All Blog
661107 ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องด้วยหลักวัดผล
661107 ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องด้วยหลักวัดผล by DrPK
การวัดผลที่นิยมเพื่อเชื่อว่า ข้อมูลที่ได้มาถูกต้องแม่นยำ
วัดซ้ำ ๆ หลายครั้ง ได้ค่าเดิม หรือใกล้เคียงเดิมมาก ถ้าทำได้ เรียกว่า มีค่าความคงที่ consistency
ปัญหาอยู่ที่ ถ้าใช้เครื่องวัดที่ไม่ดี ถึงค่าจะซ้ำ ๆ ก็ยังเชื่อไม่ได้
เช่น ชั่งน้ำหนักเครื่องเดิมที่แย่ ๆ ชั่งทีไรค่าคงที่ทุกครั้ง ยังเชื่อใจไม่ได้
ลองใหม่ ใช้เครื่องชั่งหลาย ๆ เครื่องล่ะ ถ้าค่าซ้ำเดิม อย่างนี้เริ่มมั่นใจแล้วล่ะ ว่าน่าใช่นะ
เครื่องชั่งที่มีคุณภาพดีเพียงเครื่องเดียวที่เชื่อมั่นได้ เรียกว่า มีค่าความเชื่อมั่น reliability
ถ้าไม่มั่นใจลองใช้หลาย ๆ เครื่องก่อน  แล้วค่อยเลือกมา 1 เครื่อง
ข้อมูลที่จะเชื่อมั่นได้ ต้องถูกต้องและมีค่าคงที่ นักวัดผลจึงจะนำไปใช้
ข้อสอบที่วัดความรู้ความสามารถ มีค่าคงที่และเชื่อมั่นได้ไหม คงต้องเชื่อใจว่าครูมีความรู้ในระดับที่น่าไว้ใจก็แล้วกัน ไม่เช่นนั้นวุ่นวายตายเลย
แม้แต่ข้อสอบมาตรฐานที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญหลายต่อหลายคน ยังยุ่งยากในทางปฏิบัติ
การแก้ไขคือ วัดซ้ำ ๆ หลายฉบับ ก่อนตัดสินผล
อย่าใช้แบบวัดเพียงฉบับเดียว แลวลงสรุปข้อมูลนะ อันตราย เพราะแบบวัดที่ใช้อาจแย่ ๆ ไม่ได้เรื่อง จะยุ่งยากโดนฟ้องร้องตามมา
 



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2566 8:21:25 น.
Counter : 387 Pageviews.

0 comment
661106 ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องด้วยวิธีสามเส้า

661106 ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องด้วยวิธีสามเส้า #DrPK
Verify correct information using triangulation method
            อ่านประวัติศาสตร์ ด้วยใจเด็กวิทย์ จะรู้สึกงงงวยสับสน เอ๊ะ เรื่องเดียวกันแท้ ทำไมช่างแตกต่างกันมากมาย แล้วจะตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องได้อย่างไรล่ะ
ตอนเรียน ป.เอก วิชาการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้คำศัพท์มา 1 คำ คือ triangulation method วิธีสามเส้า ใช้ 3 วิธี ดูว่าข้อมูลตรงกันไหม น่าเชื่อถือหรือไม่ ไม่เอาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ หรืออ้างอิงตาม ๆ กันมา
นึกถึงปัจจุบัน ข้อมูลตามสื่อ มีอคติมากมาย เชื่อกันตามแหล่งที่ฟังมา แล้วขยายต่อกันไป อาจไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เลยมีช่องที่เตือนว่า ชัวร์ก่อนแชร์ ขืนแชร์ผิด ๆ อาจต้องโทษ ข้อหาเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ
ช่วงที่ละครอิงประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาฮิตติดตลาด บางคนอาจเปิด youtube ตามประสาคนใฝ่รู้ แล้วอาจงงและงง เพราะทำไมบางคนโดนก่นด่าสาดเสียเทเสีย หาชิ้นดีไม่เจอ ขณะที่บางแหล่งมีแต่ชื่นชมยินดี
นี่แหละ จะช่วยให้เกิดการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ว่า ควรเชื่อหรือไม่เชื่อ และเกิดสติคิดพินิจพิเคราะห์ ทางพุทธสอนให้ใช้สติและปัญญา โยนิโสมนสิการ และกาลามสูตร
การสอนให้รู้จักคิด จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่รู้ ๆ และจำให้ได้เท่านั้น
ฝรั่งโดย Benjamin Bloom คนที่เรียนการศึกษาคงคุ้นตา หลักการเรียนรู้ เริ่มด้วย การรู้ จำ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า
เขียนซะยุ่ง ๆ จับต้นชนปลายได้ไหม
ประเด็นหลัก คือ อ่านมาก รู้มาก จากหลายแหล่ง ต้องคิดสักหน่อยว่า สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังนั้น น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เกิดจากการทุ่มทุนเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้ามให้ด่าวดิ้นสิ้นใจ หรือเชียร์พวกที่ยอมจ่ายอักโขเพื่อให้ดูดีเด่นวิเศษเลิศเลอ
สิ่งที่ฟังและรับรู้ ต้องตกตะกอนเป็นความคิดของตนเองให้ได้ซะก่อน จะเที่ยวโพนทะนานะ
 



