Group Blog
 
 
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
ตัวละครหลัก รามเกียรติ์

พระลักษมณ์ ( พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ) พระลักษณ์ เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา(เป็นพญาอนันตนาคราชอวตารลงมาพร้อมพระราม) เมื่อครั้งพระรามต้องเสด็จออกเดินดงตามพระประสงค์ของนางไกยเกษี พระลักษณ์ก็ได้ทูลขอตามเสด็จไปด้วย ครั้งแรกพระรามทรงไม่อนุญาต แต่พระลักษณ์ทรงยืนกราน จึงตามเสด็จด้วยความจงรักภักดี ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และ เมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามมาหลายครั้งหลายครา

พระพรต
พระพรตเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง (คือจักรแก้วของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาพร้อมกับพระราม) เป็นโอรสของ ท้าวทศรถ กับนาง ไกยเกษี แม่ของตนเป็นต้นเหตุที่ทำให้พระรามต้องออกเดินดง ๑๔ ปี กล่าวคือ ครั้งหนึ่งท้าวทศรถรบกับยักษ์ปทูตทันต์ ท้าวทศรถทรงนั่งรถศึกโดยมีนางไกยเกษีร่วมรบด้วย ท้าวทศรถพลาดรถทรงถูกศรของยักษ์เพลาล้อหลุด นางเห็นจึงนำแขนของตนใส่ไปแทนเพลาล้อ จนท้าวทศรถมีชัยชนะแก่ข้าศึก ท้าวทศรถดีใจมากประทานพรว่าจะให้สิ่งที่ต้องการทุกประการหากนางต้องการ เมื่อวันเวลาผ่านไปนางนึกได้จึงทูลขอกรุงศรีอยุธยาให้แก่พระพรตโอรสของตน และให้พระรามออกไปเดินดงเป็นเวลา ๑๔ ปี ท้าวทศรถได้ฟังเช่นนั้นจึงให้พรตามที่นางขอและตรอมใจตายในที่สุด ภายหลังเป็นจอมทัพไปรบยังกรุงลงกาครั้งที่ ๒ และศึกกรุงไกยเกษ พระรามจึงแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ครองกรุงไกยเกษสืบไป

พระสัตรุดประวัติ...พระสัตรุดคือคฑาและสังข์ของพระนารายณ์อวตารลงมาพร้อมกับพระองค์ พระสัตรุดเป็นโอรสของ ท้าวทศรถ บิดาของพระราม กับนางสมุทรเทวี เป็นน้องชายฝาแฝดของพระลักษณ์ เป็นจอมทัพร่วมกับพระพรตตอนศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2และศึกเมืองมลิวัน ภายหลังได้เป็นอุปราชเมืองไกยเกษ

นางสีดารื่องของนางเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระนารายณ์ได้อวตารลงเป็นเกิดเป็นพระราม พระลักษมีพระชายาแห่งพระนารายณ์จึงทรงอวตารลงไปเกิดเป็นคู่ครองของพระราม ณ กรุงอโยธยาในครานั้น ท้าวทศรถผู้ครองนครมีอายุมากแล้ว ทั้งทีมีมเหสีถึงสามนางคือ พระนางเกาสุริยา พระนางไกยเกษี และพระนางสมุทรเทวี แต่พระองค์ก็หาได้มีพระโอรสธิดาไว้สืบราชวงศ์ไม่ ท้าวทศรถได้นำความนี้ปรึกษากับเหล่าฤๅษี ซึ่งพระฤๅษีกไลโกฏได้ทูลว่า ควรจะทำพิธีบวงสรวงขอพระโอรสธิดาจากเทพเจ้า ด้วยวิธีการกวนข้าวทิพย์ ท้าวทศรถจึงจัดพิธีการกวนข้าวทิพย์อย่างยิ่งใหญ่ภายในกรุงอโยธยาเพื่อวอนขอสิ่งที่พระองค์ปรารถนา

