อะไรคือ การทำสมถะ ในการภาวนา
ปัญหาหนี่งของนักภาวนา คือ การไม่เข้าใจในคำสมมุติทีตั้งขึ้นมา แล้วนำมาซี่งปัญหาในการภาวนา

คำว่า " สมถะ " เป็นคำสมมุติคำหนี่งของพุทธศาสนา มีคนเป็นจำนวนมากทีแปลว่า การทำจิตให้สงบ มันก็ถูก ภาวนามือใหม่ทีเพิ่งเข้าวงการจะเข้าใจอย่างนี้

แต่ถ้าใครภาวนามานานจนมีประสบการณ์ในภาวนาเพื่อการพ้นทุกข์แบบพุทธศาสนาทีสอนไว้ จะเข้าใจได้เองว่า ทีว่า สมถะ คือ การทำจิตให้สงบ นั่นถูก แต่ถูกเพียงส่วนหนี่ง อีกมีอีกบางส่วนของเหตุผลในการทำสมถะยังไม่ได้กล่าวถีง

มีการสอนกันมากในการภาวนาว่า
>>>> ต้องทำจิตให้สงบก่อนด้วยสมถะ แล้วจึงยกจิตเพื่อพิจารณาอันเป็นการเดินวิปัสสนาได้

.....แต่ก็มีบางอาจารย์สอนว่า
>>>>> สมถะไม่ต้องทำ จิตมันสงบอยู่แล้ว จะทำไปทำไม การไปทำนี่ จะยิ่งทำให้จิตไม่สงบ

...บางอาจารย์ก็สอนว่า
>>>>> วิปัสสนาทำไม่ได้ ต้องให้เกิดเอง เพราะเป็นธรรมชาติ ถ้าไปทำ ก็ไม่ใช่ธรรมชาติ เป็นการปรุงแต่ง ถ้าไปทำ เป็นวิปัสสนาปลอม คือ ไม่ใช่วิปัสสนาแท้ ๆ

..................................

ผมไม่สรุปให้ครับว่า คำสอนใครผิดใครถูก แต่ผมจะยกพระไตรปิฏกขึ้นมาอ้างถีง คือ สมาธิสูตร ผมขอนำมาเขียนในแบบภาษาชาวบ้านอ่าน ได้ความว่า.... ภิกษุ จงเจริญสมาธิเถิด เมื่อจิตตั้งมั่น จักรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริง...

จะเห็นว่า พระไตรปิฏก ไม่ได้เขียนไว้เลยว่า ให้ทำสมถะให้จิตสงบแล้วจึงยกจิตขึ้นเจริญวิปัสสนา แต่พระไตรปิฏกเขียนว่า ให้ทำสมาธิจนจิตตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นจักรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริง การรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงก็คือ วิปัสสนา

พระไตรปิฏกเขียนไว้แล้วว่า วิปัสสนา ไม่ใช่การทำขึ้นมา แต่เป็นการรู้เห็นความเป็นจริงของธรรมเมื่อจิตตั้งมั่นอยู่

พระไตรปิฏกเขียนไว้อย่างนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านใช้ปัญญาพิจารณาเอาเองครับว่า คำสอนใดน่าจะเชื่อถือหรือไม่อย่างไร

*******************
ทีนี้ ผมจะเขียนอธิบายว่า สมถะ ทีทำนั้น ทำเพื่ออะไรในการดับทุกข์

1...คนมักเข้าใจว่า การทำสมถะ คือ การฝีกจิต ให้จิตรู้ในสิ่งเดียว เช่น การไปจ้องรู้ลมทีปลายจมูก หรือ การไปจ้องรู้เท้าเวลาเดินจงกรม หรือ การไปจ้องรู้ท้องพองยุบเวลาหายใจ หรือ ไปจ้องลูกแก้วทีในท้อง หรือ ไป จดจ่ออยู่ทีคำภาวนา

ผมไม่ปฏิเสธครับว่า การกระทำดังกล่าว เมื่อทำแล้ว จิตจะสงบ นั่นถูกต้อง แต่การสงบแบบนี้ เป็นการสงบ ทีไปขัดแย้งกับคำสอนในอริยสัจจ์ 4 ทีว่า
ตัณหา คือ การยีดติด ให้ละเสีย ( อริยสัจจ์ 4 ข้อที 2 ) การไปจดจ่อรู้แบบนี้ จึงเป็นตัณหาทีจิตไปจับยีด แทนทีการภาวนาจะทำโดยให้ละตัณหา ดังคำสอนในอริยสัจจ์ 4 แต่กลับไปสร้างตัณหาขึ้นมายีดติดซะอย่างนั้น

แต่ถ้าใครพอใจจะทำ ก็เป็นสิทธิของนักภาวนา ไม่มีใครห้ามได้ แต่ผมเพียงชี้ให้เห็นว่า การกระทำดังกล่าว จะขัดแย้งกับคำสอนในอริยสัจจ์ 4 ข้อที 2 ในเรื่องของการละตัณหา แต่กลับไปสร้างตัณหาขึ้นมาในการภาวนา เมื่อทำการภาวนาแล้วขัดแย้งกับคำสอน การภาวนาจะก้าวหน้าตามคำสอน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังท่านทีภาวนามานานเป็น 10 ปี ย่อมรู้แก่ใจดีว่า ทำไมถีงภาวนาแล้วยังไม่ไปไหนเลย ไม่ก้าวหน้าเลย... ผมแนะนำให้ท่านพิจารณาเอาเองดังในตอนที 1 นี้ว่า สิ่งทีท่านทำการภาวนานั้น ขัดแย้งกับคำสอนในอริยสัจจ์ 4 หรือไม่

2..ในการเจริญ สมถะ เพื่อการพ้นทุกข์ ทีจะไม่ขัดแย้งกับอริยสัจจ์ 4 ก็คือ การทีมีความตั้งใจในการภาวนา

**** เพียงตั้งใจในการภาวนา ก็เป็นสมถะแล้วครับ ***

เพราะความตั้งใจนี่แหละ ทำให้จิตมันนิ่งได้ทันที จิตจะสงบทันที เพียงตั้งใจฝีกฝนสติปัฏฐาน 4 แบบไม่มีการยีดติดดังข้อที 1 ก็เป็นการฝีกฝนทีดี เพื่อตรงเข้าสู่องค์มรรคในทันที

แต่ท่านนักภาวนาต้องรู้ว่า การฝีกฝนสติปัฏฐาน 4 แบบไม่ยิดติดนั้น ทำได้อย่างไรก่อน แล้วจึงตั้งใจทำการฝีกฝนนั้นต่อไป

เมื่อทำการฝีกฝนไปก่อนด้วยความตั้งใจสักพักหนี่ง สักระยะหนี่งแล้ว ต่อเมื่อละทิ้งความตั้งใจในการฝีกฝน จิตก็จะเข้าสู่โหมดของวิปัสสนาได้เองทันที โดยไม่ต้องไปยกจิตอะไรขึ้นมาทำอะไรเลย เพราะการยกจิตยังเป็นการตั้งใจกระทำ วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ถ้ามีความตั้งใจในจิตอยู่

3.. ทำ สมถะ เพื่อการผ่อนคลายของจิตและกาย

นักภาวนาทีผ่านการภาวนามาแล้วเป็นอย่างมาก จะพบได้เองเลยว่า ในยามปกตินั้น จิต และ กาย มันตึงเครียดอยู่เสมอ คนทั่วไป จะเข้าใจในเรื่องนี้ได้ยาก เพราะยังไม่รู้จักสภาวะของความตึงเครียดทีเกิดขึ้นทีใจและกาย แต่บางคนทีทำงานหนัก ก็พบได้ด้วยตนเองว่า มีความตึงเครียด ก็มักหาทางออกแบบโลก ๆ ด้วยการไปพักผ่อนต่างจังหวัด ไปเที่ยวดูหนัง ไปรับประทานอาหารอร่อย ๆ

