Group Blog
 
 
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
19 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
จิตรกรรมบัวหลวง : สร้างศิลปินมากว่าสามทศวรรษ



จิตรกรรมบัวหลวง : สร้างศิลปินมากว่าสามทศวรรษ


พระพุทธเจ้าเปิดโลก ลิปิกร มาแก้ว เหรียญทอง แนวประเพณี 2544

งานแสดงจิตรกรรมบัวหลวงย้อนยุคทศวรรษที่สามยังคงดำเนินไปให้ผู้มีหัวใจใฝ่ศิลปะได้ชื่นชม

งานแสดงจิตรกรรมบัวหลวงย้อนยุคทศวรรษที่สามยังคงดำเนินไปให้ผู้มีหัวใจใฝ่ศิลปะได้ชื่นชม ได้ศึกษา เปรียบเทียบเส้นทางของศิลปิน เส้นทางของจิตรกรรมบัวหลวง ให้ได้เห็นเส้นทางวิวัฒนาการของรางวัลจิตรกรรมบัวหลวง ที่สร้างศิลปินรับใช้สังคมนี้มาหลายทศวรรษ

แน่นอนที่สุดเวทีใหญ่ของวงการศิลปะในอดีตมีเพียงการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติเท่านั้นที่เป็นที่หมายหลักของศิลปินแห่งสยามประเทศที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ตั้งขึ้นเพื่อให้กำลังใจศิลปินในการสร้างสรรค์งานศิลปะ แต่กับสยามประเทศมีเพียงเวทีเดียวย่อมเงียบเหงา การมีเวทีบัวหลวงจึงทำให้วงการศิลปะคึกคักและครึกครื้นยิ่งขึ้น ในยุคแรกของการแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติรางวัลอาจเป็นเพียงกล่องและเกียรติ ต่อมาพัฒนาขึ้นเมื่อมีบัวหลวงเกิดขึ้น ซึ่งมิใช่ให้แต่เกียรติกับกล่องแต่ยังมีเงินเป็นกำลังใจ ช่วยให้ศิลปินสุขสบายในการสร้างสรรค์งานศิลปะเพิ่มขึ้นในทุกเวที

พระราชพิธีกาญจนาภิเษก อัศวิณีย์ หวานจริง(นิรันต์) เหรียญทอง แบบประเพณี 2540

งานจิตรกรรมบัวหลวงของทศวรรษที่สามได้นำเสนอผลงานที่ล้วนผ่านการชนะเลิศ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม และมีงานใหม่ของศิลปินมาแสดงให้เห็นวิวัฒนาการทางความคิดฝีมือของศิลปิน แม้จะมีบางชิ้นที่ไม่สามารถนำผลงานตัวจริงมาแสดงได้เนื่องจากได้นำไปติดตั้งยังสำนักงานธนาคารกรุงเทพยังต่างประเทศบ้างก็ตาม แต่งานโดยรวมแล้วก็คืองานฝีมือความคิดที่สุกงอมลงตัวของศิลปินที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจนได้รับรางวัลในแต่ละปี ซึ่งเป็นงานที่เกิดใหม่ลงตัวเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนทั้งรูปแบบเนื้อหาทางความคิดของศิลปินแต่ละคน

ได้มีโอกาสพบกับศิลปินที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองบัวหลวง จิตรกรรมร่วมสมัย ครั้งที่ 22 ซึ่งในปี 2541 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนั้น ศิลปินยังเป็นนักศึกษาปริญญาโท ทางศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่งครั้งแรกครั้งเดียวก็ได้รับรางวัลนั้นเลย คงศักดิ์ กุลกลางดอน เล่าให้ฟังว่า จิตรกรรมบัวหลวง เป็นเวทีที่ดีสำหรับศิลปินอีกแห่งหนึ่ง มีจุดประสงค์และรูปแบบชัดเจนในการประกวด ให้โอกาสทั้งจิตรกรรมประเพณีไทย แนวประเพณีไทยและจิตรกรรมร่วมสมัย

