รู้แล้ววาง รู้แล้วปล่อย รู้แล้วทิ้ง รู้แล้วไม่ยีดติด
รู้แล้ววาง รู้แล้วปล่อย รู้แล้วทิ้ง รู้แล้วไม่ยีดติด
คำพวกนี้ ก็คือ อย่างเดียวกัน แต่....
นักภาวนาไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องวาง ทำไมต้องปล่อย ทำไมต้องทิ้ง
พอไม่รู้ ไม่เข้าใจ สิ่งที่นักภาวนาจะทำก็คือ พยายามทำสภาวะธรรมทีพบนั้นให้กลับมาใหม่อีกครั้งหนี่ง นีคือ การปฏิบัติทีไม่ตรงทางเข้าสู่มรรค
เมื่อภาวนาไปมาก ๆ นักภาวนาจะพบสภาวะธรรมต่างๆ มากมาย
สภาวะบางอย่างก็เข้าใจได้ บางอย่างก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไร
นั่นไม่สำคัญ แต่ทีสำคัญก็คือ นักภาวนาส่วนมาก พอพบสภาวะแล้ว
ก็พยายามจะทำให้สภาวะแบบนั้นกลับฟื้นคืนชีพมาอีกครั้งหนี่ง
เพราะเข้าใจว่า สภาวะแบบนั้น คือ สิ่งทีถูกที่ควร ทีควรจะเป็นอย่างนั้นอยู่นาน ๆ
ในกิจกรรมครั้งที 10 ผมได้อธิบายถีงจุดมุ่งหมายของการฝีกฝนไปว่า
คือการพัฒนาจิตผู้รู้ให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้น
การมีประสิทธิภาพของจิตผู้รู้ จะดูจากอะไรหรือ...
ก็ดูจากทีว่า
1..รู้ได้เร็วไหม ตรงนี้จะเน้นทีการรู้ได้เร็วของจิตปรุงแต่ง
2..รู้แล้วไม่ยีดติดสภาวะธรรมทีรู้ได้ ตรงนี้ คือ ความสามารถในการปล่อยวางของตัวจิตผู้รู้เองที่มีต่อสภาวะธรรม
3..มีการรู้สภาวะธรรมทีละเอียดมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตรงนี้ คือ การมีปัญญาญาณทีก้าวหน้าไปตามลำดับ
ถ้านักภาวนาพบสภาวะธรรมแล้วพยายามไปทำให้เกิดใหม่อีก นี่เป็นการจงใจกระทำ หรือ พูดว่า เป็นการยีดติดตัวสภาวะธรรมก็ได้ ถ้าทำแบบนี้ ความก้าวหน้าในการพัฒนาตัวจิตผู้รู้จะหยุดชะงักแค่นั้นเอง
ในการรู้แล้วปล่อยวางไปเรื่อยๆ สภาวะธรรมอะไรก็ตามต้องปล่อยวางทั้งหมด เมื่อจิตผู้รู้มีการพัฒนาไปตามลำดับไปเรื่อยๆ สุดท้าย จะพบกับสภาวะของสุญญตาได้ และจะเข้าใจคำสอนในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง แล้วจึงจะเกิดการไม่ยีดมั่นถือมั่นในธรรมอีกต่อไป
นีคือเหตุผลทีว่า ทำไมการพบสภาวะธรรมต่าง ๆ จึงต้องปล่อยวางสภาวะธรรมเหล่านั้นไปเรื่อยๆ อย่ายีดเอาไว้
เรื่องรู้แล้วปล่อย รุ้แล้วทิ้ง นักภาวนาก็ดูเหมือนจะเข้าใจ แต่ปฏิบัติจริงกลับลืมไปได้ เป็นอย่างนี้จริงๆ ซะด้วยครับ