Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 
31 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
จับพวงมาลัยให้ถูกต้อง



พวงมาลัย อุปกรณ์หลักในการบังคับทิศทางของรถ การจับพวงมาลัยอย่างถูกวิธี
และถูกตำแหน่ง จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัย
อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นเรื่องพื้น ๆ ที่รู้อยู่แล้ว แค่จับพวงมาลัยไม่เห็นมีอะไรซับซ้อน
จับตามวิธีและตำแหน่งที่ตนเองถนัดก็พอ ทั้งที่ความจริงแล้ว การจับพวงมาลัยตามถนัด
อาจไม่ใช่การจับที่ถูกต้องตามหลักการด้านความปลอดภัย ในการขับขี่รถยนต์ก็เป็นได้

การจับพวงมาลัย
ผู้ขับรถคนไทยส่วนใหญ่ มักไม่เห็นความสำคัญของการจับพวงมาลัย
จึงมีการปฏิบัติแบบผิด ๆ ต่อเนื่องกันมา โดยมีสาเหตุจาก
- ขาดการฝึกฝนอย่างถูกวิธี ทั้งจากโรงเรียนสอนขับรถยนต์และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
- เน้นความสบายและผ่อนคลายเป็นหลัก
- คิดว่าจับพวงมาลัยแบบไหน ก็ไม่เห็นเกิดอุบัติเหตุ



การจับพวงมาลัยผิดตำแหน่ง มีหลากหลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ
- จับด้านบนของพวงมาลัยตำแหน่ง 12 นาฬิกา
- วางมือทั้ง 2 ข้างไว้บนตัก แล้วจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา
- สอดแขนทั้ง 2 ข้างเข้าไปในวงพวงมาลัย ข้อมือพาดอยู่แถวก้าน วางมือไว้บนคอพวงมาลัย
- จับที่ก้านพวงมาลัยด้านซ้าย-ขวา
- จับด้วยมือขวาข้างเดียว ข้อศอกขวาท้าวขอบหน้าต่าง หรือที่ท้าวแขนบนบานประตู
- จับด้วยมือซ้ายข้างเดียว ข้อศอกซ้ายพาดอยู่บนที่ท้าวแขน

ที่ถูกต้อง 3 และ9 หรือ 2 และ10 ตำแหน่งการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง เมื่อเปรียบเทียบกับ
ตำแหน่งของตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกา ก็จะเข้าใจง่ายขึ้น เพราะเป็นทรงกลมเหมือนกัน

มือขวาควรจับวงพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และมือซ้ายจับที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกา
สังเกตว่ามือทั้ง 2 ข้างอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันที่ขนานกับพื้น
อยู่บริเวณกึ่งกลางวงพวงมาลัย จึงสามารถหมุนพวงมาลัยได้อย่างแม่นยำ และฉับไว
ทั้งหมุนไปทางซ้ายหรือขวา บางคนอาจจับสูงขึ้นมาอีกนิด
แต่ไม่ควรเกินตำแหน่งมือขวาที่ 2 นาฬิกา มือซ้ายที่ 10 นาฬิกา
โดยรวมแล้ว แนะนำให้จับตำแหน่ง 3 – 9 นาฬิกา จะเหมาะสมกว่า

ถ้าสังเกตสักนิดจะพบว่า พวงมาลัยส่วนใหญ่จะผลิตมาเอื้อต่อการจับที่ตำแหน่ง 3-9 นาฬิกา
โดยมีหลุมตื้นๆ หรือเป็นร่องตื้นๆ บริเวณปลายก้านที่ต่อกับวงพวงมาลัย
เพื่อให้วางนิ้วโป้งได้อย่างพอเหมาะ


มีแอร์แบ็กยิ่งต้องระวัง
ในกรณีที่พวงมาลัยมีแอร์แบ็ก ควรจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 3-9 นาฬิกา
เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วแอร์แบ็กพองตัว แขนทั้ง 2 ข้างจะได้สะบัดออกด้านข้าง
หลักทางให้แอร์แบ็กรองรับร่างกายช่วงบนได้ แต่ถ้าจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 2–10 นาฬิกา
แขนทั้ง 2 ข้างอาจจะสะบัดเฉียงขึ้น ขวางการพองตัวของแอร์แบ็กได้