สำหรับผลงานของคงศักดิ์ กุลกลางดอนเป็นงานร่วมสมัย เล่าให้ฟังว่าในตอนนั้นนึกถึงเรื่องของการกระทำรุนแรงในสังคมที่มีต่อเด็ก งานดูง่ายๆผ่านๆอาจจะเห็นเป็นเพียงรูปด. เด็ก แต่เมื่อมองลึกลงไปของการคิดสร้างสรรค์คราวนี้ ได้นำตัวหล่อโลหะ มาติดเป็นแถวๆ มีการจัดวางจังหวะน้ำหนักให้น่าสนใจ

การทำงานของศิลปินเมื่อคิดได้ ต้องไปหาโรงพิมพ์ที่มีตัวพิมพ์โลหะเช่นนี้อยู่ซึ่งเหลือน้อยเต็มที แล้วเช่าเขามาทำโดยหล่อเรซิ่นไว้ทั้งหมดแล้วจึงนำมาติดทีหลัง ถามว่าตัวเรียงตัวหล่อโลหะนั้นอ่านได้มีความหมายหรือไม่ มองดูผิวเผินเป็นการเรียงตัวกลับจะอ่านไม่รู้เรื่องแท้ที่จริงเอามาจากช่างเรียงที่เรียงเป็นการ์ดงานศพไว้ อันหมายถึงความตายที่เด็กๆได้รับผลกระทบจากความรุนแรงที่ทำทารุณกรรมถึงแก่ชีวิต งานจึงไม่ได้ดูแปลกอย่างเดียวแต่กลับให้ความรู้สึกที่เจ็บปวดเมื่อทราบถึงงานเชิงลึกที่ทำ ส่วนที่คิดถึงแม่พิมพ์นั้นก็เพราะว่าถ้าไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรงกับเด็ก ผู้ใหญ่ต้องเป็นแม่พิมพ์ที่ดีมีคุณธรรม ให้กับเด็กได้เห็น เป็นแม่พิมพ์ที่ดีแก่สังคม จึงโดนใจทั้งรูปแบบและความคิด ในยุคนั้นมีรางวัลเพียงอย่างเดียวยังไม่มีโครงการไปดูงานต่างประเทศ

ในอีกมุมหนึ่งของศิลปินที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองบัวหลวง ประเภทจิตรกรรมประเพณีไทย ครั้งที่ 20 ,21 ปีพ.ศ.2539 – 2540 อัศวิณีย์ หวานจริง (นิรันต์) ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์สอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาพของเธอคือ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 ซึ่งได้ใช้เทคนิคแบบโบราณในการเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามแต่เนื้อหากลับเป็นเรื่องที่ร่วมสมัยและต้องการบันทึกจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ระหว่างที่มีงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกได้ออกบันทึกภาพเก็บข้อมูลไว้ทุกแห่ง ซุ้มแต่ละซุ้ม ตั้งลานพระบรมรูปทรงม้า ถึงสนามหลวงและขบวนของข้าราชการพ่อค้าประชาชนที่ต่างมาถวายความจงรักภักดี ได้บันทึกไว้ในภาพนี้ทั้งสิ้น โดยจัดรูปแบบของไทยในมุมมองแบบตานกมองมองจากเบื้องสูงเห็นทุกส่วนของงาน

เมืองพุทธ วาสนา สีสัง รางวัลที่ 3 แบบประเพณี 2542

ที่สำคัญพระรูปเหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอราสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา แม้จะแสดงด้วยเส้นสีแบบไทยแต่ก็เป็นภาพเหมือนของพระองค์ท่านทั้งสิ้น ด้านหลังเป็นพลุเฉลิมฉลอง เหนือพลับพลาที่ประทับ ได้ใช้ต้นไม้เป็นเส้นแบ่งภาพเรื่องราวดูแล้วองค์ประกอบภาพงดงาม

ศิลปินมองว่าเวทีบัวหลวงเป็นเวทีของนักศึกษาศิลปะที่จะก้าวเข้าสู่วงการศิลปะมาพิสูจน์ความสามารถและเส้นทางเดินของตน ภาพพระราชพิธีกาญจนาภิเษกนี้เขียนขึ้นในระหว่างที่เรียนปริญญาโทที่ศิลปากร ส่งครั้งแรกก็ได้รับรางวัลเลย ในความรู้สึกมองว่าการได้ผ่านเวทีประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ทำให้เราได้เห็นศักยภาพของเรา ที่ก้าวเข้ามาสู่วงการศิลปะ วันนี้นอกจากการเป็นอาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านศิลปะแล้วยังทำงานศิลปะฝากไว้ให้กับสังคมอีกด้วย แต่ได้พัฒนารูปแบบเป็นงานจิตรกรรมกระจก ประดับเรื่องราวในพระพุทธศาสนาและท้องถิ่นที่สำเร็จแล้วคือที่วัดมณีจันทร์ บุรีรัมย์