พระอิศวรจึงมีพระบัญชาให้พระรามลงอวตารเป็นพระโอรสแห่งท้าวทศรถ ซึ่งพระยาอนันตนาคราชผู้เป็นพระแท่นบรรทมของพระนารายณ์ก็ขอติดตามไปด้วย เมื่อพิธีเสร็จสิ้น ท้าวทศรถจึงแบ่งก้อนข้าวทิพย์ให้แก่มเหสีทั้งสามของพระองค์ แต่เหลือข้าวก้อนสุดท้ายอยู่ ข้าวทิพย์เหล่านี้มีกลิ่นหอมหวลอย่างมากจนฟุ้งไกลไปถึงกรุงลงกา นางมณโฑ มเหสีของทศกัณฐ์ได้กลิ่นเข้าก็ร่ำร้องอยากกินให้ได้ มิฉะนั้นตนต้องขาดใจตายเป็นแน่ ทศกัณฐ์จึงมีบัญชาให้นางกากนาสูรสมุนของตนไปโฉบเอาก้อนข้าวทิพย์มาให้นางมณโฑ

เมื่อมเหสีแห่งท้าวทศรถรวมทั้งนางมณโฑได้กินข้าวทิพย์เข้าไปทำให้ต่างนางต่างตั้งครรภ์ ยังความดีใจให้กับท้าวทศรถและทศกัณฐ์อย่างมาก พระนางเกาสุริยาได้ประสูติพระโอรสองค์โตคือ พระราม (พระนารายณ์อวตาร)พระนางไกยเกษีประสูติพระโอรสองค์รองคือ พระพรต (จักรแห่งพระนารายณ์มาเกิด)พระนางสมุทรเทวีประสูติโอรสแฝดคือ พระลักษมณ์ (พระยาอนันตนาคราช)และพระสัตรุด (คฑาพระนารายณ์)สุดท้าย นางมณโฑก็ประสูติพระธิดาทรงโฉมงดงามยิ่ง คือพระลักษมีอวตาร นางสีดานั่นเอง

ทว่าชีวิตวัยทารกของนางสีดามิได้อยู่สุขสบายเป็นพระราชธิดาแห่งกรุงลงกา เพราะเมื่อนางประสูติออกมา นางก็ร้องว่า ผลาญราพณ์ถึง 3 ครั้ง พิเภกกราบทูลว่า นางสีดาจะนำภัยพิบัติใหญ่หลวงมาสู่วงศ์ยักษ์ ทศกัณฐ์จึงสั่งให้ใส่นางสีดาใส่ผอบลอยน้ำไปเพราะยังไม่อาจหักใจประหารธิดานอกไส้ของตนนางนี้ได้

ผอบทองลอยน้ำไปถึงอาศรมของฤๅษีชนกผู้ครองกรุงมิถิลา เปิดดูพบเด็กทารกหญิงหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูภายใน ทว่าฤๅษีชนกนั้นในขณะนั้นครองเพศฤๅษีอยู่ ไม่สะดวกจะเลี้ยงนางสีดา จึงได้นำผอบทองฝังดิน พร้อมขอให้พระแม่ธรณีช่วยดูแลรักษานางด้วย

16 ปีต่อมา ฤๅษีชนกตั้งใจนิวัตินครเพื่อครองกรุงมิถิลาตามเดิม จึงได้ทำพิธีไถคราดดินหาผอบทองที่พระองค์ฝังดินไว้ คันไถไปติดผอบเข้า เหล่าทหารจึงได้ขุดขึ้นมา เมื่อเปิดออกก็พบหญิงสาวรูปร่างหน้าตาสะสวยสะคราญโฉมอย่างที่หาที่เปรียบเปรยไม่ได้ สวยงามที่สุดและงดงามยิ่งกว่านางใดในโลกนี้ ทั้งจริตกิริยาก็เรียบร้อยน่าชม ฤๅษีชนกจึงได้รับนางเป็นพระธิดาแห่งกรุงมิถิลา พร้อมประทานนามให้นางว่า สีดา ที่แปลว่า "รอยไถ"