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2566 14:32:13 น.
Counter : 353 Pageviews.

0 comment
พันโทหม่อมเจ้าวัฒนานุวัตน์ วัฒนวงศ์

630610 พันโท หม่อมเจ้าวัฒนานุวัฒน์ วัฒนวงศ์



          พันโท หม่อมเจ้าวัฒนานุวัฒน์ วัฒนวงศ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์กับหม่อมนุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา และเป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ ประสูติ 7 มีนาคม พ.ศ. 2464 สิ้นชีพิตักษัย 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
หม่อมเจ้าวัฒนานุวัฒน์ วัฒนวงศ์ ทรงมีพระเชษฐาร่วมพระมารดา 1 พระองค์ คือ
หม่อมเจ้าตรีอนุวัฒน์ วัฒนวงศ์ (พ.ศ. 2457 - 2491) และมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีต่างมารดา 5 พระองค์  หม่อมเจ้าสุวัฒนวิสัย วัฒนวงศ์ (พ.ศ. 2439 - 2447) หม่อมเจ้าเกรียงไกรมรุพล วัฒนวงศ์ (พ.ศ. 2441 - 2464) หม่อมเจ้าสุวคนธ์ประทุม วัฒนวงศ์ (พ.ศ. 2444 - 2448)
หม่อมเจ้าจงกลนี วัฒนวงศ์ (พ.ศ. 2452 - 2508) หม่อมเจ้าหญิงรัตนกมล วัฒนวงศ์ (พ.ศ. 2461 - 2550)
พ.ศ. 2474 ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการเป็นทหาร มียศสูงสุดที่ พันโท
พระชันษา 83 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2547
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2543 - Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2539 - Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2545 - Order of Chula Chom Klao - 2nd Class upper (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายหน้า (ท.จ.ว.)
Cr. วิกิพีเดีย



Create Date : 10 มิถุนายน 2566
Last Update : 10 มิถุนายน 2566 7:20:34 น.
Counter : 452 Pageviews.

0 comment
หม่อมเจ้าหญิงจันทรนิภาเทวกุล
630614 หม่อมเจ้าหญิงจันทรนิภา เทวกุล
            นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะรู้จักหม่อมเจ้าหญิงจันทรนิภา
เทวกุล ในฐานะอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2465 - 2472 และรู้สึกคุ้นเคย ด้วยมีพระรูปที่ตึกจันทรนิภา (อ่าน จัน-ทอน-นิ-ภา)
            เสด็จในกรม กรมขุนมรุพงษ์สิริพัฒน์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้บริจาคที่ดินพร้อมตำหนัก พ.ศ. 2456 ให้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีแห่งแรกของประเทศไทย ก่อนที่จะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2476
            ช่วงนั้น ผู้หญิงไม่มีโอกาสได้เรียนสูง ๆ ผู้ที่จะเป็นอาจารย์ใหญ่ย่อมมีทั้งฝีมือความสามารถ และเป็นที่เคารพยกย่องในสังคมจึงจะได้รับโอกาสนี้
            หม่อมเจ้าหญิงจันทรนิภา เทวกุล (พ.ศ. 2427 - พ.ศ. 2488) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งเป็นพระเชษฐาในพระราชินี รัชกาลที่ 5 ทั้ง 3 พระองค์ จึงเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเลือกหม่อมเจ้าหญิงจันทรนิภา เทวกุลให้เป็นอาจารย์ผู้ปกครองโรงเรียนผดุงครรภ์พยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ด้วยเล็งเห็นว่ามีคุณสมบัติพร้อมทุกประการ


 



Create Date : 10 มิถุนายน 2566
Last Update : 10 มิถุนายน 2566 7:19:50 น.
Counter : 361 Pageviews.

