ได้ *สมาธิ*มีอาการอย่างไร
นักภาวนาทีไม่เคยพบกับอาการของการ *ได้สมาธิ* มักจะเข้าใจเองว่า การทีตนนั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม แล้ว ไม่มีความคิดโผล่เข้ามาในหัวสมอง นั่นคือการได้สมาธิ นักภาวนาทีเข้าใจแบบนี้ มักจะพยายาม และ ก็พยายาม และ ก็พยายามอย่างมาก ๆ ทีจะกดจิตไว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาแล้วแต่ว่าตนจะได้เคยอ่าน ได้เคยเรียน ได้เคยฟัง จากทีใดมา เพื่อไม่ให้มีความคิดโผล่เข้ามาในสมอง

พอทำอย่างนี้ ก็เป็นการภาวนาทีเป็นการกดข่มจิตไปทันที ผลก็คือ ยิ่งกดข่มจิตมากเท่าใด ยิ่งห่างไกลจากการได้สมาธิไปทุกที

ในตำราพระอภิธรรม ได้กล่าวไว้ว่า ความสุข เป็นเหตุใกล้ให้เกิด สมาธิ

ถ้าอย่างนั้น การทีคนไปดูภาพยนต์ทีชื่นชอบ ได้ฟังเพลงทีชื่นชอบ ได้ดูภาพทีชื่นชอบ ได้อยู่กับคนรักทีชื่นชอบ ได้รับประทานอาหารทีชื่นชอบ ก็น่าจะได้สมาธิซิ

มิใช่อย่างนั้นเลยครับท่านนักภาวนา

ความสุขทีเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธินั้น เป็นความสุขทีไม่เจือด้วยโลกีย์ ซึ่งอาการของความสุขแบบนี้ คือ อาการทีไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ต่างหาก

เมื่อมีความคิดใด ๆ ในสมองเกิดขึ้น ตอนนั้นอาจจะมีสุขแบบโลกีย์หรืออาจมีทุกข์อยู่ก็ได้
ยิ่งการพยายามกดข่มจิต ไม่ให้คิด นั้นคือ การมีความคิดทีจะกดข่มจิตแล้ว ซี่งการสร้างความคิดแบบนี้ สมาธิ จะไม่มีทา่งเกิดขึ้นได้เลย

แล้วสมาธิจะเกิดได้อย่างไรกัน

เมื่อนักภาวนาได้หมั่นเจริญมรรค 8 อันมีอริยสัจจ์ 4 เป็นแม่บทไปพอสมควร จิตจะเริ่มมีกำลังตั้งมั่นแห่งสัมมาสติสัมมาสมาธิ แล้วอาการแห่งไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ก็จะสามารถเกิดขึ้นได้เอง เมื่ออาการแห่งไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ได้เกิดขึ้นในขณะเดียวกับการมีสติสัมปชัญญะพร้อม สมาธิก็จะเกิดแว๊บขึ้นได้ ซึ่งการเกิดสมาธิแบบนี้ จะต้องเกิดเอง ไม่มีทางทำให้เกิดสมาธิแบบนี้ได้เลย

เมื่อเกิดสมาธิขึ้น ผลทีสังเกดได้ทันทีคือ มีอาการแห่ง กายเบา จิตเบา (ภาษาพระเรียกว่า กายลหุตา จิตลหุตา ) ซี่งนักภาวนาทีเกิดสมาธิขึ้นจะรู้ได้ทันทีและรู้ได้เองในอาการแห่งกายเบา จิตเบานี้

นอกจากอาการกายเบา จิตเบาแล้ว ยังมีอาการแห่งจิตทีปลอดโปร่ง และจะรู้/เห็น สภาวะธรรมบางอย่างทีไม่เคยพบเห็น ไม่เคยรู้มาก่อนได้ด้วย ซึ่งอาการแห่งการรู้สภาวะธรรม มักจะเกิดได้ไม่นานนัก อาจเป็นเพียงแว๊บหนี่งสั้น ๆ หรือ อย่างเก่งก็ไม่เกิน 5 นาทีแล้วก็จะหายไป แต่อาการแห่งจิตใจทีปลอดโปร่ง ปราศจากทุกข์ ปราศจากสุขในโลกีย์ นั้น อาจจะปรากฏได้นานเป็น ชั่วโมง เป็นวัน ๆ หรือ เป็นอาทิตย์ ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังจิตของนักภาวนาแต่ละคน แล้วต่อมาความปลอดโปร่งแห่งการไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขในโลกีย์ ก็จะเสื่อมลงไป กลับมาเหมือนเดิมอีก นีคือความไม่เที่ยงแห่งสมาธิ