เมื่อนางสีดาเจริญถึงวัยอันควรแล้ว ท้าวชนกพระบิดาคิดจะจัดพิธีสยุมพรให้นางสีดาพระธิดา จึงได้ป่าวประกาศหาผู้ที่จะสามารถยกธนูโมลีหนักพันแรงคนยกได้ ถ้าผู้ใดทำได้จะยกนางสีดาให้อภิเษก ในครานั้นมีเจ้าชายหนุ่มสองพระองค์นามว่าพระราม และ พระลักษมณ์ อยู่ร่วมด้วย พระรามจึงมีพระดำริจะลองยกธนูโมลีนั้นดู แต่ทันใดนั้นเอง พระรามได้จ้องมองผ่านม่านพบกับนางสีดาที่นั่งอยู่อีกฝั่ง ด้วยบุพเพสันนิวาสทำให้ทั้งสองมีใจรักภักดีต่อกันทันที ธนูโมลีนั้นมีเพียงพระรามและพระลักษมณ์ที่ยกได้ แต่พระลักษมณ์ทราบดีว่าพระรามและนางสีดามีใจต่อกันจึงแสร้งทำเป็นยกธนูไม่ขึ้น ในที่สุด พระรามและนางสีดาก็ได้อภิเษกกันอย่างถูกต้องตามประเพณี

เมื่อนิวัติกลับอโยธยา พระรามก็ต้องพบกับข่าวร้าย ด้วยเล่ห์เหลี่ยมนางกุจจีข้ารับใช้ของพระนางไกยเกษีซึ่งเกลียดชังพระรามมาแต่เด็ก นางกุจจีหลอกล่อให้นางไกยเกษีขอท้าวทศรถให้พระพรตโอรสของนางขึ้นครองบัลลังก์ก่อน ซึ่งท้าวทศรถเสียใจมาก แต่พระองค์เคยได้รับการช่วยเหลือจากนางไกยเกษี พระองค์จึงจำยอมทำตาม พร้อมขับไล่พระรามออกเดินป่าเป็นฤๅษีถึง 14 ปี พระราม นางสีดา และพระลักษมณ์ที่ขอติดตามไปด้วยจึงออกไปผจญความทุกข์ยากในป่า ทำให้สุดท้ายท้าวทศรถก็ตรอมใจตาย

พระราม และนางสีดาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแม้ไม่มีทรัพย์สมบัติมากมาย จนกระทั่งวันหนึ่ง นางสำมนักขายักขิณีม่ายน้องสาวทศกัณฐ์มาเห็นรูปโฉมพระรามก็หลงรัก เกี้ยวพาขอพระองค์เป็นสวามี แต่พระรามปฏิเสธเพราะมีนางสีดาอยู่แล้ว นางสำมนักขาโกรธจึงด่าทอทุบตีนางสีดา พระลักษมณ์โมโหจับนางสำมนักขาตัดหูตัดจมูกแล้วปล่อยไป นางสำมนักขาแค้นเคืองไปฟ้องพี่ชายของตน พร้อมกับพรรณาความงดงามของนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟังจนทศกัณฐ์อยากได้ในตัวของนางสีดา

ทศกัณฐ์สั่งให้มารีศแปลงเป็นกวางทองไปล่อหลอกพระรามพระลักษมณ์ออกจากอาศรมแล้วตนเองก็ไปลักพาตัวนางสีดามาอยู่ที่สวนขวัญ กรุงลงกา นางสีดามีรักมั่นคงต่อพระรามจึงไม่ยอมเป็นชายาของทศกัณฐ์ ทำให้เกิดสงครามระหว่างมนุษย์และยักษ์ปะทุขึ้น

เสร็จสิ้นสงคราม ทศกัณฐ์ตายแล้ว พระรามอยากเชิญนางสีดากลับอโยธยาด้วยกันแต่พระองค์ไม่อยากให้ผู้ใดมานินทาว่าร้ายนางสีดาที่ไปอยู่แดนศัตรูถึง 14 ปี นางสีดาจึงขอพิสูจน์ตนเองว่า จะขอลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ถ้าตนคิดนอกใจสามีเพียงนิดเดียว ขอให้ไฟไหม้นางจนตาย แต่ถ้านางมีรักมั่นต่อสามี ไฟจะไม่อาจทำอันตรายนางได้

