Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 
16 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

ปัจจัยเกี่ยวกับการเป็นโรคกระดูกพรุนและวิธีป้องกัน



ท่านที่เป็นหนุ่มสาวคงยังไม่เดือดร้อนใจกับคำว่ากระดูกพรุน แต่บางท่านที่กำลังสงสัยว่า
ท่านอาจมีอาการโรคกระดูกพรุน ก็ให้ท่านผู้ฟังไปตรวจด้วยการเอกซเรย์
วัดด้วยคลื่นเสียง วัดความหนาแน่นของกระดูก หรือตรวจปัสสาวะ
ตรวจสารเคมีในเลือดด้วย ซึ่งหมอก็จะวินิจฉัยว่าท่านเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่

สำหรับปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน

1. ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวัน กินข้าวกลางวันก็ไม่ต้องใช้แรง
เดินไปไหนอยู่ในอาคารของสำนักงานอีก ไม่ได้ออกกำลังขาเลย
เมื่อร่างกายเห็นว่าคุณไม่ค่อยจะต้องใช้ก็เลยไม่สะสมไว้ให้

2. ออกจากบ้านแต่มืดกลับบ้านเอาตอนค่ำๆ อยู่แต่ในอาคารไม่มีโอกาสได้รับแสงแดด
ตอนเช้าๆหรือตอนเย็นเลยก็ขาดโอกาสที่จะรับวิตามินดีฟรีๆ ไปเสริมสร้างกระดูกอีก

3. สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจัด

4. ร่างกายขาดแคลเซียมหรือแมกนีเซียม

5. ชอบรับประทานเนื้อสัตว์มากไป ก็จะทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในเลือด
ร่างกายจึงต้องดึงแคลเซียมออกจากกระดูกไปใช้มากขึ้น

6. ทานอาหารรสเค็มจัด ไม่ค่อยทานอาหารที่มีแคลเซียม

7. ทายาบางชนิดเป็นประจำ เช่น พวกไทรอยด์ฮอร์โมน ยากันชักบางชนิด
ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม ยาขับปัสสาวะ หรือยาในกลุ่มกลูโคคอติคอยด์

8. มีใครในครอบครัวบางคนเป็นโรคกระดูกพรุน

9. ไม่ได้ออกกำลังกายในแบบที่ร่างกายไม่ได้ใช้แรงในการแบกรับน้ำหนักตัว
เช่น ยกน้ำหนัก วิ่ง หรือเดิน

10. ผอม เพราะคนผอมจะไม่มีไขมันที่สามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ เมื่อร่างกายต้องการอย่างคนอ้วน

11. เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคขาดวิตามินดี โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งบางชนิด


วิธีการป้องอาการกระดูกพรุน

ปกติถ้าเราทานแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัม ก็จะช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้
ผู้หญิงต้องการประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าถึงวัยหมดประจำเดือนก็จะต้องการ
ประมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อแคลเซียมเม็ดๆมา
กินกันทุกวัน เพราะมันแพง แล้วการกินจากอาหารที่หลากหลายก็จะได้ประโยชน์มาก
กว่า แคลเซียมมีู่มากในอาหารหลายชนิดให้เราเลือกกินนอกเหนือไปจากนมและน้ำซุป
ต้มกระดูก และยังมีอยู่มากในงา เต้าหู้ เนื้อสัตว์ต่างๆ ผัก เช่น ผักบุ้งจีน ยอดแค
ยอดกระถิน ใบกะเพราะขาวผักกระเฉด ใบยอ ใบชะพูล คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง เป็นต้น

นอกจากจะต้องได้รับแคลเซียมมากเพียงพอแล้ว ต้องออกกำลังกายเพื่อให้เกิดการ
สร้างเสริมกระดูกด้วย ถ้าทานแคลเซียมเฉยๆ ไม่ออกกำลังกายก็ไม่ได้นำไปใช้เลย
ก็จะไม่เกิดการสะสม ซึ่งถ้าสะสมไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะได้แคลเซียมเต็มที่
ดีกว่าจะมาสะสมเอาเมื่ออายุมากอย่างไรก็ตาม ก็ตวรต้องสะสมแคลเซียมไว้
ควรออกกำลังกายแบบมีน้ำหนักกดลงบนกระดูก เพื่อกระตุ้นให้แคลเซียมซึมกลับเข้า
กระดูกทำให้กระดูกหนาขึ้น ถึงจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ เช่น การเดิน
บริหารร่างกายด้วยมือเปล่าหรือยกน้ำหนัก การรำมวยจีน ขี่จักรยาน กระโดดเชือก
วิ่งเหยาะ เต้นรำ เต้นแอโรบิก

นอกจากนี้ ควรมีการจัดท่าการลุกนั่งที่ถูกต้องด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ครับ
1. ท่านั่ง นั่งหลังตรงพิงพนักเก้าอี้ นั่งเต็มเก้าอี้ และเท้าวางบนพื้นเต็มเท้า
2. ท่ายกของ ย่อตัวลง หลังตรง ลุกขึ้นด้วยแรงขา ยกของอุ้มชิดกับตัว
3. ท่าขับรถ เลื่อนที่นั่งใกล้พวงมาลัย เวลาเหยียบครัชเข่าจะสูงกว่าสะโพก และควรมีหมอนรองหลังให้แอ่นเล็กน้อย
4. ท่านั่งทำงาน นั่งหลังตรงมีหมอนรองรับ โต๊ะไม่ควรอยู่ต่ำเกินไปจนต้องก้มคอลงไป
5. ท่ายืน ไม่ควรยืนหลังงอ เวลายืนนานๆ ควรมีที่รองเท้า
เช่น เก้าอี้เตี้ยๆ สูงกว่าพื้นเล็กน้อย เพื่อยกเท้าวางสลับ เช่น ล้างจานหรือแปรงฟัน

โดย ผศ.ดนัย บวรเกียรติกุล




 

Create Date : 16 มกราคม 2552
1 comments
Last Update : 16 มกราคม 2552 6:56:55 น.
Counter : 635 Pageviews.

 

สาระดีๆ เลย นะค่ะ การที่เราไม่ได้รับแสงแดดนี้ มีเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้เนอะ แบบนี้ต้องออกไปรับแสงบ่อยๆ ดีกว่า ค่ะ

 

โดย: Anitapa 16 มกราคม 2552 7:34:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.