จะเน้นแต่สมาธิก็ไม่ได้ จะเน้นแต่ปัญญาก็ไม่ได้
การภาวนาน้้น ครูบาอาจารย์บางคน จะพูดว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย
มันไม่มีตัวตนอยู่แล้ว ถ้าไปทำซิ ตัวตนจึงจะมี
ท่านพูดก็ถูกของท่านครับ แต่ไม่ถูกสำหรับคนอื่น
เพราะอะไร....
คนทั่ว ๆไปนั้น เนื่องจากจิตคุ้นชินกับตัณหาอยู่แล้ว คุ้นแบบไม่รู้ตัวด้วยว่า
จิตมีตัณหาเจือปนอยู่ แถมโมหะก็เกิดเกือบตลอดเวลาทีตื่นอยู่
ถ้าไม่ทำอะไรเลย จะไม่มีทางเกิดอาการของการไม่มีตัวตนได้เลย
คนทั่ว ๆ ไปจึงต้องเริ่มต้นที่สัมมาสมาธิก่อน ฝีกฝนเข้าไป ฝีกให้มาก ๆ
ฝีกบ่อยๆ ฝีกเสมอ ๆ อย่าเกียจคร้าน ตอนฝีกนี่ถีงแม้ว่าจะมีความจงใจ
ฝีกฝน เมื่อจงใจทำ ความมีตัวตนย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แต่ถ้าไม่ฝีกเลย ก็จะกลับไปอยู่กับโมหะ อยู่กับตัณหา การพัฒนาจะไม่มี
ดังนั้น....จึงต้องเลือกการฝีกไว้ก่อน เพื่อสกัดกั้นโมหะ และ ตัณหา
เมื่อฝีกฝนไปสักระยะ จิตเริ่มมีความเคยชินกับการฝีกได้บ้างแล้ว
ตอนนี้แหละ นักภาวนาจะเกิดปัญญาในเบื้องต้นขึ้นได้
ปัญญาเบื้องต้นนี้ เกิดเพราะจิตเริ่มมีสัมมาสมาธิ แล้วไปเห็น
ไตรลักษณ์ของกิเลสได้อย่างจัง
เมื่อเกิดปัญญาในเบื้องต้นขึ้น ปัญญานี่แหละจะไปส่งเสริมให้สัมมาสมาธิตั้งมั่นขึ้นอีก
นิด แล้วเมื่อสัมมาสมาธิตั้งมั่นขึ้นอีกนิด ก็จะส่งเสริมให้เห็นไตรลักษณ์ของกิเลสได้มากขึ้น ได้บ่อยขึ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์ของกิเลสมากขึ้นอีก ก็จะส่งเสริมให้สัมมาสมาธิตั้งมั่นขึ้นไปอีก แล้วก็วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ
จะเห็นว่า ถ้านักภาวนาจะมุ่งเน้นแต่ทำสมาธิอย่างเนียวแน่น
กดข่มไม่ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นในจิตใจได้เลย
ปัญญาจะไม่เกิดขึ้น เพราะกิเลสไม่เกิดให้จิตเห็น
แต่ถ้านักภาวนาฝีกฝนสัมมาสมาธิ แล้วปล่อยให้กิเลสเกิดในจิต
ได้ดังทีได้อธิบายไว้ข้างบนแล้ว ปํญญาจะเกิดได้ จนขบวนการของ สัมมาสมาธิ >>>เอื้อให้เกิดปัญญา >>>> การเพิ่มขึ้นของสัมมาสมาธิ >>> เอื้อให้เกิดปัญญามากขึ้น มากขึ้น จนนักภาวนาเกิด *ญาณเห็นจิต* ได้
เมื่อนักภาวนาเกิด *ญาณเห็นจิต*ได้แล้ว ก็จะพบความจริงเองทีว่า
ถ้าไม่ทำอะไรเลย นั้นคือ ความไม่มีตัวตนจะแสดงออกมา
แต่ถ้าไปทำนั่นแหละ ความมีตัวตนจึงจะแสดงออกมา
อย่างทีครูบาอาจารย์ท่านนั้นได้พูดไว้
นี่คือ ขบวนการแห่งการพัฒนากำลังสัมมาสมาธิ พัฒนาปัญญาของจิต เพื่อความไม่ทุกข์
ไม่ใช่ทำแต่สมาธฺิ แต่ไม่เดินปัญญา หรือ มุ่งแต่ปัญญา แต่ไม่ทำสมาธิเลย
ซี่งสมาธิและปัญญา ต่างก็เกื้อหนุนซี่งกันและกันไปตามลำดับ จนถีงจุดหมายปลายทางแห่งการไม่ทุกข์