Group Blog All Blog
|
วิธีการฝึกทักษะการสังเคราะห์
วิธีการฝึกทักษะการสังเคราะห์
] การสังเคราะห์จากการจัดระเบียบความคิดใหม่ การสังเคราะห์จะเกี่ยวข้องกับการนำเอาความรู้ต่าง ๆ มาผสมผสานจัดระเบียบใหม่ เกิดเป็นโครงสร้างใหม่ที่แปลกจากเดิม แต่ชัดเจนขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น การอ่านหนังสือจำนวนมากหลายเล่มในเรื่องเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันแล้วสามารถคิดใหม่ทำใหม่หรือเขียนใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ซ้ำเดิมแต่มีความคิดรวบยอดหรือหลักการที่เกิดจากการผสมผสานสิ่งที่ได้รับรู้มาทั้งหมดหรือบางส่วน ] การสังเคราะห์จากมุมมองที่หลากหลาย การสังเคราะห์จะเกี่ยวข้องกับการมองเรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกต้อง กว้างขวาง หลายแง่หลายมุม และพลิกแพลงปรับปรุงกระบวนการเดิมให้แปลกไปจากเดิม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้น บางคนชอบอ่านชอบการท่องเที่ยวและรับสื่อมากมายหลากหลายประเภท เมื่อข้อมูลเต็มแน่นในสมองไปหมด จะมีสักวันที่อยากผสมผสานรวมสิ่งที่ได้รู้มาทั้งหมดสังเคราะห์เป็นหนึ่งในรูปแบบเฉพาะของเราเองกลายเป็นงานเขียนงานประพันธ์ภาพวาดหรือวรรณกรรมของตนเอง ] การสังเคราะห์ทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่คล้ายเดิม การสังเคราะห์เป็นกระบวนการที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ หลายกระแสมาผสมผสานเป็นเรื่องเดียวกัน การอ่านเรื่องเดียว มีหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจเพียงหนึ่งเดียว เมื่อได้อ่านหนังสือหลายเล่มแล้วนำความคิดของบุคคลต่าง ๆ มาเรียงร้อยถ้อยคำเกิดเป็นผลงานใหม่ของตัวเอง การทำรายงานของนักเรียน นิสิตนักศึกษาเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสังเคราะห์ ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเอามาปะติดปะต่อ แปะเข้าไป โดยไม่ได้เรียงร้อยถ้อยคำเป็นสำนวนภาษาเฉพาะของตนเอง แต่มีการอ้างอิงความรู้จากบุคคลแทรกเข้าไปด้วยเท่านั้น ] การสังเคราะห์จากผลการวิเคราะห์ การสังเคราะห์จะเกี่ยวข้องกับการนำความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากเดิม เมื่อรับความรู้ใหม่ ๆ เข้ามา อาจจะมาจากแหล่งเดียวหรือหลายแหล่ง และใช้หลักการวิเคราะห์จำแนกแยกแยะประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ แล้ว อาจรวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาเรียบเรียงเขียนใหม่ในความคิดของตนเอง ] การสังเคราะห์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ การสังเคราะห์ผลงานชิ้นใหม่จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งใหม่ที่จะสร้าง คัดเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะมาผสมผสานกันเป็นสิ่งใหม่ ตั้งชื่อสิ่งของที่สังเคราะห์ใหม่ รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องแล้วสร้างผลงานใหม่ที่ได้จากความรู้เดิมของตนเองหรือผู้อื่น เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ เช่น
