Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
11 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
อายุการใช้งาน น้ำมันหล่อลื่น



สวัสดีปีใหม่ไทยครับท่านผู้อ่านที่เคารพทั้งหลาย
ผมเขียนต้นฉบับตอนนี้ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเวลาสงกรานต์จริงๆ จึงไม่สามารถรับรู้ล่วงหน้าได้ว่า
การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จะช่วยลดอุบัติเหตุไปได้มากน้อยเพียงใด
จึงได้แต่หวังว่าคงจะสัมฤทธิผลตามที่เราทุกคนคาดหวังกันเอาไว้

เสียดายที่หน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงทั้งหลาย
นิยมที่จะทำงานกันตามน้ำแบบที่เรียกกันว่า “เต้นตามกลอง”
กล่าวคือ ถึงช่วงเวลาแต่ละครั้ง ก็ออกมาทำหน้าที่ป้องกันคนลืมไปเป็นคราวๆ
พอผ่านช่วงเวลาของการเดินทางไปแล้ว ก็ถอยตัวกลับไปนอนหมอบรอเทศกาลกันอีกต่อไป
ทำอย่างนี้อุบัติเหตุที่ไหนจะลดได้จริงจัง
เพราะขาดการตอกย้ำ สร้างความรู้ความเข้าใจให้ฝังติดไปกับคนไทยทุกคน

เมื่อต้นเดือนเมษายน ผมมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดขอนแก่น เพื่อทำการทดสอบรถตามที่มีอาชีพปฏิบัติ
จึงได้พบว่าอุณหภูมิในร่มที่มีลมพัดเบาๆ ของชานเมืองขอนแก่นนั้น
วัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิทั่วไป ที่ผมซื้อติดมือมาจากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งมีระดับความร้อนสูงสุดบอกเอาไว้เพียงแค่ 40 องศาเซลเซียส
ไม่เพียงพอต่อการวัดระดับความร้อนในฤดูร้อนเมืองไทย ที่บางวันร้อนเกินกว่า 42 องศาเซลเซียส

จากกรณีของมาตรวัดหรือเทอร์โมมิเตอร์ดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า การนิยามคำว่า “ร้อน” ของคนในแต่ละพื้นที่แต่ละประเทศจะต่างกันออกไป
ในญี่ปุ่นนั้นเขาคงคิดว่าอากาศทั่วไปที่ไหนจะร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส
หากร้อนเกินนั้นผู้คนคงตกตายไปตามกัน เขาจึงทำเทอร์โมมิเตอร์มาไว้ให้วัดกันแค่นั้น
และก็วางขายกันทั่วไป พอมาถึงเมืองไทยจึงกลายเป็นว่าไม่เพียงพอต่อการวัด

กรณีอย่างนี้น่าจะนำมาใช้กับการอธิบายเรื่องของคำว่า “ไลฟ์ไทม์ ( Lifetime )
ที่วิศวกรผู้ผลิตรถยนต์หลายราย กำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายของเหลวภายในเครื่องยนต์
ส่วนใหญ่หมายถึงน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ที่มักจะบอกว่าไม่ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายตลอดอายุการใช้งาน

ผมพยายามไต่ถามกับฝ่ายเทคนิค และวิศวกรเกือบทุกยี่ห้อที่มีการระบุเอาไว้เช่นนั้นว่า
ไลฟ์ไทม์ หมายถึงกี่เดือนกี่ปี หรือกี่หมื่นกี่แสนกิโลเมตร
ทุกคนก็ตอบผมกลับมาว่า “ไลฟ์ไทม์ หมายถึงตลอดอายุการใช้งาน”
ซึ่งผมไม่สามารถรับได้กับคำตอบดังกล่าว จนทำให้เกิดกรณีพิพาทโต้แย้งทางความเห็นกับหลายบริษัท

เพราะความเห็นของผม คือลักษณะการใช้รถของคนไทยและชาติผู้ผลิตรถต่างกันมาก
อุณหภูมิในวันที่ร้อนจัดของประเทศผู้ผลิตเช่นญี่ปุ่นหรือเยอรมนี ไม่น่าจะเกิน 30 องศาเซลเซียส
ในขณะที่วันสบายๆ ในฤดูหนาวของไทยอยู่ที่ประมาณ 28 องศาเซลเซียส
แม้จะมีข้อแย้งว่าได้มีการทดสอบทดลองในห้องทดลอง ด้วยระดับอุณหภูมิต่างๆ แล้วก็ตาม
แต่การทดสอบในห้องปฏิบัติการกับการใช้งานจริง ยังมีตัวแปรที่แตกต่างกันอีกมาก

รถยนต์ที่ใช้บนถนนในกรุงเทพฯ ย่านการจราจรหนาแน่น
เช่นบนถนนสาทรช่วงเวลาบ่ายของฤดูร้อน อุณหภูมิภายนอกห้องโดยสารประมาณ 40 องศาเซลเซียส
แต่อุณหภูมิบริเวณใต้ฝากระโปรงนอกเครื่องยนต์
หรือบริเวณรอบนอกเสื้อเกียร์น่าจะไม่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส
ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของน้ำมันหล่อลื่นทั้งหลาย เสื่อมสภาพไปได้ง่ายและเร็วขึ้น

การขยันเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ที่แม้จะระบุโดยผู้ผลิตว่าไลฟ์ไทม์
จึงน่าจะเป็นผลดีต่อชิ้นส่วนและอุปกรณ์มากกว่า


อายุการใช้งานของรถยนต์แต่ละคันในประเทศไทย กับประเทศผู้ผลิตเช่นเยอรมนีและญี่ปุ่น
ก็แตกต่างกันมาก รถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานในประเทศเหล่านั้น จนต้องนำไปทิ้งตามสุสานรถ
คนไทยยังไปซื้อหามาเปลี่ยนเพื่อใช้งาน
โดยเชื่อกันว่ามีสภาพดีกว่ารถที่วิ่งบนท้องถนนในประเทศไทยด้วยซ้ำไป

รถในประเทศเหล่านั้นส่วนใหญ่มีอายุใช้งานไม่เกิน 5 ปี หรือไม่เกิน 100,000 กิโลเมตร
แต่รถที่มีอายุการใช้งานในระดับดังกล่าวของไทย
ยังถูกจัดให้เป็นรถยนต์ “ค่อนข้างใหม่” สำหรับการซื้อขายอยู่เลย
จึงสามารถสรุปได้ว่า “ไลฟ์ไทม์ หรือตลอดอายุการใช้งาน” ของไทยและของประเทศผู้ผลิต
มีระยะเวลาการใช้งานที่ต่างกันมาก จนต้องนำมาพิจารณาและหาข้อกำหนดของการบำรุงดูแลรักษา
เพื่อให้รถยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ต่อไปอีกนานกว่าที่เป็นอยู่
เรื่องนี้ใครจะเชื่อผู้ผลิตหรือจะเชื่อคนไทยด้วยกัน ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านครับ


โดย พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ
ที่มา : //www.bangkokbiznews.com


สารบัญ รู้เรื่องรถ


Create Date : 11 เมษายน 2554
Last Update : 11 เมษายน 2554 19:18:43 น. 0 comments
Counter : 977 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.