Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
มหรสพสมโภช” งดงามตามโบราณราชประเพณี


มหรสพสมโภช” งดงามตามโบราณราชประเพณี



การแสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุพระบรมอัฐิเป็นแบบแผนประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจวบจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการจัดมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุตามโบราณราชประเพณี

ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงมหรสพ ได้เตรียมนำ การแสดงหนังใหญ่ โขนรามเกียรติ์ การแสดงหุ่นกระบอก ละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6ละครนอก ตามแบบแผนราชประเพณีและการบรรเลงขับร้องดนตรีสากล ถวายความอาลัยและรำลึกในพระกรุณาธิคุณ


ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การแสดงมหรสพสมโภชครั้งนี้ได้เตรียมการแสดงไว้ใน 3 เวทีกลางแจ้งมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยเวทีแรกถือเป็นเวทีใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านสะพานพระปิ่นเกล้าซึ่งการแสดงจะเริ่มขึ้นนับแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไปต่อเนื่องถึง 06.00 น.วันที่ 10 เมษายน


การแสดงชุดแรกซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมาคือ การแสดงหนังใหญ่ เบิกหน้าพระ เบิกโรงหนังใหญ่จนถึงจับลิงหัวค่ำ บูชาครูและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อการแสดงต่อไป จากนั้นจะแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ นับแต่ตอน ลักสีดาไปจนถึงตอนพระรามครองเมือง ใช้เวลาในการแสดงร่วม 10 ชั่วโมงจากเวลา 19.00 น. ในวันที่ 9 เมษายนถึง06.00 น. ของวันที่ 10 เมษายน 2555 โดยรูปแบบการแสดงเป็นไปตามประเพณีโบราณและช่วงการถวายพระเพลิงจะมีการแสดงโขนหน้าพระเมรุซึ่งเตรียมแสดงโขน ตอน นางลอย


“การจัดแสดงโขนนั้นเป็นการเทิดพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ซึ่งครั้งนี้ได้ดำเนินเรื่องตามบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 6 ทั้งส่วนของชื่อตัวละครและตัวสะกดยึดตามต้นฉบับเดิม การแสดงจะมีทั้งหมด 12 ชุดการแสดงต่อเนื่องกันนับแต่ตอนลักนางสีดาถึงพระรามคืนนครซึ่งครบพร้อมด้วยเรื่องราวความรัก ความเศร้า รวมถึงความตระการตาในกระบวนทัพของฝ่ายพระรามและกระบวนทัพของทศกัณฑ์”


อีกด้านหนึ่งของเวทีที่ตั้งอยู่ทางด้านศาลฎีกาเป็น การแสดงหุ่นกระบอก เรื่องพระอภัยมณี ตอน ศึกเก้าทัพถึงพบละเวง การแสดงละครบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เรื่องศกุนตลา ตอนท้าวทุษยันต์พบนางศกุนตลา การแสดง ละครนอกเรื่องสังข์ทอง นับแต่ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัตถึงพระสังข์พบพระมารดาซึ่งใช้เวลาในการแสดง เช่นเดียวกับเวทีใหญ่


ส่วนอีกเวทีตั้งอยู่ด้านมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์เป็น การบรรเลง ขับร้อง โดยวงดนตรีสากลวงซียูแบนด์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนักร้องประสานเสียง วิทยาลัยอาชีวะสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์และวงกรมประชาสัมพันธ์ร่วมแสดง


นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้สร้างสรรค์บทเพลงพิเศษขึ้นใหม่ชื่อว่า เพลงเพชร เนื้อหาของเพลงเป็นการระลึกถึงพระกรุณาธิคุณ และน้ำพระหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชร รัตนฯ นำคำร้องดังกล่าวบันทึกเสียงลงแผ่นซีดี พร้อมกันนั้นยังมีบทเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ได้แก่ เพลงใบไม้ร่วง และเพลงพสุธากันแสง เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังประชาชนร่วมถวายความอาลัยและรำลึกในพระกรุณาธิคุณ