และศิลปินที่ชนะเลิศรางวัลบัวหลวงอีกคนหนึ่งที่ส่งงานครั้งแรกก็ได้รางวัลเหรียญทองเช่นกันประเภทจิตรกรรมร่วมสมัยและได้รับทุนไปทัศนศึกษาดูงานยังต่างประเทศ ที่สหรัฐอเมริกา นับเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิตและเวทีบัวหลวงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตครั้งสำคัญในการทำงานศิลปะ ศิลปินเล่าให้ฟังว่าตอนนั้นจะเข้ามาสอบปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็นำงานมานำเสนออาจารย์และก็ส่งผลงานแสดงด้วย ครั้งแรกก็ได้รับรางวัล เป็นภาพที่แสดงถึงวิถีชีวิตชาวบ้านปักษ์ใต้ ชื่อภาพ รอยพิมพ์ใจในวิถีชีวิตของชาวไทยมลายูท้องถิ่นปัตตานี ด้วยเนื้อหาที่แปลกและวิธีการที่แตกต่างจึงนำพาให้โดนใจกรรมการตัดสิน เป็นภาพที่เขียนด้วยสีอะครีลิคบนเยื่อกระดาษเทคนิคเขียนสีเป็นจุดๆจากหลอดสี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งรูปแบบเนื้อหาและวิธีการไปแล้ว

ศิลปินท่านนี้คือ เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ ศิลปินจากปัตตานี ซึ่งวันนี้ยังใช้เทคนิควิธีการแบบที่เป็นอยู่และบรรจงถ่ายทอดความคิดเนื้อหาจากชายแดนใต้ให้สังคมไทยได้รับรู้ อานิสงส์ของการเข้าประกวดรางวัลจิตรกรรมบัวหลวง นอกจากได้เงินรางวัลเป็นกำลังใจแต่สำหรับรุ่นนี้ได้ประสบการณ์ที่สำคัญได้ไปศึกษาดูงานที่สหรัฐอเมริกา ได้บอกกับตนเองว่าโลกศิลปะกว้างไกลไม่ได้อยู่ในห้องแคบๆของการทำงานอีกต่อไป และในความเห็นเวทีบัวหลวงเป็นเวทีสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ ให้ได้รับโอกาสแสดงออกได้รับความเชื่อถือ สำหรับการได้ดูงานต่างประเทศคือการเปิดโลกทัศน์ ทำให้เราได้เห็นการจัดการทางด้านศิลปะที่เป็นระบบมีมาตรฐาน ผลงานเราต่างสู้กันได้แต่ตัวการจัดการเราต้องเรียนรู้และนำมาปรับใช้ วันนี้ที่ปัตตานีศิลปินผู้นี้กำลังทำสตูดิโอ ทำที่แสดงผลงานให้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้และทำงานด้านศิลปะ นั่นคือสิ่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการก้าวเข้าสู่เวทีจิตรกรรมบัวหลวง

งานจิตรกรรมบัวหลวงในทศวรรษที่สามยังคงมีแสดงอยู่เป็นช่วงสุดท้ายถึงปลายเดือนมีนาคม ที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ แม้งานแสดงจะยุติลงด้วยวันเวลา แต่การจัดการประกวดจิตรกรรมบัวหลวงจะยังคงมีอยู่ต่อไปในทศวรรษที่สี่ที่ห้าและอีกยาวไกลคู่กับวงการศิลปกรรมไทยและสังคมไทยสืบไป

Tags : จิตรกรรมบัวหลวง

//www.bangkokbiznews.com/


Create Date : 19 มีนาคม 2555
Last Update : 19 มีนาคม 2555 15:50:48 น. 0 comments
Counter : 3994 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.