เมื่อสมาธิไม่เที่ยงก็จริง แต่ผลของสมาธิ คือ การทีจิตเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงได้ นี่คือสิ่งประเสริฐทีจะทำให้นักภาวนามีปัญญาเพิ่มขึ้นไปอีกหนี่งระดับ

การเกิดของสมาธิแบบนี้ ไม่ใช่เกิดได้บ่อยๆ และทำให้เกิดก็ไม่ได้ด้วย นักภาวนาเพียงหมั่นเจริญสติปัฏฐานตามมรรค 8 แล้วรอเวลาให้สมาธิเกิดขึ้นเอง ปัญญาทีเกิดเพราะสมาธิก็จะค่อยๆ เจริญงอกงามต่อไป จนถีงระดับแห่งการไม่ยีดมั่นถือหมั่นอีกต่อไปได้ ซึ่งต้องใช้เวลาบ่มเพาะนานพอสมควร

ท่านอาจสงสัยว่า สมาธิแบบนี้ทีว่า เกิดได้นานเป็นชั่วโมง ๆ เป็นวัน ๆ เป็นอาทิตย์ นีต้องนั่งสมาธินานอย่างนั้นเลยหรือ
ผมขอเฉลยว่า ไม่ใช่อย่างนั้นครับ สมาธิแบบนี้ เกิดได้ในทุกอิริยาบท ไม่จำเป็นว่า ต้องนี่งสมาธิเท่านั้นจึงจะเกิดสมาธิได้ การเกิดขึ้นของสมาธิแบบนี้ จะเกิดเมื่อไร นักภาวนาไม่มีทางคาดเดาได้เลย จู่ ๆ จะเกิดมันก็เกิด ไม่เลือกอาการว่าจะต้องนั่งสมาธิเท่านั้น และพอเกิดแล้ว จะอยู่ในท่าใดของร่างกายก็ได้เช่นกัน ไม่จำเป็นว่า ต้องนั่งสมาธิต่อเพื่อให้สมาธิคงตั้งอยู่ได้

เมื่อท่านรู้แล้วว่า สมาธิเกิดได้อย่างไร อาการเป็นอย่างไรแล้ว ท่านนักภาวนาก็น่าจะลองพิจารณาตัวเองว่า สิ่งทีตนกำลังทำอยู่แล้วเข้่าใจว่า กำลังทำสมาธิ ท่านนักภาวนาทำอย่างนี้มานานกี่ปีกันแล้ว และสมาธิเกิดขึ้นจริงๆ ได้แล้วหรือไม่ประการใด

กา่รสร้างเหตุด้วยการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ทีตรงทางเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ แล้วผลของสมาธิ จะไปให้จิตรู้เห็นสภาวธรรมอันเป็นปัญญาเพื่อการพ้นทุกข์ได้ต่อไป

จำง่าย ๆ ครับว่า
สมาธิ เกิด เมื่อหมดความตั้งใจ




Create Date : 09 มิถุนายน 2557
Last Update : 9 มิถุนายน 2557 8:32:36 น.
Counter : 2094 Pageviews.

0 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เหตุใดเราจึงมีชีวิตอยู่ : กะว่าก๋า
(6 ก.ค. 2568 05:16:58 น.)
ตั้งจิตมั่น เป็นกลาง เป็นธรรม ชนะที่ควร ปลูกธรรมะ พลังขันธ์ ปัญญา Dh
(5 ก.ค. 2568 18:58:11 น.)
ที่อยู่ถูกสูตร ตั้งหลัก อธิษฐาน การทำ เพียร กล้า กล้าหาญ เข้มแข็ง อดทน สู้ ปัญญา Dh
(3 ก.ค. 2568 10:00:07 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - แห่งใดหรือคือบ้าน : กะว่าก๋า
(29 มิ.ย. 2568 05:44:44 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Namasikarn.BlogGang.com

นมสิการ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]

บทความทั้งหมด