Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
“ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศอังกฤษ' ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา

มิได้อยู่ที่การเลือกตั้ง

     มิได้อยู่ที่พรรคการเมือง

     และมิได้อยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา

     แต่อยู่ที่น้ำใจของคนอังกฤษในการรู้แพ้รู้ชนะ

     อยู่ที่การหวงแหนและรักษาสิทธิ์ต่าง ๆ ของตน

     ขณะเดียวกันก็ช่วยเป็นกำลังรักษาสิทธิ์ต่าง ๆ ของผู้อื่นให้เสมอกัน

และเมื่อได้กำหนดสิ่งใดลงไปเป็นระเบียบแบบแผนแล้ว  ก็จะถือตามระเบียบแบบแผนนั้นโดยเคร่งครัด   ไม่มีใครออกนอกระเบียบหรือพยายามเลี่ยงบาลีด้วยประการต่าง ๆ  

     นอกจากนั้นความเป็นประชาธิปไตยของอังกฤษยังขึ้นอยู่กับความพอใจของคนอังกฤษทุกคนในข้อที่ว่าระบอบการปกครองของเขานั้น    เป็นระบอบที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับคนอังกฤษแล้ว   ถึงแม้ว่าจะมีบางคนที่ไม่มีความเห็นเช่นนี้   คนเหล่านั้นก็มีจำนวนน้อยจนไม่ต้องนำพา 

เมื่อประชาชนทั้งประเทศพอใจในระบอบการปกครองของตนเช่นนี้แล้ว   การปกครองระบอบแข่งขันเล่นการเมืองของอังกฤษก็คงจะดำรงอยู่ต่อไปอีกชั่วกาลนาน   สังคมอังกฤษก็ยังคงเป็นสังคมอังกฤษต่อไป   ที่จะให้เปลี่ยนไปเป็นสังคมโซเชียลลิสต์หรือสังคมอื่น ๆ นั้นเห็นจะยาก”

(จากหนังสือ “โลกส่วนตัวของข้าพเจ้า”)



แล้วประชาธิปไตยแบบไทย......  เป็นอย่างไรครับ ?

     ข้าพเจ้ายังหาคำตอบไม่ได้...............

     คนไทยเห่อสิทธิเสรีภาพส่วนตัว แต่ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของคนอื่น  โดยเฉพสาะกับคนที่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกับตน

     แค่เชียร์ฟุตบอลคนละทีม  ก็ตีกันเสียแล้ว

     พอเชียร์การเมืองต่างฝ่ายกัน   ก็เลยมองฝ่ายตรงข้ามแบบปฏิปักษ์  ทั้งๆ ที่ทุกคนเป็นพลเมืองไทย  มีผลประโยชน์องค์รวมร่วมกัน

     ถ้าทะเลาะเบาะแว้ง  ตีกัน   ชาติบ้านเมืองเสียหายก็เสียหายด้วยกันทั้งหมด

ส่วนที่ว่าเห่อสิทธิเสรีภาพนั้น   ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช  ท่านเคยเขียนเป็นกลอนไว้ว่า

๐ อันการใช้เสรีมีจังหวะ

             ขืนใช้ดะเพรื่อนักมักสะดุด

             คนทุกคนพลาดได้ใช่ปาปมุต

             เพื่อความยุติธรรมจำระมัด

ระวังการพูดจาอย่าปล่อยหมด

             ควรออมอดอย่าให้เด่นเห็นถนัด

             เตือนเบาเบาไม่ต้องขู่ก็รู้ชัด

             ไม่ต้องขัดใจเขม่นเป็นอมิตร์

             ทำอย่างนี้แม้ประสบได้พบพักตร์

             ก็ยังทักคบกันได้ไม่หมางจิต

             การใช้คารมแรงเที่ยวแผลงฤทธิ์

             คนใช้สิทธิ์เปื่อยไปไม่ดีนัก

             เมื่อมีสิทธิ์สงวนสิทธิ์คิดให้ถูก

             จำต้องปลูกฝังสิทธิ์ไม่ผิดหลัก

             ต้องรับชอบรับผิดคิดพิทักษ์

             ต้องผ่อนหนักผ่อนเบาเร้าให้คิด

             คนมีใจจึงสำเหนียกเรียกมนุษย์

            ไม่มีหยุดอยู่ได้การใช้จิต

            เพียงแต่แนะให้เห็นเป็นนิมิต

            ก็จะคิดออกได้ไม่ยากนัก

ผมไม่กลัวหรอกเรื่องตะรางคุก

            อาจจะสุขกว่าข้างนอกบอกประจักษ์

            แต่คนเราเคยเป็นมิตรสนิทรัก

            จะโหมหักกันไม่ลงบอกตรงเอย ๐  

     (ตอบปัญหาประจำวัน  24  มีนาคม 2498)



รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับมีบทบัญญัติรักษาสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