การแสดงมหรสพครั้งนี้แต่ละเวทีมีนักแสดงจำนวนมากรวมทั้งสามเวทีมีผู้ปฏิบัติงานนับพันคนซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์อีก 12 แห่งทั่วประเทศถือเป็นการแสดงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง


นอกเหนือจากการแสดงโขนที่มีความวิจิตรประณีตยิ่งใหญ่ ในการแสดงหุ่นกระบอก อีกหนึ่งในมหรสพสมโภชฯ ที่มีเอกลักษณ์ ส่วนหนึ่งจากนักแสดงผู้เชิดหุ่นกระบอก บอกเล่าว่า หุ่นกระบอกเป็นการแสดงประเพณีของไทยนับวันจะห่างหายไป ในคราวนี้นำเรื่องพระอภัยมณี ตอน ศึกเก้าทัพถึงพบละเวงตอนพระอภัยมณี ซึ่งมีความน่าสนใจหลายด้านทั้งเรื่องของการแสดง การเชิดหุ่นกระบอก ดนตรี รวมทั้งยังเป็นตอนที่มีอรรถรส ความสนุกสนาน รวมทั้งยังมีตัวละครกองทัพนานาชาติซึ่งออกมาช่วยนางละเวงรบ ฯลฯ ถ่ายทอดความเป็นไทยผสานความเป็นสากล


การแสดงมหรสพในงานพระเมรุที่สืบสานการแสดงต่อเนื่องกันมาในยุคหลังเป็นการแสดงในประเภทหลัก คือมหรสพที่เป็นเรื่องราว และนอกจากจะเผยแพร่ให้กับประชาชนร่วมชมการแสดง ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ในจุดหมายคงไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากแต่ทุกดวงใจที่ได้มาอยู่ร่วมกันในมณฑลพิธีเป็นดั่งการร่วมเทิดพระเกียรติแสดงความจงรักภักดีส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย


อีกทั้งการแสดงมหรสพสมโภชยังมีความหมายต่อการสืบสานสร้างการเรียนรู้รักษามหรสพการแสดงตามโบราณราชประเพณีคงอยู่สืบเนื่องต่อไปตราบนานเท่านาน.

.........................................

ย้อนอดีตการแสดงมหรสพสมโภชฯ

การจัดมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุตามแบบแผนประเพณีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อปี พ.ศ.2339  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ปรากฏหลักฐานว่ามีมหรสพหลายอย่าง อาทิ โขน  ละคร หุ่น  หนัง  งิ้ว  ไต่ไม้  ไต่ลวด  กายกรรม ฯลฯ โดยอาจแบ่งได้เป็นการแสดงสองประเภทหลัก คือ มหรสพที่เป็นเรื่องราว ได้แก่ โขน  ละคร  หุ่น  หนัง  งิ้วและ มหรสพที่เป็นการละเล่น  ได้แก่  มอญรำ  เทพทอง  โมงครุ่ม  ไต่ไม้  แพนรำ  ไต่ลวด  กายกรรม  กุลาตีไม้ ระเบง  แทงวิไสย กะอั้วแทงควาย รำโคมญวนและรำโคมบัว เป็นต้น

การออกพระเมรุถือเป็นงานออกทุกข์ซึ่งหลังจากไว้ทุกข์มาในช่วงระยะเวลาหนึ่งจึงนำเอามหรสพสมโภชมาเล่นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อเจ้านายสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์ลงจะเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ งานถวายเพลิงพระศพจึงเสมือนเป็นการส่งเสด็จ พร้อมกับแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย  รวมทั้งจะได้สนองพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแสดงถวายด้วยความรักและความอาลัย.


คลิกชมภาพได้ที่นี่ขอรับ....




Create Date : 05 เมษายน 2555
Last Update : 5 เมษายน 2555 8:45:28 น. 0 comments
Counter : 2803 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.