มีต่อเชื้อโรคทั่วไปในครัวเรือน จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของอนุภาคที่ถูกพ่นออกมากับระยะเวลาที่ใช้ต่อเชื้อแบคทีเรียชนิด Staphylococcus, Enterococcus, Micrococcus และ Bacillus เราพบว่าปฎิกริยาการทำลายเกิดขึ้นทันทีภายในไม่กี่นาทีแรกของการพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ รวมถึงการทำลายเชื้อโรค 99.9% อย่างถาวรภายในเวลา 2-8 ชั่วโมง ผลการทำลายได้เกิดขึ้นที่ผนังเซลล์ของเชื้อโรค ซึ่งเราใช้จากการตรวจสอบแบบเทคนิค SOS PAGE และ 2D PAGE จึงได้บันทึกถึงการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนชั้นนอกที่ผนังเชื้อโรค รวมถึงการบันทึกผลต่อการสูญสลายไปทั้ง DNA และ cytoplasm ด้วย ยืนยันได้ว่าอนุภาคพลาม่าคลัสเตอร์ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังเชื้อโรคด้วยปฎิกริยาทางเคมี โดย active hydroxyl ที่เกิดขึ้นมีผลทำให้ผนังโปรตีนของเชื้อโรคถูกทำลายไป ขณะเดียวกันกับการสูญสลายของ DNA ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงานของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์แต่อย่างใด ข้อมูลการทดสอบครั้งนี้จึงเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำระบบฆ่าเชื้อโรคนี้ไปทำให้เกิดประสิทธิผลในการประยุกต์ใช้กับเครื่องมือได้ดีขึ้น


โดย: จิรศักดิ์ IP: 202.32.86.108 วันที่: 8 ธันวาคม 2553 เวลา:10:29:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.