    แต่ก็มีขอบเขตตามที่กำหนดไว้

    นอกจากนั้นแล้ว การใช้สิทธิ์นั้น ๆ  ก็มีขอบเขตที่มิได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย   นั่นคือต้องเป็นการใช้สิทธิ์ที่ถูกต้องทำนองคลองธรรม  ถูกศีลธรรม  และควรจะมีความพอดีคือแม้จะมีสิทธิ์  แต่ก็ควรรู้จักสงวนสิทธิ์ไม่ใช้จนพร่ำเพรื่อ หรือก่อปัญหาให้สังคมจนเกินเลย

    อีกประเด็นหนึ่งที่นมอ้างกันมากคือเรื่องคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง  

การเลือกตั้งนั้นให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินในการเลือกตั้ง แต่ตามความจริงคะแนนเสียงเวลาเลือกตั้งก็มิใช่ประชาชนทั้งหมดประเทศ  แต่เป็นการตัดสินโดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง   ซึ่งหมายความถึงคนที่มีคุณสมบัติครบตามที่กฏหมายเลือกตั้งได้กำหนดไว้เท่านั้นเอง และคนเหล่านี้ไม่ใช่คนทั้งประเทศ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นเอง ก็มิใช่ว่าจะมาใช้สิทธิ์นั้นร้อยทั้งร้อยเสมอไป  จะมาใช้สิทธิ์นั้นมากหรือน้อยก็แล้วแต่เหตุการณ์หรืออารมณ์ ตลอดจนดินฟ้าอากาศในวันเลือกตั้ง   

    ผลการเลือกตั้ง  ก็มาจาก “ระบบคิด” ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง

    ระบบคิดของพลเมืองไทยส่วนใหญ่ยังติดอยู่กับระบอบอุปถัมป์พึ่งพา   

    ราชการยุคโบราณตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาลงมา “ราชการ” เป็นสิ่งที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ครอบคลุมสังคมทั้งหมด  โดยไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงได้ 

 “ทั้งนี้ย่อมบังเกิดผลสำคัญ  คือทำให้ใจคนในสังคมนั้นอยู่กับราชการแต่อย่างเดียว  เมื่อคิดจะหาดี  ก็หาดีในราชการนั้น เมื่อมีความทุกข์ร้อนหรือเกิดปัญหาอย่างใด   สิ่งแรกที่คิดคือจะให้ทางราชการเข้ามาช่วยเหลือตน  ไม่คิดที่จะช่วยตนเอง หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปด้วยตนเองหรือด้วยปัจจัยอื่น ๆ  ที่มิใช่ของทางราชการ

    สภาพจิตใจเช่นนี้เป็นสภาพจิตใจของสังคมสมัยอยุธยา  เป็นผลจากระบอบสังคมอยุธยา  แต่ถ้าหากว่าจะพิจารณาดูสังคมไทยในปัจจุบันให้ดีๆ แล้ว บางทีก็อาจจะเห็นได้ว่า ความเป็นไปในสังคมและสภาพจิตใจแห่งสังคมไทยในปัจจุบันนั้น ก็ยังมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยอยุธยามากนัก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ว่า  ราชการไทยในปัจจุบันนั้นยังครอบคลุมสังคม และยังมีอำนาจเหนือสังคมอย่างหนักแน่น ไม่น้อยไปกว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่าไรนัก”  ( “คึกฤทธิ์  ปราโมช”)

    ในเมื่อพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งยังติดกับดักระบอบอุปถัมป์อยู่ ทำให้ข้าพเจ้ามองสังคมไทยในองค์รวมทุกวันนี้ว่า แม้คนไทยส่วนหนึ่งในสังคมมีโลกทรรศน์และชีวทรรศน์ทันสมัยหรือล้ำสมัย (ความทันสมัยหรือล้ำสมัยไม่เกี่ยวกับความดีความเลว  ที่มีมาตรฐานต่าง ๆ กันในแต่ละยุคสมัย) คนที่มีการศึกษาตามแบบสมัยใหม่ อาจมีทรรศนะประชาธิปไตย(ซึ่งก็เก่าประมาณสามร้อยปีแล้ว) อาจมีทรรศนะโพสต์โมเดิร์นที่อยากจะทะลายสถาบันเก่าๆ เสียให้หมดสิ้น (โดยที่ยังไม่รู้ด้วยว่าเอาอะไรมาแทน) แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีสภาพจิตใจเหมือนยุคกรุงศรีอยุธยา คือยังหวังพึ่งราชการ ราชการยังเป็นใหญ่

    ไม่ว่าใครจะมีอุดมการณ์สูงส่งเพียงไรก็ตาม  ก็ต้องเข้าใจความเป็นจริงของสังคมไทยเสียก่อน ก่อนที่จะเอาทฤษฎีหรืออุดมการณ์จากสังคมอื่นมาสวม ยัดเยียดให้กับสังคมไทย

ราษฎรไทยยังโบราณอยู่เหมือนสมัยอยุธยานะครับ .............



ที่มา นสพ สยามรัฐ



Create Date : 08 พฤษภาคม 2555
Last Update : 8 พฤษภาคม 2555 4:09:44 น. 0 comments
Counter : 2380 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.