ไฟกาฬเหล่านั้นพ่ายแพ้ต่อแรงอธิษฐานของนางสีดา นางสีดาพิสูจน์ตนเองได้ว่าบริสุทธิ์ทั้งกายใจ สามีภรรยาจึงได้กลับไปใช่ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข จนกระทั่งนางสีดามีครรภ์ นางอดุลยักษีที่เคียดแค้นนางสีดาแปลงมาเป็นนางกำนัลพร้อมขอให้นางสีดาวาดรูปทศกัณฐ์ พอวาดเสร็จ นางอดุลก็เข้าสิงทำให้รูปลบไม่ออก พระรามมาเห็นรูปภาพเข้าก็พิโรธมากว่านางสีดายังรักภักดีทศกัณฐ์ จึงสั่งพระลักษมณ์ให้ประหารนางสีดา พระลักษมณ์ไม่ทำซ้ำยังปล่อยนางหนีไป แล้วฆ่าควักหัวใจกวางนำไปถวายพระราม

นางสีดาไปอาศัยอยู่กับฤๅษีวัชมฤคจนกระทั่งประสูติพระโอรสของพระรามนามว่า พระมงกุฎ จากนั้นต่อมาพระฤๅษีก็ได้ชุบกุมารมาเป็นเพื่อนเล่นพระมงกุฎนามว่า พระลบ ทั้งสองกุมารเก่งกล้ามากจนสะเทือนไปถึงอโยธยา จนเกิดการต่อสู้กันระหว่างพ่อลูก ทว่าไม่รู้ผลแพ้ชนะ พระรามเอะใจเลยถามว่าพระมงกุฎเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ในที่สุดจึงได้รู้ว่า ผู้ที่ต่อสู้อยู่ด้วยนี้ คือพระโอรสองค์เดียวที่เกิดแต่มเหสีนางสีดานั่นเอง

พระรามง้องอนขอคืนดีกับนางสีดา แต่นางสีดาเข็ดขยาดในความฉุนเฉียวของพระราม นางจึงแทรกตัวลงไปเมืองบาดาลหนีพระราม พระรามจึงต้องออกผจญภัยอีกครั้งเป็นเวลา 1 ปี จนท้ายสุด พระอิศวรได้รับนางสีดาขึ้นมาและปรับความเข้าใจกับทั้งสอง จนในที่สุดพระราม และนางสีดา จึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา

ลักษณะและสีสีนวลจันทร์หรือสีขาวผ่อง ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฏนาง สวยมาก

นางสีดาเป็นมเหสีของพระราม มีโอรส ๑ องค์ คือ พระมงกุฏ และมีบุตรเลี้ยง ๑ องค์ คือ พระลบ ซึ่งพระวัชมฤคฤษีชุบขึ้นมาให้เป็นพระอนุชาของพระมงกุฏ

หนุมานหนุมาน เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเผือก จึงมีสีขาวเป็นสีประจำกาย เมื่อสำแดงฤทธิ์จะมี 4 หน้า 8 มือ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะประจำกายอื่นๆ อีก เช่น สวมกุณฑล มีขนเพชร มีเขี้ยวเป็นแก้ว และ หาวเป็นดาวเป็นเดือน ดังกลอนตอนที่หนุมานเกิดว่า
ลอยอยู่ตรงพักตร์ชนนี รัศมีโชติช่วงในเวหา
มีกุณฑลขนเพชรอลงการ์ เขี้ยวแก้วแววฟ้ามาลัย
หาวเป็นดาวเดือนระวีวร แปดกรสี่หน้าสูงใหญ่
สำแดงแผลงฤทธิ์เกรียงไกร แล้วลงมาไหว้พระมารดร


หนุมาน เป็นลิงที่มีฤทธิ์มาก สามารถสำแดงเดชต่างๆ ได้หลายประการ เช่น การขยายร่างกายให้ใหญ่โต การยืดหางให้ยาว เป็นต้น นอกจากนี้ หนุมานยังได้ชื่อว่าเป็นอมตะ คือ ไม่มีวันตาย เนื่องจากเป็นบุตรของพระพาย (ลม) กับนางสวาหะ ด้วยเหตุนี้ เมื่อหนุมานมีอันตรายถึงตายแล้ว เพียงแค่มีลมพัดมา หนุมานก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ด้วยอำนาจของพระพายผู้เป็นบิดา


