Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 มกราคม 2557
 
All Blogs
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม

ภิกษุ ท.!
ที่เรากล่าว่า ..
"กาม นิทานสัมภวะแห่งกาม เวมัตตตาแห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง" นั้น

เรากล่าวหมายถึงกามไหนกันเล่า ?

ภิกษุ ท.!
กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ..
.. รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ....
.. เสียงทั้งหลายอันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ....
.. กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ....
.. รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา....
.. โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำ หนัด มีอยู่,

ภิกษุ ท.!
อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่า กามคุณ.

(คาถาจำกัดความตอนนี้)
ความกำหนัดไปตามอำนาจความติตรึก (สงฺกปฺปราค)นั่นแหละคือกามของคนเรา; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่; ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั่นแหละคือกามของคนเรา; อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น;

ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

ภิกษุ ท.!
นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.

ภิกษุ ท.!
เวมัตตา (ประมาณ ต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
เวมัตตตาแห่งกาม คือ ..
ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ;

ภิกษุ ท.!
นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.

ภิกษุ ท.!
วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้น ๆ ให้เกิดขึ้น ๑ เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี;

ภิกษุ ท.!
นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุ ท.!
นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ.
อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม; ปฏิปทานั้นได้แก่ ..
1.สัมมาทิฏฐิ
2.สัมมาสังกัปปะ
3.สัมมาวาจา
4.สัมมากัมมันตะ
5.สัมมาอาชีวะ
6.สัมมาวายามะ
7.สัมมาสติ
8.สัมมาสมาธิ
(มรรคมีองค์ 8)

ภิกษุ ท.!
ในกาลใดแล อริยสาวกย่อม ..
.. รู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้,
.. รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้,
.. รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้,
.. รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้,
.. รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้,
.. รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้;

ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.
.
.
.
ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.


๑ ข้อความนี้ใช้ได้ทั้งภาษาคนและภาษาธรรม :
ภาษาคนก็คือเกิดใหม่หลังจากตายแล้ว ดังที่ทราบกันอยู่;
ถ้าเป็นภาษาธรรมก็คือ อัตตภาพปัจจุบันของเขานั้นเกิดเปลี่ยนเป็นบุญหรือบาป ตามสมควรแก่อุปาทานที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้น ๆ โดยที่ยังไม่ต้องตาย; ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ศึกษาจะถือเอาความหมายไหน.




 

Create Date : 29 มกราคม 2557
0 comments
Last Update : 29 มกราคม 2557 5:29:35 น.
Counter : 1065 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.