Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
19 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

พวงมาลัยเอียงหรือเบี้ยว



ผมหัดขับรถยนต์ใหม่ๆ ในช่วงอายุยังไม่เต็ม 13 ปีด้วยซ้ำ
รถยนต์คันแรกที่ผมหัดขับด้วยตนเอง เป็นรถยนต์ประเภทรถจี๊ปยี่ห้อ DKW ผลิตจากประเทศเยอรมนี
ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ 2 จังหวะ ขับเคลื่อนปกติด้วยล้อคู่หน้า
หลังจากที่ผมหัดด้วยการนั่งตักคนขับ เพื่อจับพวงมาลัยด้วยตนเอง บนรถบรรทุกยี่ห้อ เชฟโรเลต
หรือที่เรียกกันว่า รถจี๊ปใหญ่ และรถหน้าตาคล้ายกันยี่ห้อเดียวกัน ที่มีขนาดตัวรถย่อมลงมาเล็กน้อย
ซึ่งคนในสมัยผมเรียกกันว่า รถจี๊ปขายยา

การหัดขับรถครั้งแรกด้วยการนั่งตักคนขับตัวจริง เพื่อทำการจับพวงมาลัยนั้น
ผมถูกสั่งสอนมาว่าการจับพวงมาลัยที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
เพราะพวงมาลัยของรถยนต์ยุคนั้น ไม่มีระบบผ่อนแรงมาช่วย
หากจับไม่มั่นคงเพียงพอ ก็จะไม่สามารถใช้แรงจากข้อมือหมุนพวงมาลัยบังคับทิศทางได้
และหากจับพวงมาลัยแน่นเกินไป หากล้อรถตกลงไปในหลุมที่มีอยู่มากมายบนทางสมัยนั้น
พวงมาลัยก็จะสะบัดตีเอาจนกระดูกข้อมือซ้นหรือหักได้ง่ายๆ

ต่อมาเมื่อผมย่างเข้าสู่วัยหนุ่มฉกรรจ์เต็มตัว และได้ใช้ชีวิตอยู่หลังพวงมาลัยบนรถบรรทุกสิบล้อ
ผมจึงมีโอกาสเรียนรู้ถึงวิธีการวางตำแหน่ง ของสิ่งของที่ต้องบรรทุกในตำแหน่งที่ถูกต้อง
เพื่อที่จะทำให้พวงมาลัยมีน้ำหนักเบาหรือหนักได้ตามต้องการ
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม พวงมาลัยรถยนต์กับผมก็มีความเข้าใจในกันและกัน เพียงเท่าที่เล่ามาให้ฟังเท่านั้น

จนกระทั่งเมื่อผมเข้ามาประกอบอาชีพใหม่
ด้วยการเขียนบทความลงในนิตยสาร และหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับรถยนต์
ผมจึงเริ่มเรียนรู้ว่ารายละเอียดของพวงมาลัย มีความสำคัญต่อคนขับรถมากกว่าที่เคยรู้มา
เช่น พวงมาลัยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย
ผู้ขับย่อมต้องออกแรงในการสาวพวงมาลัยมากกว่าพวงมาลัย ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า


ซึ่งหมายความว่า รถยนต์ที่ต้องใช้งานในทางทุรกันดาร หรือรถยนต์ที่ใช้งานบรรทุกสิ่งของจำนวนมาก
มีความจำเป็นที่จะต้องใช้พวงมาลัยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
มากกว่ารถยนต์ที่ใช้ขับในทางที่คดโค้งไปมามากๆ เพราะเส้นผ่าศูนย์กลางหรือเส้นรอบวงที่น้อยกว่า
แม้จะทำให้คนขับรถต้องออกแรงมากกว่า แต่ก็ใช้ระยะทางเดินของมือในการบังคับพวงมาลัยน้อยกว่า


จนเมื่อรถบรรทุกสิบล้อรุ่นใหม่ของประเทศไทยยุคนั้น
มีการติดตั้งพวงมาลัยที่มีเพาเวอร์ช่วยผ่อนแรงออกมา
ทำให้มีการถกเถียงกันมาก ว่าเป็นผลดีหรือผลเสียต่อการบังคับรถกันแน่
เพราะคนขับรถบรรทุกสิบล้อยุคแรก ไม่คุ้นกับพวงมาลัยที่น้ำหนักเบามากๆ
เมื่อเทียบกับรถบรรทุกยุคก่อนหน้านั้น