บุคลิกของหนุมานเป็นตัวแทนของชายหนุ่มทั่วไป คือ รูปงาม มีนิสัยเจ้าชู้ และ มีภรรยามาก เช่น นางสุพรรณมัจฉา ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันหนึ่งตน คือ มัจฉานุ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง ลิงเผือกกับปลา นั่นคือ มีกายเป็นลิงเผือกเหมือนหนุมาน แต่หางนั้น กลับเป็นหางของปลา นางเบญกาย บุตรีของพญาพิเภก หนุมานได้นางเบญกายตอนที่ นางเบญกายจำแลงกายเป็นศพของ นางสีดาลอยทวนน้ำมา เพื่อหลอกพระรามให้เสียพระทัย แต่ภายหนังกลนี้ถูกจับได้ พระรามจึงให้หนุมานพานางเบญจกายไปส่งกลับเมือง ซึ่งทั้งมีคู่ลูกด้วยกัน ชื่อว่า อสุรผัด

ตลอดเรื่องรามเกียรติ์นั้น หนุมานผู้เป็นทหารเอกได้รับรางวัลจากพระราม 3 ครั้ง

ผ้าขาวม้า ได้ตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา
ธำมรงค์ ได้จากตอนที่ไปช่วยพระรามหลังจากที่ถูกไมยราพจับไปขังไว้ที่เมืองบาดาล
เมืองนพบุรีพร้อมสนม 5000 นาง ได้ในตอนที่เสร็จศึกลงกาแล้ว

การแสดงโขน ตอน หนุมานได้รับแต่งตั้งให้ครองเมืองนพบุรี

เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาแล้ว พระรามได้สถาปนาให้เป็น พระยาจักรกฤษณ์พิพรรธพงศา และยกกรุงอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แต่หนุมานได้ถวายคืนพระราม เพราะสำนึกว่าตนไม่สูงศักดิ์พอ พระรามจึงยกเมืองนพบุรีให้ครองแทน

ลักษณะของหนุมานกายสีขาว มีกุณฑล (ต่างหู) ขนเพชร เขี้ยวเพชร (อยู่กลางเพดานปาก) หาวเป็นดาวเป็นเดือน ยามแผลงฤทธิ์จะมีสี่หน้า แปดกร

ภรรยาและบุตรของหนุมาน


1.นางบุษมาลี เป็นภรรยาคนแรกของหนุมาน
2. เบญกาย ธิดาของพิเภก มีบุตรกับหนุมานคือ "อสุรผัด"
3. สุพรรณมัจฉา เป็นนางเงือก ธิดาของทศกัณฐ์ ได้เป็นภรรยาขณะจองถนนข้ามกรุงลงกา มีบุตรคือ มัจฉานุ
4.นางวารินทร์ ได้ขณะตามล่าวิรุญจำบัง
5. นางมณโฑ ได้ขณะปลอมตัวเป็นทศกัณฐ์
6.นางสุวรรณกันยุมา ทศกัณฐ์ประทานให้ ขณะเสแสร้งแปรพักต์ (นางเคยเป็นภรรยาอินทรชิต)
7.นางสนมอื่นๆอีก 5,000 ตน ที่พระรามประทานหลังจากเสร็จศึกกรุงลงกา และหนุมานได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พญาอนุชิตจักรกฤษณ์พิพัฒน์พงศา

หนุมานในประเทศต่างๆ

เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง "รามายณะ" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ...ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้นๆ



ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

เนื่องจาก หนุมาน เป็นตัวละคร ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้างของสังคมไทย ดังนั้น หนุมาน จึงถูกใช้เป็นสื่อในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประเภท เช่น เป็นตัวนำโชคในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2540 ที่กรุงจาการ์ต้า หรือ เป็นตัวเอกในภาพยนตร์ไทย เรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (พ.ศ. 2517) หรือ หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (พ.ศ. 2518) เป็นต้น

ในวีดีโอเกมชุดเมกามิเทนเซย์
... หนุมานเป็นหนึ่งในปิศาจซึ่งผู้เล่นสามารถชักชวนเป็นพวกได้ และในชุดย่อย เพอโซนา ภาค3และ4นั้น หนุมานเป็นเพอโซนาในอาร์คานา Strength

ต่อพรุ่งนี้ขอรับ...
credit : ขอบคุณวิกีพีเดีย



Create Date : 20 ธันวาคม 2554
Last Update : 19 มิถุนายน 2555 6:31:18 น. 0 comments
Counter : 7949 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.