ธรรม นั้นมีอยู่แล้ว เพียงแต่แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย คนเลยไม่เข้าใจธรรม
ธรรม นั้นมีอยู่แล้ว เพียงแต่แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย คนเลยไม่เข้าใจธรรม
จากน้ำที่จืดสนิท ถ้าใส่เกลือลงไปในน้ำนั้น น้ำจะเปลี่ยนรสไป
การที่น้ำเปลี่ยนรส เพราะเหตุปัจจัยนี้
ธรรม นั้นก็เช่นกัน ของบริสุทธิมีอยู่ แต่เพราะเหตุและปัจจัย ทำให้ของบริสุทธิกลาย
เป็นของไม่บริสุทธิขี้นมา แต่เพราะคนไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ คนจึงไม่เข้าใจธรรม
เมื่อคนไม่เข้าใจธรรม ก็เป็นทุกข์เพราะเหตุและปัจจัยที่ผสมเข้ากับความบริสุทธิ
คนไม่เข้าใจธรรม เพราะ คนไม่เห็นการเปลียนแปลงนี้ว่าเกิดเพราะอะไร
การเข้ามาปฏิบัติ เพื่อ่ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
เมื่อนักภาวนาสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ จึงจะเรียกว่า เกิดดวงตาเห็นธรรม
การภาวนา เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม เพื่อไปเห็นการเปลี่ยนแปลง
การจะเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ ตัวจิตต้องไม่เข้าไปผสมร่วมกับการเปลี่ยนแปลง
ที่ตัวจิตเข้าไปผสมร่วมกับการเปลี่ยนแปลง เพราะแรงของตัณหาที่ดึงตัวจิตเข้าไปผสม
สัมมาสมาธิที่จิตตั้งมั่นเท่านั้น จึงจะสามารถต้านแรงดึงของตัณหาได้
นี่คือกุญแจหลักที่จะเกิดดวงตาเห็นธรรม คือ สัมมาสมาธิจิตตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมก็จะเห็นได้เอง
แล้วจะทำอย่างไรให้เกิดสัมมาสมาธิจิตตั้งมั่น
คำตอบก็คือ การฝีกฝนหัดให้จิตตั้งมั่นครับ
ฝีกด้วยให้จิตสัมผัสอาการของขันธ์ 5 แต่อย่าตามอาการเหล่านั้นไป
เพียงรู้ แล้วไม่ตามไป ฝีกอย่างนี้เรื่อยๆ จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมาทีละนิดอย่างช้า ๆ
ขณะที่จิตเริ่มตั้งมั่นบ้างเล็กน้อย ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ จิตก็สามารถเห็นธรรม
ได้ในระดับหนี่งแล้ว พอจิตเห็นธรรมได้บ้าง จิตก็เกิดปัญญาขึ้น
ปัญญาที่เกิดนี้ ก็จะเป็นแรงส่งให้จิตตั้งมั่นมากขึ้นอีก เมื่อจิตตั้งมั่นมากขึ้นอีก
ปัญญาก็เกิดมากขึ้นอีก ก็เป็นแรงส่งให้มากขึ้นอีก วนเวียนอย่างนี้
เป็น positive feedback จนจิตตั้งมั่นอย่างถึงที่สุด จิตก็จะพบกับธรรมที่บริสุทฺธิ
ได้เอง
นักภาวนาที่พัฒนาจิตจนตั้งมั่นได้อย่างมากพอ เขาจะเห็นตัวจิตทีตั้งมั่นได้
เขาจะรูุ้ได้เองเลยว่า จิตตั้งมั่นมีอาการอย่างนี้ จิตไม่วิ่งออกจากฐานเพื่อ
ไปวงกลมที่ 2 หรือไปวงกลมที่ 3 ใครเห็นจิตตั้งมั่นอย่างนี้ได้ คือ ผู้เห็นธรรม
ที่แท้จริง เกิดดวงตาเห็นธรรมทีแท้จริง แต่ถ้ายังเห็นไม่ได้ แล้วบอกว่า
ทำอย่างนี้ซิ ไม่มีทุกข์เลย แสดงว่า นั่นยังไม่ใช่ธรรมที่พบจริง แต่ยังเป็นเพียงความคิด
ของตนเอง
เคร็ดลับการฝีก คือ รูุ้สัมผัสของขันธ์ 5 แต่ไม่ตามสัมผัสนั้นไป
หรือ ทีผมเรียกว่า การรูุ้ทุกข์ที่ไร้ตัณหา
รู้แล้วแต่ไม่ตามไป
ฝีกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ รู้แล้วแต่ไม่ตามไป
แล้วที่รู้แล้วตามไปละเป็นอย่างไร
เช่น เดินจงกรมส่งจิตไปรู้การกระทบที่เท้า
นั่งสมาธิดูลมหายใจ ส่งจิตไปรูุ้ลมที่ปลายจมูุก
เวลาเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน ส่งจิตไปจับการเคลื่อนไหวที่มือ
สิ่งเหล่านี้ คือ การตามไป ซึ่งไม่สมควรกระทำแบบนี้
ฝีกไปเรื่อยๆ รู้อาการของขันธ์ 5 แต่ไม่ตามไป
แล้วจิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเรื่อยๆ เอง
แล้วธรรมก็ปรากฏออกมาเอง
ไม่ต้องไปถามใครในธรรมอีก เพราะเห็นธรรมได้เองแล้ว
อย่าท้อนะครับ เดินหลักนี รูุ้ทุกข์ที่ไร้ตัณหา เดินไปเรื่อย
***
fb 29 Aug 2012
กิจกรรมคร้งที่ 3
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=14-03-2012&group=15&gblog=111
และ
กิจกรรมเสริม 13 กรกฏาคม 2555
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2012&date=04&group=14&gblog=11