Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
13 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
บัวหัวเสา บัวปลายเสาเป็นเครื่องตกแต่งหัวเสา


บัวหัวเสา บัวปลายเสาเป็นเครื่องตกแต่งหัวเสา

รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com



ซ้าย-บัวหัวเสา บัวกลุ่ม

ขวา-บัวจงกล

อยากทราบเกี่ยวกับบัวหัวเสา ของแต่ละสมัยค่ะ

จาก จูน

ตอบ จูน




คำตอบวันนี้ต้องพึ่ง พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่องของโชติ กัลยาณมิตร และหนังสือ ๕ นาทีกับศิลปะไทย

บัวหัวเสา หรือบัวปลายเสา เป็นเครื่องตกแต่งหัวเสาหรือปลายสุดของเสาอาคารทางพุทธศาสนาและอาคารที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

เพราะบัวเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาพราหมณ์ หมายถึงความบริสุทธิ์ มีคติความเชื่อเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาหลายประการ เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติมีดอกบัวรองพระบาท หรือก่อนหน้าที่จะตรัสรู้ ทรงพิจารณาบัว 4 เหล่า เปรียบเทียบบุคคลที่พึงสอนได้ไว้ 4 จำพวก

สถาปัตยกรรมไทยมีที่มาจากบัว มีประมาณ 20 ชื่อ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวรวนหงาน บัวปากปลิง บัวพันยักษ์ บัวฝาละมี บัวถลา บัวปากฐาน เป็นต้น

สำหรับหัวเสาอาคารก่ออิฐที่ประดิษฐ์เป็นรูปกลีบบัวล้อมรอบ ไม่ว่ากลีบบัวนั้นจะเป็นบัวชนิดใดก็ตาม เรียกกันโดยทั่วไปว่า บัวหัวเสาทั้งสิ้น

บัวหัวเสา บัวแวง



บัวหัวเสามีรูปแบบต่างกันไปตามลักษณะของเสาและความนิยมของช่างและยุคสมัย เช่น บัวกลุ่ม บัวจงกล บัวแวง

บัวหัวเสา-บัวกลุ่ม นิยมมากในสมัยอยุธยา เป็นรูปร่างคล้ายดอกบัวกำลังจะคลี่บาน มักกลมป้อมอย่างดอกบัวกลวง มีกลีบเล็กๆ ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ปั้นด้วยปูนหรือดินเผา มักใช้ประดับหัวเสาที่เป็นเสากลม หกเหลี่ยมและแปดเหลี่ยม

บัวกลุ่มบางแห่งรูปร่างคล้ายโถ จึงเรียก บัวโถ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม ทรงเรียกว่า บัวคลุ่ม เพราะปลายกลีบคลุ่มเข้าหากัน

บัวหัวเสาแบบนี้ ทำเป็นเส้นลวดท้องไม้ มีลูกแก้วอกไก่กำกับทั้งบนและล่างท้องไม้และมีเส้นลวดบัวปากปลิงคั่น ก่อนที่จะเป็นเสาแบบต่างๆ

นอกจากใช้ตกแต่งหัวเสาแล้ว ยังใช้ตกแต่งยอดเจดีย์ด้วย

ผลงานการศึกษาของทิพวัลย์ แสวงสุข เรื่อง 'บัวหัวเสาในสมัยอยุธยา' ระบุถึงความนิยมในการใช้บัวหัวเสาไว้ว่า

สมัยอยุธยาตอนต้น บัวหัวเสาที่นิยม มีลักษณะเป็นรูปบัวโถหรือบัวกลุ่ม ประดับอยู่บนเสากลมและเสาแปดเหลี่ยม เช่น พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรย์ พระวิหารวัดหน้าพระราม พระอุโบสถวัดกุฎีดาว มักใช้กับอาคารที่มีขนาดใหญ่

สมัยอยุธยาตอนกลาง ระยะแรกยังสืบทอดรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น พระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์ วิหารพระนอนวัดใหญ่ชัยมงคล บางแห่งแม้บูรณะในสมัยหลังแล้ว แต่ช่างยังคงรักษาระเบียบเดิมอยู่ เช่น วิหารพระมงคลบพิตร

สืบต่อถึงรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง อาจเรียกได้ว่าเป็นยุค 'หัวเลี้ยวหัวต่อ' ซึ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบลักษณะบางประการแตกต่างออกไปจากเดิม เช่น พระอุโบสถ วัดศาลาปูน ที่ยังใช้เสาแปดเหลี่ยมอยู่ แต่ประดับบัวหัวเสาเป็น บัวแวง ที่เป็นบัวกลีบยาว ซึ่งชัดเจนที่วัดไชยวัฒนารามที่เมรุทิศและเมรุมุม โดยประดับกับเสาติดผนัง

สำหรับสมัยอยุธยาตอนปลาย หลังจากสมัยพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา บัวหัวเสาเริ่มวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเห็นความเด่นชัดที่สุดในสมัยพระนารายณ์ ที่มีการใช้บัวหัวเสาแบบบัวแวง คือ โคนกลีบบัวกว้างแหลมที่ปลายกลีบ คล้ายปลายหอก เช่น วิหารหน้าเทวสถานปรางค์แขก พระวิหารวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี วิหารน้อย วัดพุทไธศวรรย์

สืบถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศ บัว หัวเสามีวิวัฒนาการที่มากไปกว่าเดิม กลีบบัวจะตั้งตรงจากโคนกลีบแล้วค่อยแหลมที่ส่วนปลาย คล้ายใบดาบ เช่น พระอุโบสถวัดมเหยงคณ์ พระวิหารวัดกุฎีดาว พระอุโบสถวัดสมรโกฏิ ลักษณะนี้เป็นการออกแบบ 'บัวจงกล' ที่จะมีอิทธิพลต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์

นอกจากนี้ บัวหัวเสาโบสถ์และวิหารสมัยรัตนโกสินทร์ ยังนิยมใช้บัวหัวเสาแบบบัวแวง ลักษณะกลีบบัวตั้งสูง ดอกยาว ปลายกลีบผายออก จึงนิยมตกแต่งเสาลอย เสาหลอกและเสาอิง ทั้งเสามีเหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมย่อมุม โดยเฉพาะเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง จะมีบัวโคนเสาด้วย



ที่มา นสพ ข่าวสด



Create Date : 13 เมษายน 2555
Last Update : 13 เมษายน 2555 5:25:22 น. 0 comments
Counter : 2106 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.