นักภาวนาไม่ว่ามือเก่าหรือมือใหม่ ถ้าจะไปให้ถีงปลายทางแห่งการสิ้นไปของทุกข์ จะมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้
1..เริ่มจากการศีกษาให้เข้าใจในสติปัฏฐานก่อน ว่าสติปัฏฐานปฏิบัติอย่างไรจีงจะถูก อย่างไรจีงจะผิด
2..เมื่อเข้าใจในข้อ 1 แล้ว ก็ลงมือฝีกฝนให้เกิดความชำนาญ ซี่งการฝีกฝนนั้น จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
2.1 การฝีกฝนในรูปแบบ
2.2 การฝีกฝนในชีวิตประจำวัน
ซี่ง 2 ลักษณะนี้ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ผมจะเขียนไว้ในเรื่องนี้ให้อ่านกัน
***********************************

2.1 ในการฝีกฝนในรูปแบบนั้น ท่านสมควรฝีกรู้ในการเน้นที่ วงกลม A/B/C (ขอให้ดูจากภาพข้างบน) ส่วนวงกลม D นั้นจะไม่เน้นและไม่ให้ความสำคัญและไม่ให้ความสนใจ
เนื่องจากการฝีกฝนในรูปแบบ นักภาวนาไม่ต้องทำงานอืนไปด้วย ดังนั้น การฝีกฝนแบบนี้ จึงใช้ได้ดีสำหรับมือใหม่
แต่ถ้าการฝีกฝนเป็นไปด้วยความเครียด การฝีกก็จะไปไม่ได้ดีเช่นกัน ดังนั้น นักภาวนาควรฝีกด้วยความผ่อนคลาย อย่าให้มีตึงเครียดเกิดขึ้น
อีกประการหนี่ง สำหรับมือใหม่ กำลังจิตยังอ่อนแอ การรับรู้ วงกลม A / B ยังไม่สามารถทำได้ ก็ขอให้ละเว้นวงกลม A/B ไปก่อนได้ แต่ถ้าเมื่อไร ทีกำลังจิตสูงขึ้นแล้ว สามารถรับรู้วงกลม A / B ได้แล้ว เมื่อถึงตอนนั้น จึงฝีกรับรู้ไปด้วย
แต่วงกลม C ควรฝีกให้รับรู้อยู่บ่อยๆ จึงจะทำให้มีการพัฒนากำลังจิตให้ตั้งมั่นต่อไปได้
******************
2.2 สำหรับการฝีกฝนในชีวิตประจำวันนั้น เป็นการฝีกรู้สภาวะทีเกิดในกิจกรรมในชิวิต เช่น การอาบน้ำ ซักผ้า รับประทานอาหาร หรือ อื่นๆ อีกมากมาย ซี่งในชีวิตประจำวันนั้น ต้องการเน้นทีวงกลม D อยู่แล้ว เพราะถ้าไม่เน้นวงกลม D การทำกิจกรรมในชิวิตประจำวันก็จะไม่ได้ผลทีดีตามมา หรือ มีความผิดพลาดสูงได้ เมื่อคนเน้นวงกลม D จึงมักละเลยที่จะรับรู้วงกลม A / B / C ได้
ดังนั้นในการฝีกฝนก็คือ ในขีวิตประจำวันเมื่อเน้นวงกลม D แล้ว ให้ฝีกการรับรู้ในวงลกม A/B/C
เท่าทีสามารถจะรับรู้ได้ด้วย สำหรับมือใหม่แล้วเป็นสิ่งทียากพอสมควร แต่ถ้าไม่หมั่นฝีกฝนไป
การพัฒนาความก้าวหน้าก็จะเป็นไปได้ยาก
******
หลักการฝีกฝนด้วยกฏ 3 ข้อทีผมตั้งขึ้น
1. รู้สีกตัว
2. เฉยๆ สบาย ๆ ผ่อนคลาย
3. อย่าอยากรุ้อะไร แต่ให้จิตเขารู้เอง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2013&date=12&group=14&gblog=16