Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
16 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
ยางของคุณมี"เสียง"แบบไหน?



ผู้ใช้รถส่วนมากจะมีความรู้สึกถึงเสียงที่เกิดขึ้นขณะขับรถแตกต่างกันออกไป
เสียงที่ท่านได้ยินนั้นจะมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ บางครั้งสามารถแยกแยะออกได้ว่า
เสียงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากที่ใดบ้าง แต่บางครั้งเสียงก็จะปนกันจนฟังไม่ออกว่าเป็นเสียงอะไรบ้าง

ที่มาของเสียงขณะขับรถโดยเฉพาะ "เสียงยาง"
เพื่อให้ท่านเข้าใจถึงลักษณะและสาเหตุของการเกิดเสียงต่างได้ดียิ่งขึ้น
แต่ก่อนที่จะคุยกันเรื่องเสียงยางเราลองดูกันว่าเสียงที่เกิดขึ้นขณะขับรถนั้นมีอะไรบ้าง

ที่มาของเสียงต่าง ๆที่เกิดขึ้นขณะขับรถนั้นมาจากระบบเครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อน ระบบเบรค ท่อไอเสีย
เสียงลมและเสียงยาง

ในการออกแบบรถรุ่นใหม่ ๆ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้พิจารณาหาทางลดเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้รถมี
ความสุนทรีย์ในการขับขี่มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับผู้ผลิตยางรถยนต์ต่างก็พยายามที่จะพัฒนายางรุ่นใหม่ ๆให้มี
เสียงเกิดขึ้นขณะใช้งานน้อยที่สุด เงียบที่สุด ที่นี้เราลองมาดูกันว่าเสียงยางนั้นมีกี่ชนิดและเกิดขึ้นได้อย่างไร

1. เสียงดอกยาง (Pattern noise) ขณะยางวิ่งสัมผัสพื้นถนน
อากาศจะถูกอัดอยู่ภายในร่องดอกยางกับพื้นผิวถนน เมื่อยางวิ่งต่อไปอากาศจะขยายตัวออกจากร่องยาง
ทำให้เกิดเสียงขึ้น เสียงจะเกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำอยู่ตลอดเวลาด้วยความถี่คงที่ เสียงที่เกิดขึ้นนี้คือ "เสียงดอกยาง"

2. เสียงแหลม ( Squeal ) เสียงแหลมดัง "เอี๊ยด"
เกิดจากการสั่นสะเทือนของบริเวณหน้ายางที่กระทำกับผิวถนนในชั่วเวลาหนึ่ง ขณะที่ออกรถหรือหยุดรถ
อย่างกระทันหันหรือขณะเลี้ยวรถมุมแคบอย่างทันทีท้นใด
เสียงดังกล่าวเป็นตัวชี้ให้ทราบว่าผู้ขับรถได้ใช้งานจนเกินความสามารถของยางที่จะรับได้
ความสามารถในการยืดเกาะถนนจะลดลงอย่างมากและทำให้เกิดผลเสียดังนี้
ออกรถกระทันหัน ล้อหมุนฟรีดอกยางสึกหรออย่างรวดเร็วและสึกไม่เรียบ
หยุดรถกระทันหัน ล้อล๊อคตายแต่ไถลไปกับพื้นถนนหน้ายางสึกเป็นจ้ำเนื้อยางไหม้
ความฝืดระหว่างหน้ายางกับผิวถนนลดลงทำให้รถลื่นไถลเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
เลี้ยวรถมุมแคบทันทีทันใด ยางลื่นไถลออกทางด้านข้าง ทำให้ควบคุมพวงมาลัยไม่ได้
เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกทั้งทำให้ดอกยางสึกหรออย่างรวดเร็วและสึกไม่เรียบ

3. เสียงถนน (Road noise)
ผิวถนนในปัจจุบันนี้มีอยู่มากมายหลายประเภท เช่น คอนกรีตผิวเรียบ ,คอนกรีตมีร่องเล็กๆ ตามแนวขวาง ,
แอสฟัสต์ผิวเรียบ แอสฟัสต์มีหินลอย ,ทางลูกรัง ฯลฯ เวลาขับรถผ่านผิวถนนดังกล่าวก็จะเกิดเสียงต่าง ๆกัน
ออกไป สำหรับผิวถนนที่เรียบละเอียดนั้นเสียงที่เกิดจากผิวถนนอาจจะคล้ายกับเสียงดอกยาง

4. เสียงสะเทือน (Elastic vibration noise )
เสียงนี้เกิดขึ้นจากความสั่นสะเทือนของยางเมื่อวิ่งผ่านผิวถนนที่มีสภาพผิดปกติ เช่น เป็นหลุม ,แตกร้าว
หรือเนื่องจากความไม่สมดุลย์ของยาง

5. เสียงดอกยางบิดตัว (Slip noise)
เป็นเสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบิดตัวไม่สัมผัสถนนของดอกยางบางส่วนเกิดขึ้นในขณะเลี้ยวโค้ง
แต่ไม่รุนแรงถึงกับหน้ายางลื่นไถล

เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดและที่มาของเสียงแล้ว
เราลองมาดูกันว่าองค์ประกอบที่ทำให้เกิดเสียงดอกยางดังมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
โดยเราสามารถทราบระดับความดังของเสียงได้จากผลการทดสอบโดยใช้เครื่องมือตรวจวัดกราฟ
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ระดับความดังของเสียงจะเพิ่มตามความเร็วของรถ
ถ้าความเร็วของรถสูงเสียงก็จะดังตามไปด้วย ,ยางดอกบั้งจะมีระดับของเสียงสูงกว่ายางดอกละเอียด

ความดังของเสียงยางสามารถถูกทำให้ลดลงได้โดยใช้เทคนิคในการออกแบบ ดอกยางให้มีลักษณะที่ช่วยลด
ปริมาณอากาศที่ถูกอัด ขณะดอกยางสัมผัสผิวถนนหรืออีกวิธีหนึ่งก็โดยการกำจัดเสียงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องใน
ระดับความถี่เดียวกันด้วยการออกแบบขนาดของดอกยางแต่ละดอกให้ต่างกันออกไป

การออกแบบดอกยางให้มีหลายขนาดนั้น ส่วนมากจะใช้กับยางที่ต้องการให้มีระดับเสียงน้อยที่สุด เช่น
ยางรถโดยสาร ,ยางล้อหน้ารถบรรทุก,ยางปิกอัพ และยางรถเก๋ง จากความเข้าใจของผู้ใช้รถทั่วไป
ส่วนมากจะคิดว่าขนาดของดอกยางแต่ละดอกจะเท่ากัน แต่ถ้าท่านลองสังเกตุดูยางที่ท่านใช้อยู่
ท่านจะเห็นความแตกต่างของขนาดดอกยางในยางเส้นเดียวกันอย่างชัดเจน

และทุกบริษัทต่างก็ใช้เทคนิคการออกแบบดังกล่าว ผสมผสานกับเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อวิเคราะห์หาลักษณะ
การจัดวางขนาดดอกยางที่ทำให้เกิดเสียงน้อยที่สุดนำมาผลิตยางเพื่อให้ผู้ใช้พึงพอใจในคุณภาพ

ที่มา : บริษัท บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด



Create Date : 16 พฤษภาคม 2552
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 14:55:13 น. 1 comments
Counter : 1139 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้เยอะเลย


โดย: สาว Vios IP: 58.9.70.92 วันที่: 21 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:12:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.