0 comment
บุคคลสำคัญของเบญจมราชาลัย
630524 กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์


630524 กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ โดย ดร.พรรณี เกษกมล
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ พระราชทานที่ดินพร้อมวังเพื่อก่อตั้งโรงเรียนเบญจมราชาลัย สถาปนาวันที่ 9 มิถุนายน 2456
พระนามเดิม พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 63 เป็นต้นราชสกุล วัฒนวงศ์ และเป็นโอรสองค์ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาบัว ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยานคร (น้อย) เมืองนครศรีธรรมราช ในสกุล ณ นคร ประสูติเมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 ในพระบรมมหาราชวัง และสิ้นพระชนม์วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2466
เมื่อเจริญพระชันษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ทรงศึกษาวิชาการอย่างธรรมเนียมราชสกุล อาทิเช่น ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีอักขรสมัย คือ หนังสือไทย และภาษาอังกฤษ ขณะนั้นเป็นเวลาที่บ้านเมืองกำลังจะเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่พอดี
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ ได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายพลตรีราชองครักษ์ เป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส และทรงดูแลสถานอัครราชฑูตประจำอิตาลี สเปน โปรตุเกส เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มณฑลปราจีนบุรีถึงสมัยสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเลื่อนกรมขึ้นเป็นกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์
พระองค์ทรงเห็นการณ์ไกล โดยเฉพาะในด้านการศึกษา สำหรับกุลสตรี จึงได้ทรงอุทิศวังเดิมข้างวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งมีสิ่งก่อสร้าง คือ ตำหนัก 2 หลัง และโรงเรือนที่ปลูกสร้างไว้ในวังนั้นให้เป็นโรงเรียนสำหรับสตรี เพื่อทรงอุทิศส่วนกุศลสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุที่ทรงยกวังประทานกระทรวงธรรมการนี้ ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ทรงเห็นประโยชน์ของบ้านเมือง ในเรื่องการศึกษาของกุลบุตร ธิดา ซึ่งพระองค์ได้ทรงประสบปัญหาเรื่องนี้ในตำแหน่งข้าหลวงพิเศษในหน้าที่เทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล และทรงระลึกถึงคุณูปการในรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีอยู่ต่อพระองค์ จึงทรงอุทิศวังฉลองพระเดชพระคุณในรัชกาลที่ 5 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า เบญจมราชาลัย
หม่อมเจ้าหญิงจงกลณี วัฒนวงศ์ ได้ทรงเล่าถึงความปรารถนาของพระบิดา ในการบริจาคที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ตั้งเป็นโรงเรียนเบญจมราชาลัย เนื่องด้วยที่ดินแปลงนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน
เมื่อจะสร้างวังใหม่ที่ตำบลมักกะสัน รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาพระราชทานเงิน โดยให้ผ่อนใช้ และเสียผลประโยชน์ในอัตราถูก การสร้างวังใหม่ได้สำเร็จลง ประจวบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต ในการบำเพ็ญกุศลถวายสมเด็จพระปิยมหาราช จึงได้ทรงสละที่ดินแปลงนี้ให้ตั้งโรงเรียนเบญจมราชาลัย เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่
พระองค์ทรงตั้งพระทัยให้เป็นโรงเรียนสตรีโดยเฉพาะ เพราะสตรีมีหน้าที่จะต้องอบรมบุตร ธิดา
ถ้ามารดาเป็นผู้ที่มีการศึกษา ก็จะได้อบรมเด็กให้เป็นพลเมืองดี ชาติบ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองได้ ก็ต้อง