ต่างจากโลกรถยนต์ในปัจจุบันนี้ ที่มีระบบช่วยการทำงานของพวงมาลัยหลากหลายวิธีการมาคอยช่วยเหลือ
เช่น จากระบบลูกปืนหมุนวน ก็เปลี่ยนมาเป็นระบบฟันเฟืองหมุนบนเฟืองตัวหนอน
และหลังจากที่มีไฮดรอลิกมาช่วยผ่อนแรง ก็เปลี่ยนมาเป็นไฟฟ้าผสมไฮดรอลิก
และพัฒนามาเป็นไฟฟ้าช่วยผ่อนแรงเต็มรูปแบบเช่นในทุกวันนี้

แต่ปัญหาของคนขับรถทุกวันนี้ที่มีต่อพวงมาลัย
ไม่ใช่อยู่เพียงแค่ว่าวงพวงมาลัยมีขนาดใหญ่หรือเล็กขนาดไหน
ไม่ใช่อยู่ที่ว่าระบบช่วยผ่อนแรงทำงานด้วยอะไร
หรือไม่ใช่อยู่ที่ว่าวงพวงมาลัยมีขนาดความอวบมากน้อยเพียงใด
เพียงพอจะทำให้สามารถจับหรือกุมได้กระชับเต็มมือหรือไม่เท่านั้น

ยังมีคนขับรถจำนวนไม่น้อยที่มีความกังวลเกิดขึ้นว่า
ทำไมรถคันที่เขาเหล่านั้นขับอยู่ ถึงได้มีพวงมาลัยที่ไม่อยู่ในตำแหน่งเที่ยงตรง

หมายความว่า หากเปรียบวงพวงมาลัยเป็นหน้าปัดนาฬิกา
ทำไมสัญลักษณ์ยี่ห้อรถหรือสัญลักษณ์อื่นใด จึงเบี่ยงเบนไม่ชี้ไปที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา
ทำให้มีคำถามตามมาว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร

จากคำถามดังกล่าวสามารถตอบให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า เหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น
อาจจะเป็นเพราะผู้ขับรถเป็นคนที่ชอบขับรถแบบรุนแรงและเร็ว
เห็นหลุมบ่อหรืออุปสรรคบนพื้นถนนก็ไม่ยอมผ่อนความเร็วลง จนทำให้เกิดแรงกระแทกอย่างรุนแรง
เมื่อตกหลุมบ่อหรือเมื่อล้อหน้าเผชิญกับอุปสรรค
จนทำให้แกนพวงมาลัยคด หรือมีมิติที่ไม่ได้สัดส่วนกัน ระหว่างคันชักคันส่งด้านซ้ายและด้านขวา

หรืออาจจะเกิดขึ้นจากการที่เจ้าของรถนำรถไปตั้งศูนย์ล้อ
และไปเจอช่างประเภทที่ทำการตั้งศูนย์ล้อให้เที่ยงตรง โดยไม่สนใจว่าสิ่งที่ตามมาจะเป็นอย่างไร
ซึ่งผลทางด้านเทคนิคยานยนต์เป็นที่ยอมรับกันว่า ไม่มีผลเสียต่อการใช้งานแต่อย่างใด
นอกจากก่อให้เกิดความรู้สึกตะขิดตะขวงใจขึ้นมา เมื่อมองเห็นความเบี่ยงเบนของวงพวงมาลัยเท่านั้น

วิธีการแก้ไขที่ถูกต้องมากที่สุด คือนอกจากจะปรับตั้งศูนย์ล้อให้เที่ยงตรง
ซึ่งมักจะกระทำการปรับกันที่ระบบบังคับเลี้ยวด้านล่างเท่านั้น ก็ให้หันมาทำการปรับตั้งศูนย์ล้อ
ด้วยการปรับทั้งที่คันชักคันส่งด้านล่าง และปรับที่วงพวงมาลัยไปพร้อมๆ กัน

อันนอกจากจะทำให้ได้ศูนย์ล้อที่เที่ยงตรงแม่นยำแล้ว
ยังได้วงพวงมาลัยที่ชี้ตรงไปที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกาอีกด้วยครับ


เรื่องโดย พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ
ที่มา: //www.bangkokbiznews.com
ภาพจาก: //www.fotosearch.com.au


*** สารบัญรู้เรื่องรถ




 

Create Date : 19 มกราคม 2555
1 comments
Last Update : 19 มกราคม 2555 14:22:29 น.
Counter : 3615 Pageviews.

 

พึ่งสังเกตแฮะ ไม่เคยมอง^^ ขอบคุณความรู้ครับ

 

โดย: แวะมาเยือน IP: 118.172.166.27 19 มกราคม 2555 14:44:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.