สมถะยานิก วิปัสสนายานิก
>>>> สมถะยานิก คือ การภาวนาทีเริ่มต้นด้วยการให้สติไประลึกรู้สภาวะธรรม เป็นการเน้นการระลึกรู้ เช่น เดินจงกรม ก็ให้สติไประลึกรู้การกระทบสัมผัสทีเท้า ( แต่ไม่ได้จ้องทีเท้า แต่เน้นการรู้ลงไปทีเท้าแบบรู้ห่างๆ ....ถ้าจ้องนี่ผิดเลย เป็นการยีดติดไป) การระลึกรู้แบบเน้นเฉพาะจุดแบบนี้ จุดทีเน้นจะรู้ชัด แต่ จะทำให้การรู้จุดอื่นด้อยลงไป เป็นการรู้ทีไม่สมดุลย์

>>>>>วิปัสสนายานิก คือ การภาวนาทีเริ่มต้นด้วยการให้รู้สึกตัวเป็นการนำ เมื่อรู้สีกตัวอยู่ การรู้สภาวะธรรมอื่นๆ จะพอ ๆ กัน แต่ไม่มีการรู้สภาวะใดเด่นชัดเป็นพิเศษ เช่น เดินจงกรม ด้วยวิปัสสนายานิก เพียงด้วยด้วยความรู้สีกตัวเท่านั้น ก็จะรู้สภาวะอื่น ๆ เบาๆ รู้ได้ทั่ว ๆ หลายอย่างพร้อมๆ กัน

*****
สมถะยานิก เปรียบเหมือน นักกล้ามมีแรงมาก แต่โง่
วิปัสสนายานิก เปรียบเหมือน ผู้ชาญฉลาด แต่ไร้แรง

แล้วอย่างไรถีงจะดี ต้องสมดุลย์ทั้ง สมถะยานิก และ วิปัสสนายานิก นักภาวนาต้องฉลาดในการเลือกใช้

สำหรับมือใหม่ มักไม่ชอบวิปัสสนายานิก เพราะดูเหมือนเมื่อฝีกไป ไม่เห็นได้อะไร เพราะมันเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่เพราะมือใหม่มักใจร้อน และ ไม่เข้าใจแนวทางวิปัสสนายานิก เพราะเมื่อฝีกวิปัสสนายานิก จิตจะไวขึ้นในการรู้ทุกข์ แต่เนื่องจากไม่มีแรงในการดับทุกข์ จึงรู้สึกไปว่า ยิ่งฝีกไปไม่ดีขึ้น เพราะทุกข์ไม่ลดลง

สำหรับสมถะยานิก ยี่งฝีกไป จิตจะลดความว่องไวลง ทำให้รู้สึกเหมือนว่า ฝึกแล้วดูเหมือนทุกข์ลดน้อยลงไปกว่าเดิม ทำให้มือใหม่ มักชอบแบบนี้ และ คนสอนก็สอนง่ายกว่าแบบวิปัสสนายานิกมาก

แนะนำอ่านเพิ่มเติม
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2010&date=01&group=6&gblog=7



Create Date : 24 เมษายน 2557
Last Update : 24 เมษายน 2557 9:18:17 น.
Counter : 4192 Pageviews.

0 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ณ : กะว่าก๋า
(28 มิ.ย. 2568 06:00:59 น.)
พระพุทธสิหิงค์ : หลวงพ่อเพชร ผู้ชายในสายลมหนาว
(27 มิ.ย. 2568 15:34:46 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ความรักเท่าที่รู้ : กะว่าก๋า
(23 มิ.ย. 2568 04:26:06 น.)
"หลวงพ่อโต" วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มิ.ย. 2568 02:46:10 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Namasikarn.BlogGang.com

นมสิการ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]

บทความทั้งหมด