อาศัยพลเมืองดี
การบริจาควังเดิมให้เป็นโรงเรียนนั้น เพียงแต่ให้อาศัยสถานที่เท่านั้น ส่วนสิทธิในการเป็นเจ้าของยังคงตกแก่ทายาท เพื่อว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนโรงเรียนนี้ไปใช้อย่างอื่น ทายาทจะได้ใช้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของคัดค้าน เพื่อให้เป็นไปตามพระประสงค์ของผู้ทรงบริจาคได้
ต่อมาเห็นว่า โรงเรียนเบญจมราชาลัยได้เจริญขึ้น จนเป็นที่แน่ใจว่าคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ทายาทจึงได้จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้ให้เป็นของกระทรวงศึกษาธิการ
พระองค์ยังทรงรับสั่งต่อหม่อมเจ้าหญิงจงกลนีว่า ต่อไปถึงแม้ลูกจะยากจน ก็ควรจะภูมิใจที่พ่อได้เสียสละ เพื่อหวังว่าโรงเรียนนี้จะได้เป็นที่ศึกษาอบรมแก่พลเมืองให้เป็นคนดี เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทะนุบำรุงประเทศชาติ และเป็นตัวอย่างแก่ลูกทุกคนจะพึงปฏิบัติตาม คือการสร้างตนเองโดยไม่หวังพึ่งทรัพย์สมบัติของพ่อแม่แต่ฝ่ายเดียว และให้รู้จักเสียสละเพื่อความกตัญญูรู้พระคุณของผู้อุปการะ และเสียสละเพื่อส่วนรวม อันจะเป็นความรุ่งเรืองของประเทศชาติ
เหตุที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์เจาะจง จะให้โรงเรียนแห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาเฉพาะสตรี ด้วยทรงรอบรู้และคิดการณ์ไกลว่า อันบุรุษจะเป็นคนดีแต่ฝ่ายเดียวหาได้ไม่ จำเป็นต้องอาศัยความดีของสตรีด้วย จึงจะทำให้บ้านเมืองสำเร็จได้โดยบริบูรณ์ เพราะถ้าเท้าหน้าเดินไปโดยตรง แต่เท้าหลังไขว้เขวปัดไปมาอยู่เนืองนิตย์ เท้าหน้าจะดำเนินไปโดยสะดวกหาได้ไม่
ความคิดที่จะเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี เพราะจะมีคุณประโยชน์มากกว่า ถ้าเป็นโรงเรียนสตรีธรรมดา เรียน 40 คน ก็จะมีคนที่มีความรู้เพิ่มเพียง 40 คน เท่านั้น แต่ถ้าครู 1 คน จะสอนลูกศิษย์ได้ 40 คน จะทำให้คนที่มีความรู้เพิ่มอีก 40 เท่า จะทำให้การศึกษาแพร่หลายเร็วขึ้นมาก
วันเปิดสอนวันแรก คือวันที่ 10 มิถุนายน 2456 มีนักเรียนหัวเมือง 24 คน เป็นนักเรียนประจำ 5 คน ต้องเสียค่าเรียนและค่าอาหารเดือนละ 15 บาท และเป็นนักเรียนไป กลับ 80 คน
สถานที่ของโรงเรียนตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดสุทัศนเทพวราราม มีพื้นที่ 2 ไร่ 2 งาน 35 ตารางวา บริเวณโดยรอบเป็นวังของเจ้านาย อาคารเรียนในช่วงแรกเป็นพระตำหนัก 2 หลัง และอาคารเรือนไม้ 5 หลัง ด้านหน้าเป็นตึกแถวมีประตูเล็กเป็นทางออกแคบ ๆ ช่วง พ.ศ. 2505
คุณหญิงประภาพรรณ วิจิตรวาทการ นายกเบญจมราชาลัยสมาคม ได้ระดมทุนเพื่อตั้งเป็นบุญนิธิใช้ดอกผล แทนค่าเช่าตึกถวายวัดมกุฎกษัตริยาราม ซึ่งที่จริงที่ดินผืนนี้เป็นของหม่อมเจ้าหญิงจงกลนี วัฒนวงศ์ ถวายเป็นศาสนสมบัติไว้แก่วัดมกุฎกษัตริยาราม
จากพระปณิธานของพระองค์ท่าน ได้ก่อเกิดคุณประโยชน์นานัปการต่อแผ่นดินในภายหลัง ด้วยศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ สามารถดำรงตนเป็นแม่ที่ดี เป็นผู้นำสตรีในยุคต่อมา สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี
เกียรติยศที่ปรากฏสืบต่อมา คือ ศิษย์ทั้งหลายสามารถทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติหลายท่านได้เป็นคุณหญิง ท่านผู้หญิง ทำให้โรงเรียนได้ชื่อว่า เป็นโรงเรียนที่มีศิษย์เก่าเป็นคุณหญิง ท่านผู้หญิงมากที่สุดในประเทศไทย



Create Date : 10 มิถุนายน 2566
Last Update : 10 มิถุนายน 2566 7:18:26 น.
Counter : 618 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments