เหตุและปัจจัยในธรรม <<< สิ่งทีทำให้นักภาวนาสับสนในการภาวนา
ถ้าท่านดื่มน้ำเปล่าที่บริสุทธิ สอาด จะได้รสจืดที่อาจหวานนิดหน่อย
แต่ถ้าท่านนำน้ำตาลสัก 1 ช้อนชา ใส่ลงไปในน้ำสอาดทีจืด แล้วค้นจนน้ำตาลละลาย
ตามองไม่เห็นน้ำตาลในน้ำแล้ว ถ้าดื่มน้ำนี้ ท่านจะรู้สึกหวานมากขึ้น
แต่ถ้าท่านใส่เกลือ 1 ช้อนชาลงในน้ำสอาดทีจืด แล้วค้นจนเกลือละลายดีแล้ว
มองไม่เห็นเกลืออีก ถ้าดื่มน้ำนี้ ท่านจะรู้สึกเค็ม
การดื่มน้ำ 3 แบบที่ตาเห็นว่าเหมือนกัน แต่รสชาดมันต่างกัน ทั้งนี้เพราะเหตุและปัจจัยที่ผสมอยู่ในน้ำที่สอาด จืดนั้นนั้นเอง
ในธรรมก็เช่นกัน ตัวจิตจริงๆ นั้นจืดสนิท ไม่มีอะไรเลย มีแต่สภาวะรู้ที่ไม่มีรูปร่าง มองก็ไม่เห็น
แต่พอมีเหตุและปัจจัยเข้าผสมลงในตัวจิต จีงทำให้จิตเป็นสิ่งต่างๆ ที่ต่างออกไป
นักภาวนามักคุ้นกับทางโลก พอเห็นอะไรก็คิดว่า สิ่งนั้นมันเป็นอย่างนี้ พอเห็นอาการทีออกมาที่พบในการภาวนาว่าเป็นอย่างนี้ ก็มักคิดว่า อ๋อมันเป็นอย่างนี้ ถูกแล้ว มันต้องเป็นอย่างนี่ซิ เป็นอย่างอื่นไม่ได้
การเข้าใจอย่างนี้ จะเป็นธรรมดาของนักภาวนาที่คุ้นกับทางโลก แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นเลย
ซีง ความจริง มันเป็นอย่างๆ ตามเหตุและปัจจัยทีเข้าผสมกับจิตเข้าไป เหมือน อย่างเรื่องน้ำข้างต้น
การพบสภาวะในการภาวนานั้น ขอให้เข้าใจว่า มันเป็นด้วยเหตุและปัจจัยทีเข้าผสม
มันจะเป็นอะไรก็ได้ ทีพบในแต่ละครั้ง อย่าไปถือว่า สิ่งที่พบมันจะเป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป
สภาวะธรรมนั้น มันมีหลักอยู่ว่า ให้พบได้ พบบ่อย นะ ดี แต่มีข้อแม้ว่า พบแล้วอย่าไปยีดติด
อย่าไปยีดถือว่า ต้องเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น เพียงพบแล้วก็ไม่สนใจใยดีกับมันอีก ถ้าเป็นอย่างนี้ พบแล้วจะสลาย แล้วก็พบใหม่อีก สลายอีก การภาวนาเราต้องการอย่างนี้ นี่คือ การรู้ทุกข์ ซ๊่งแปลว่า พบสภาวะธรรมที่เป็นไตรลักษณ์ พบแล้วอย่าให้มีตัณหา คือ อย่าไปใสใจ ยีดติด
การไม่ใส่ใจ ไม่ยีดติด จิตจะไม่เข้าไปเกาะติดในสภาวะธรรมที่พบ นี่คือ ** ความเป็นอิสระของจิต ที่เป็นสิ่งที่จะไม่ทุกข์ต่อไป ซีงก็คือ นิโรธ ** ทำอย่างนี้ พบอย่างนี้ บ่อยๆ บ่อยๆ จิตจะตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่น แล้วอำนาจของตัณหาก็จบลงไปเอง นี่คือ เส้นทางเดินของการพ้นทุกข์ในการภาวนา ทีอธิบายด้วย อริยสัจจ์ 4 ส่วนวิธีการภาวนา ฝีกฝนนั้น มันเป็นเพียงอุบายในการฝีกของแต่ละอาจารย์ แต่ละสำนัก จะใช้แบบใด ถูกหมด ถ้าเดินตามอริยสัจจ์ 4 แต่จะผิดหมด ถ้าไม่เดินตามอริยสัจจ์ 4
อย่าคิดมาก ยิ่งคิดมาก ยิ่งห่างไกลอริยสัจจ์ 4 มากขึ้นไปทุกที
อย่าไปคิดถึง โสดา ...อรหันต์ เดินตามอริยสัจจ์ 4 ไม่ทุกข์แน่นอนครับ