• การใช้ผังก้างปลา หาสิ่งที่เป็นเหตุและผล ให้หัวปลาเป็นชื่อของปัญหา ก้างใหญ่เป็นสาเหตุใหญ่ ก้างเล็กที่แยกจากก้างใหญ่เป็นสาเหตุย่อยของสาเหตุใหญ่แต่ละด้าน การคิดหาสาเหตุให้ฝึกคิดว่า ทำไม ๆ แตกแยกออกไปเหมือนก้างปลา ปลายสุดคือต้นตอของสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการทำผังก้างปลา 1) กำหนดปัญหา 2) วาดหัวปลาหัวโต ๆ หันไปทางซ้าย 3) เขียนปัญหาที่จะแก้ ลงในช่องของหัวปลา 4) ลากเส้นขนานกับพื้น ก้างใหญ่ที่สุด 5) เขียนก้างซี่โครงปลา 4 ก้าง และเขียนสาเหตุใหญ่ของปัญหา 6) เขียนก้างเล็กที่แยกออกไป เป็นสาเหตุย่อยของปัญหา • การใช้ผังรากไม้ หรือผังต้นไม้ หาสาเหตุที่เกิดจากแต่ละด้าน เช่น กิ่งไม้ 4 กิ่ง สาเหตุที่เกิดปัญหา เช่น ปัญหามาจากคน เงิน วิธีการ อุปกรณ์ ผังนี้จะคิดวิเคราะห์หาความผิดพลาดของปัญหา คิดหาความน่าจะเป็นของแต่ละต้นตอสาเหตุ ทำให้ทราบลำดับ ความสำคัญของปัญหาได้ด้วย เช่น ปัญหา ทำไมหาเหตุผลไม่ได้ เป็นโคนต้นไม้ รากต้นไม้รากแก้วแตกแขนงไป เช่น ไม่เคยคิดมาก่อน ไม่เข้าใจในปัญหา ส่วนรากฝอยแตกแขนงจากรากแก้ว หาสาเหตุของปัญหา เช่น ไม่เคยคิดมาก่อนเพราะไม่เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียน ไม่เคยค้นคว้าเพิ่มเติมในห้องสมุด ไม่เคยค้นในอินเทอร์เนต • การใช้แผนภูมิ ทำไมและอย่างไร เอาปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วใช้ลูกศรโยงไปยังสาเหตุ เช่น ฝนตก แตกลูกศรไปยังสาเหตุว่าทำไมฝนตก ปลายหัวลูกศรเป็นสาเหตุและฝนตกอย่างไร หัวลูกศรคือลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร หรืออาจโยงไปยังผลที่เกิดตามมาตามลำดับ จะมองเห็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น • การใช้ผังความคิด (Mind Mapping) การใช้ลูกศรทางเดียว แสดงถึงส่งผลต่อ ถ้าลูกศร 2 ทาง แสดงถึงต้นตอสาเหตุที่โยงใยกลับไปกลับมา จากเหตุเป็นผลแล้วย้อนกลับมาเป็นเหตุได้อีกครั้ง เป็นการ ย้อนกลับไปกลับมา ตรงกับคำว่า ก็ต่อเมื่อ ลูกศรที่เขียนจึงมีความหมาย ผังความคิดจะแสดงภาพรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากที่สุดและมองเห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและสิ่งที่อาจย้อนกลับมาได้ • การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบที่ตามมาเพราะความล้มเหลวนั้น (FMEA Failure Mode and Effects Analysis) • การวิเคราะห์อดีต ใช้ความคิดขั้นพื้นฐาน 2 อย่าง คือคิดเชื่อมโยงและคิดเปรียบเทียบ เพื่อนำมาสร้างทางเลือก สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ขั้นตอนการฝึก • เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ให้สมาชิกในกลุ่มฟัง ไม่ให้แสดงความคิดเห็นประกอบ • วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาจากประวัติศาสตร์ที่เล่า อาจใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การใช้ผังก้างปลา การใช้ผังรากไม้ การใช้ผังความคิด • นำประวัติศาสตร์ตอนนี้เปรียบเทียบกับปัญหาในปัจจุบันที่กำลังจะแก้ไข หาความเหมือน ความแตกต่าง • การใช้เครื่องมือทางสถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีหลายระดับ เช่น ในระดับพื้นฐาน ใช้ค่าเฉลี่ยวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ค่า mean mode median แล้วแสดงด้วยกราฟวงกลม กราฟแท่ง การใช้สถิติกับตัวแปรตามตัวเดียวหาค่าการทำนายจากตัวแปรต้นหลายตัว เช่น multiple regression การดูแนวโน้มหรือการทำนายใช้ Trend Analysis ถ้าตัวแปรต้นหลายตัวตัวแปรตามหลายตัวใช้ multivariate analysis อาจเป็น canonical เป็นต้น สถิติมักใช้เพื่อหาค่าความแตกต่างหรือหาค่าความสัมพันธ์ของข้อมูล ให้เลือกใช้ให้เหมาะกับจุดประสงค์ การวิเคราะห์แบ่งได้ 3 ประเภท 2. การวิเคราะห์ความสำคัญ ค้นหาเนื้อหา มูลเหตุ ต้นกำเนิด สาเหตุ ผลลัพธ์ และความสำคัญของเรื่องราวต่าง ๆ ว่ามีอะไรสำคัญที่สุด ส่วนใดเกิดจากการอนุมาน หรือส่วนใดเป็นสมมติฐาน ส่วนใดเป็นการสรุปผลหรืออ้างอิง ส่วนใดเป็นการสนับสนุน แต่ละส่วนมีวัตถุประสงค์สำคัญอย่างไร 3. การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ให้ค้นหาความสำคัญย่อย ๆ ของแต่ละส่วน แต่ละส่วนนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในรูปแบบใด ใช้สมมติฐานใด แต่ละตอนสอดคล้องหรือขัดแย้งกัน ใช้เหตุผลอะไรในการวิเคราะห์ เหตุและผลที่กล่าวอ้างนั้นสัมพันธ์กันหรือไม่ 4. การวิเคราะห์หาหลักการ เกิดจากการจับเค้าเงื่อนหรือหลักการได้ ว่าใช้เทคนิค หลักวิชาใดในการเรียบเรียง มีโครงสร้างอย่างไร การวิเคราะห์หาหลักการได้ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ความสำคัญ และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์มาก่อน จะทำให้ได้ข้อเท็จจริงทั้งหมด วิธีการฝึกทักษะการวิเคราะห์
วิธีการฝึกทักษะการวิเคราะห์ [ การฝึกคิดวิเคราะห์ให้นึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบของสิ่งที่เล็กที่สุดกับสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ในกรณีที่สิ่งนั้นมีหลายขนาด ความแตกต่างอยู่ที่ขนาดใหญ่หรือเล็ก แต่ในส่วนร่วมที่ทุกขนาดมีคือสิ่งที่จะมากำหนดเป็นนิยาม เช่น เด็กกับผู้ใหญ่ ต่างมีความเป็นคนเหมือนกันถึงแม้เด็กจะตัวเล็กและผู้ใหญ่ตัวโตแต่มีอวัยวะครบ 32 มีประสาทสัมผัสความรู้สึก อารมณ์เหมือนกัน [ การฝึกคิดวิเคราะห์ให้นึกถึงรูปแบบในการเรียงลำดับ ทุกสิ่งที่เป็นรูปธรรมสามารถนำมาจัดเรียงลำดับได้ เช่น ขนาดเรียงลำดับเป็นใหญ่ กลาง เล็ก จำนวนเรียงลำดับเป็นมาก ปานกลาง น้อย ถ้ามองเห็นหลักในการจัดแบ่งกลุ่มเพื่อเรียงลำดับจะทำให้มองเห็นภาพในการวิเคราะห์รูปแบบวิธีการจัดเรียงลำดับได้ [ การฝึกคิดวิเคราะห์ให้นึกถึงการวาดภาพในใจ ข้อมูลที่มีจำนวนมาก ๆ จะทำให้ลงสรุปข้อมูลได้ง่ายขึ้นถ้ามองเห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด จัดแบ่งกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันภายในทำให้มองเห็นวิธีวิเคราะห์ได้กระจ่างชัดขึ้น และทำให้ข้อมูลที่มีมากนั้นดูง่ายขึ้น [ การฝึกคิดวิเคราะห์ใช้หลักการวิเคราะห์จุดหมายปลายทางกับเส้นทางเดิน ใช้คำถามว่า ถ้าทำเช่นนี้จะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้หรือไม่ ต้องกำหนดเส้นทางเดินหรืองานที่ต้องทำเป็นงานย่อย ๆ ที่ทำได้จริงภายในเวลาที่กำหนด การวิเคราะห์จะตรวจสอบสิ่งที่ได้กระทำลงไปกับเป้าหมาย เมื่อเป้าหมายชัดเจน เส้นทางเดินชัดเจน การวิเคราะห์งานที่จะทำกับเป้าหมายจะง่ายยิ่งขึ้น [ การฝึกคิดวิเคราะห์ให้แยกข้อมูลหรือภาพรวมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วใช้เกณฑ์จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ เมื่อมีข้อมูลจำนวนมากคงต้องแบ่งประเภทของกลุ่มด้วยการพิจารณาความสัมพันธ์ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม การวิเคราะห์จะมองเห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มและเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม [ การฝึกคิดวิเคราะห์ให้ดูข้อมูลทั้งหมด คิดหาเกณฑ์ในการจำแนก การกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจน แยกแยะข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละองค์ประกอบจะทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้เข้าหมู่พวกได้ [ การฝึกคิดวิเคราะห์จะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการกระจายเรื่องราวหรือข้อความ ข้อมูลทั้งหมดจะแตกย่อยออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้มองเห็นรายละเอียดของข้อมูลจะได้สะดวกต่อการมองภาพรวมอีกครั้ง เช่น การวิเคราะห์หาส่วนประกอบและสัดส่วนของสาร การจัดตู้เสื้อผ้าให้แยกเป็นเสื้อ กระโปรง กางเกง แล้วแยกเป็นสีต่าง ๆ ต่อจากนั้นแยกกองตามสีและประเภท จะมองเห็นว่าส่วนใหญ่มีเสื้อผ้าประเภทใดและสีใดมากที่สุด [ การฝึกคิดวิเคราะห์จะต้องรู้ความสำคัญ ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ การแยกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั้งหมดว่าเกิดจากอะไร หรือประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อะไรบ้าง มองหาว่าส่วนใดสำคัญที่สุดและแต่ละส่วนย่อยนั้นสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันด้วยหลักการหรือทฤษฎีใด ถ้าการมองมีหลักในการคิดไม่ใช่มองเฉย ๆ ความคิดจะผุดขึ้นมาเองในใจ หัดเริ่มมองทีละส่วน พินิจพิเคราะห์ดูส่วนที่สำคัญและสิ่งที่มาเกี่ยวก้อยกัน ต่อไปจะคิดได้เองโดยอัตโนมัติ [ การฝึกคิดวิเคราะห์จะเริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลจากวิธีการต่าง ๆ การวิเคราะห์ด้วยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาให้มากที่สุดแล้วเริ่มจำแนกข้อมูลว่าแตกต่างกันตรงไหนอย่างไร ต่อไปจับใจความสำคัญด้วยการใช้คำถาม (Wh word) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและอาจมีบางมุมที่เราคาดไม่ถึง แล้วสรุปด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลเอาส่วนที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงกัน ประเมินความน่าเชื่อถือว่าเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ เอามารวมกันได้ถูกต้องหรือไม่ หาเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ผลที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงหรือไม่ [ การฝึกการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์จะต้องอ่านเพื่อให้ได้คิด การอ่านจะช่วยเพิ่มพูนสติปัญญา แต่ต้องรู้จักใช้สติปัญญาและความรอบรู้ต่อสิ่งที่อ่าน ถ้าสามารถฝึกแสดงความคิดเห็นด้วยตนเอง ใช้หลักการวิเคราะห์ทั้งหมดที่เรียนรู้มาต่อเติมเพิ่มขยายสิ่งที่มีอยู่น้อยนิดให้กว้างขวางมากมายยิ่งขึ้น และสืบข้อเท็จจริงในสิ่งที่อ่านและรับรู้ด้วยวิจารณญาณ การฝึกการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์จะต้องอ่านเพื่อให้ได้คิด
การฝึกการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์จะต้องอ่านเพื่อให้ได้คิด การอ่านจะช่วยเพิ่มพูนสติปัญญา แต่ต้องรู้จักใช้สติปัญญาและความรอบรู้ต่อสิ่งที่อ่าน ถ้าสามารถฝึกแสดงความคิดเห็นด้วยตนเอง ใช้หลักการวิเคราะห์ทั้งหมดที่เรียนรู้มาต่อเติมเพิ่มขยายสิ่งที่มีอยู่น้อยนิดให้กว้างขวางมากมายยิ่งขึ้น และสืบข้อเท็จจริงในสิ่งที่อ่านและรับรู้ด้วยวิจารณญาณ การวิเคราะห์
การวิเคราะห์ประกอบด้วยทักษะการคิดขั้นพื้นฐานหลายอย่าง
ได้แก่ การฝึกการจำแนก การตั้งคำถามหาสาเหตุ การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเชื่อมโยง |
สมาชิกหมายเลข 4665919
![]() ![]() ![]() ![]() ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
Friends Blog Link |