น๊อคน้ำเย็น
ในพระไตรปิฏก อาทิตตปริยายสูตร //www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=4669&Z=4738

พระพุทธองค์ได้ตรัสถีงความเร่าร้อนเมื่อได้สัมผัสกับอายตนะทั้ง 6 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นวิสัยของปุถุชนโดยทั่วไป

แต่ในนักภาวนา เมื่อกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิแก่กล้าถีงในระดับหนี่ง เมื่อความเร่าร้อนเกิดขึ้นในจิตใจเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งทีเข้ามาทางอายตนะแล้ว ด้วยกำลังสัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ ความเร่าร้อนนั้นก็จะสลายลงไปเป็นไตรลักษณ์ ได้ประจักษ์ถีงความไม่เที่ยงแห่งความเร่าร้อนในจิตใจนั้น

เมื่อกล่าวในแง่การภาวนา เมื่อนักภาวนาพบกับสภาวะดังกล่าวคือ ความเร่าร้อนในจิตใจเกิดขึ้นแล้ว และ ต่อมาได้ดับสลายลงไปเป็นไตรลักษณ์แล้ว จิตได้ประจักษ์ความไม่เที่ยงของสภาวะนั้นแล้ว ดูเหมือนว่า นี่ก็คือถูกต้องแล้วในการภาวนา

แต่นักภาวนาผู้มีความสังเกตอันแยบยล ย่อมไม่ปล่อยในนาทีทองนี้หลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย ถีงแม้ว่า จิตได้ประจักษ์แล้วแห่งความไม่เที่ยงของสภาวะธรรมทีได้พบแล้ว แต่นักภาวนาผู้แยบยลย่อมต้องสังเกตสภาวะแห่งความเป็นไปด้วยใน 2 สภาวะดังกล่าวทีเกิดขึ้น กล่าวคือ อาการของสภาวะตอนทีเร่าร้อน และ สภาวะอาการตอนทีสงบเย็น

คำถามคือ สังเกตไปทำไมกัน รู้เพียงไตรลักษณ์ไม่พออย่างนั้นหรือ....
คำตอบก็คือ ไม่พอครับ
การสังเกตสภาวะแห่งความเร่าร้อน จะทำให้จิตเกิดปัญญาในแง่ของการรู้ทุกข์อริยสัจจ์
ส่วนสังเกตสภาวะตอนสงบเย็น จะทำให้จิตเกิดปัญญาในแง่ของการรู้จักนิโรธ
ทุกข์อริยสัจจ์นั้นสังเกตได้ง่าย ส่วนนิโรธสังเกตได้ยาก
การสังเกตสภาวะดังกล่าวใน 2 ระดับ ทำให้จิตพบสภาวะความแตกต่างอย่างสุดขั้วของสภาวะใน 2 ระดับ กล่าวคือ ระดับทีเป็นทุกข์ และ ระดับทีไม่ทุกข์ซี่งก็คือนิโรธ

ในระดับทีเป็นทุกข์ จิตจะเพิ่มความว่องไวในสัมมาสติ และ ความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิ
ในระดับทีไม่ทุกข์หรือนิโรธ จิตจะเสพย์คุ้นกับสภาวะของการไม่มีทุกข์ได้ ยิ่งจิตได้เสพย์คุ้นสภาวะนี้ได้บ่อยเท่าใด จิตยิ่งจะรู้จักสภาวะนี้มากยิ่งขี้น จนเมื่อไปถีงจุดหนี่ง จิตจะพบสภาวะนี้ได้เองอย่างง่ายดายในชีวิตประจำวัน ซี่งปกติแล้ว สภาวะนี้จะมีอยู่แล้ว แต่คนไม่สามารถรู้ถีงได้เองโดยไม่ต้องผ่านขบวนการของทุกข์อริยสัจจ์นำนหน้ามาก่อน เมื่อจิตสามารถพบแล้วแห่งสภาวะของการไม่ทุกข์โดยไม่ผ่านการเกิดทุกข์อริยสัจจ์มาก่อน นี่คือการเข้าสู่นิโรธในอริยสัจจ์ 4 ทีเป็นธรรมชาติ

ในการทำอาหาร มีหลายอย่างด้วยกันทีเหล่าแม่ครัวได้ใช้ความร้อนใส่ลงไปในอาหาร จากนั้นก็นำอาหารทีกำลังร้อนจัด จับแช่ในน้ำเย็นหรือน้ำแข็งทันที ซี่งศัพท์ในทางทำอาหารเรียกกันว่า การน๊อคน้ำเย็น เช่นเดียวกับสิ่งทีเขียนไว้ในเรื่องนี้เช่นเดียวกันทีตอนแรกจิตเร่าร้อนแล้วต่อมาจิตได้ดับลงเป็นความเย็นอย่างฉับพลัน

บทความนี้ อ่านดูเรียบง่าย ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ไม่มีอะไรน่าสนใจ แต่ถ้าท่านอ่านด้วยความพินิจพระเคราะห์อย่างถี่ถ้วน ท่านย่อมได้สาระแห่งการภาวนาทีท่านนำไปใช้ได้จริง จนสามารถพบกับปัญญาในระดับโลกุตระได้

ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ทุกท่านเทอญ
สวัสดีปีใหม่ มกราคม 2559




Create Date : 10 มกราคม 2559
Last Update : 10 มกราคม 2559 10:16:44 น.
Counter : 1746 Pageviews.

0 comments
:: ถนนสายนี้มีตะพาบ โครงการที่ 379 :: กะว่าก๋า
(25 มิ.ย. 2568 05:15:58 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - หล่นไปในสมมุติ : กะว่าก๋า
(24 มิ.ย. 2568 04:11:57 น.)
อำนาจของพุทโธ นาฬิกาสีชมพู
(23 มิ.ย. 2568 19:24:08 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ความสุขโดยสังเกต : กะว่าก๋า
(22 มิ.ย. 2568 05:29:20 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Namasikarn.BlogGang.com

นมสิการ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]

บทความทั้งหมด