พิสูจน์ง่าย ๆ ด้วยตนเอง
ถ้าใครคิดว่าจับพวงมาลัยแบบไหนก็หมุนได้เหมือนกัน
ทดลองง่ายๆ ด้วยการจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วหมุนไปมา
หรือจะหาที่โล่งๆ และปลอดภัยเพื่อทดลองขับก็ได้ เปรียบเทียบการจับพวงมาลัยแบบผิดๆ
ถ้าไม่เข้าข้างตัวเองเกินไปก็จะพบว่า การจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ถูกต้อง
จะทำให้หมุนได้อย่างฉับไว รวมทั้งควบคุมน้ำหนัก และทิศทางได้แม่นยำกว่า


จับ 2 มือเมื่อล้อหมุน
สำหรับการขับรถยนต์ทางเรียบในทุกสถานการณ์
ควรใช้นิ้วโป้งเกี่ยวเพิ่มความกระชับด้วยเสมอ จะเกี่ยวลึกหรือเกี่ยวไว้เล็กน้อยก็ยังดี
(หากขับบนทางวิบาก ไม่ต้องใช้นิ้วโป้งเกี่ยว เพราะพวงมาลัยจะสะบัดบ่อย)
ส่วนนิ้วที่เหลือก็กำให้แน่นพอประมาณ ไม่ต้องแน่นจนเกร็ง แต่ก็ต้องไม่หลวมเกินไป
และควรจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วยมือทั้ง 2 ข้างตลอดเวลาที่ล้อหมุน

เมื่อขับทางตรงและโล่ง อย่าวางใจด้วยการขับมือเดียวหรือจับพวงมาลัยผิดตำแหน่ง
เพราะยิ่งใช้ความเร็วสูงก็ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระว ัง และเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
เพราะถนนข้างหน้าอาจมีหลุมบ่อหรือสิ่งกีดขวางตกอยู่ ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดา
เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว มือซ้ายควรกลับมาจับพวงมาลัยไม่วางแช่ไว้บนหัวเกียร์


ตำแหน่งของเบาะก็เกี่ยวข้อง
ความฉับไว และแม่นยำในการหมุนพวงมาลัย นอกจากจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งในการจับ
พวงมาลัยแล้ว การปรับเบาะ และพนักพิงก็เป็นส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน
โดยเมื่อจับพวงมาลัยตามตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ข้อศอกจะต้องงอเล็กน้อย
ไม่ตึงจนต้องเหยียดแขนสุดหรือหย่อนจนข้อศอกแนบลำตัว

การตรวจสอบระยะที่เหมาะสมของเบาะและพนักพิงทำได้ไม่ยาก
แค่เหยียดแขนให้ตึงแล้วคว่ำลงบนสุดของพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา
ข้อมือต้องอยู่บนพวงมาลัยพอดี หรือเยื้องเลยจากข้อมือไปบริเวณอุ้งมือได้เล็กน้อย
แต่ต้องไม่เลยไปจนถึงฝ่ามือ และแผ่นหลังจะต้องแนบกับพนักพิงด้วย


สอดมือหมุนพวงมาลัยเบาแรงและปลอดภัยจริงหรือ



“ ไม่จริง ” และไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
การหงายมือสอดจับพวงมาลัยเพื่อเลี้ยวรถเป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว
จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือหมุน
แต่การทำแบบนั้น มี “ อันตราย ” มาก ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหิน
และเกิดมือหลุดจากพวงมาลัยดึงมืออกมาไม่ทัน ก้านพวงมาลัยจะตีมืออย่างแรง



การจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง ควรจับใน 3 ตำแหน่ง 3 และ9 นาฬิกา
ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย และเพียงพอที่จะหมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ
เมื่อต้องเลี้ยวรถมากกว่า 1 รอบจะปล่อยมือที่อยู่ด้านหลัง เพื่อมาจับในตำแหน่งเดิม
โดยทำในลักษณะนี้ทั้งเลี้ยวซ้ายและขวา

ที่มา viriyahcare.com,hondacitythailand.com





Create Date : 31 มกราคม 2552
Last Update : 31 มกราคม 2552 15:55:45 น. 0 comments
Counter : 5219 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.