แต่ในทางภาวนา สามารถสลายความตึงเครียดได้ในด้วยการทำภาวนา

วิธีการ สมถะ เพื่อการผ่อนคลาย สามารถอ่านได้จากบทความนี้
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2015&date=09&group=17&gblog=132

****************************
เรื่องท้ายบท

ในพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกแสวงหาโมกขธรรม เจ้าชายไปเรียนวิชาการทำสมาธิกับพระอาจารย์ฤาษี 2 ท่าน จนสำเร็จฌานสมาบัติขั้นที 8 อันเป็นขั้นสูงสุด แต่ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์ พระองค์ทรงทราบว่า วิชาสมาธิฌานสมาบัติ 8 นี้ไม่ใช่หนทางทีพระองค์ทรงค้นหา แล้วพระองค์ก็ทรงออกจากสำนักแล้วเดินทางต่อไป

ต่อมาเจ้าชายทรงค้นพบ ทางสายกลาง อันมีอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นหนทางปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ เจ้าชายได้พบความจริง จึงทรงประกาศ อริยสัจจ์ 4 อันเป็นแก่นพุทธศาสนาให้แก่ชาวพุทธ ไว้ศีกษาปฏิบัติและเดินตาม

อริยสัจจ์ 4 นั้น
ข้อที 1 ทุกข์ ให้ รู้
ข้อที 2 สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา ให้ละเสีย
ข้อที 3 นิโรธ คือ ความไม่ทุกข์ ให้ทำให้เข้าใจ ให้แจ่มแจ้งขึ้นมาในจิตให้ได้
ข้อที 4 มรรค คือ หนทางการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ อันได้แก่ทางสายกลาง อันมี มรรค 8 เป็นวิธิการ

พระไตรปิฏก ยังเขียนไว้ในสติปัฏฐาน 4 ว่า ถ้าใครปฏิบัติแล้ว อย่างช้า 7 ปี อย่างเร็ว 7 วัน จักสำเร็จเป็นพระอรหันต์หรือไม่ก็พระอนาคามี

ถ้าท่านนักภาวนาทีภาวนามานานเกิน 7 ปี ยังไม่เป็นพระอนาคามี ก็ขอให้สำรวจเถิดว่า สิ่งทีท่านเข้าใจในการภาวนานั้น ท่านเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนไปจากคำสอนของพระพุทธองค์หรือไม่ในข้อใด เมื่อทราบแล้่วก็ขอให้ปรับเปลี่ยนใหม่ เมื่อตรงทางองค์มรรค ย่อมเข้าสู่กระแสแห่งมรรค แล้วความหลุดพ้นย่อมปรากฏไปตามลำดับของการพัฒนาญาณปัญญาของจิตเอง

บทความนี้ ฝากไว้พิจารณา อย่าได้เชื่อถือ แต่ขอให้ใช้ปัญญาพิจารณาคำสอนของพระพุทธองค์ให้ดีเถิด แล้วพิสูจน์ด้วยตนเองครับ

แนะนำอ่าน...รื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=02&group=8&gblog=53




Create Date : 26 กันยายน 2558
Last Update : 26 กันยายน 2558 9:34:08 น.
Counter : 3708 Pageviews.

0 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - วิชา ภูผา ชีวิต : กะว่าก๋า
(30 มิ.ย. 2568 05:01:21 น.)
รัศมีขันธ์ ข้อมูลของขันธ์ สร้างบารมี ไม่เอาชนะ เก็บ ใช้ แก้อธรรม ปัญญา Dh
(1 ก.ค. 2568 21:05:35 น.)
พระพุทธสิหิงค์ : หลวงพ่อเพชร ผู้ชายในสายลมหนาว
(27 มิ.ย. 2568 15:34:46 น.)
ทรัพย์จะไปทำอะไรดี Turtle Came to See Me
(25 มิ.ย. 2568 09:06:42 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Namasikarn.BlogGang.com

นมสิการ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]

บทความทั้งหมด