.
1...นักภาวนาทีภาวนามาได้สักระยะหนึ่ง
มักจะเกิดอาการอย่างหนึ่งขึ้นคือ
เมื่อมีความรู้สึกตัวขึ้นมาเมื่อใด จะเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นมาทันที
และเมื่อเกิดอาการนี้ขึ้น ก็มักจะพบว่า อาการความรู้สึกตัวนี้
จะเกิดอยู่ยาวนาน ไม่ค่อยเผลอ
ดูเหมือนจะได้ผลดีในการภาวนาด้วยซ้ำไป
ทีมีความรู้สึกตัวยาวนาน ไม่ค่อยเผลอเลย
.
แต่ความทุกข์ก็จะค้างอยู่อย่างนั้นยาวนาน
ทำให้ไม่มีความสุขในชีวิต
.
ผลเสียอีกประการหนี่งของคนทีเกิดอาการนี้ขึ้นก็คือ
เขาจะนอนหลับยาก หรือ นอนไม่ค่อยหลับ
หรือ นอนแล้วฝันบ่อย ทำให้นอนไม่เต็มอิ่ม
รู้สีกเหนื่อย เพลียเมื่อตื่นอยู่
.
2..สาเหตุทีเกิดอาการนี้ขึ้นเพราะอะไร
ความเป็นปุถุชนนั้น ตัวจิตมักจะไหลออกไปสู่โลกภายนอกเสมอ
นี่คือธรรมชาติที่สร้างมาให้เป็นเช่นนี้ เมื่อจิตไหลออกไปสู่โลกภายนอก
อาการรู้สึกทุกข์จะไม่เกิดขึ้นเลย เพราะได้สูญเสียความรู้สึกตัวไป
ทำให้จิตไม่รับรู้อาการทุกข์ทีเกิดขึ้นทีกายใจ
.
แต่เมื่อนักภาวนาได้ฝึกฝนมาสักระยะหนึ่ง จิตทีเคยไหลออกไปสู่โลกภายนอก
ก็จะไหลออกน้อยลงไป ความรู้สึกตัวทีเคยหายไปตลอดเวลาเมื่อจิตไหลออกนอก
ก็จะปรากฏมีมากขึ้น แต่จิตทีเคยไหลออกนอก ถึงไม่ไหลออกนอกก็จริง
แต่จิตนั้นจะค้างอยู่แถวบริเวณหน้าผากส่วนหน้าของคนเรา
อาการจิตค้างอยู่นี้ นักภาวนาบางคน อาจรู้สึกได้ว่า
ทีบริเวณใบหน้าจะมีอะไรนูน ๆ ปรากฏอยู่
และบางครั้ง ก็จะรู้สึกหนัก ๆ ทีศรีษะด้วย
.
เมื่อจิตค้างอยู่แถวหน้าผาก อาการปรุงแต่งทางจิตจะเกิดขึ้นทันที
อาการปรุงแต่งนี้แหละที่ทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ขึ้นมา
ยิ่งถ้าการปรุงแต่งได้แปลภาษาออกมาเป็นเรื่องราวทางโลก
ทีเป็นทุกข์ ความทุกข์ยิ่งปรากฏตัวหนักมากขึ้นไปอีก
.
ประกอบกับเกิดความรู้สึกตัวได้มากขึ้น นักภาวนาจึงรู้สึกว่า
เมื่อรู้สึกตัวเมื่อใด ความทุกข์จะปรากฏขึ้นมาทันที
และความทุกข์นั้นไม่หายไปไหน จะปรากฏค้างอยู่ทีตลอดทีมีความรู้สึกตัวอยู่
.
3..แนวทางแก้ไขทุกข์ทีเกิดขึ้นแบบนี้ จะทำอย่างไร
.
ในการแก้ไขอาการทางจิตทีเกิดจากการภาวนานั้น
สามารถทำได้หลายอย่าง แล้วแต่ผู้ภาวนาจะทำอย่างไร
หรือครูบาอาจารย์ทีสอน จะได้แนะนำอย่างไรแก่ลูกศิษย์
ซึ่งผมจะนำเสนอวิธีการแก้ไข 3 อย่างด้วยกันดังนี้
.
3.1 การแก้ไขด้วยการรู้สึกลงไปทีจิต
วิธีนี้ ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ แต่ก็มีบางคนทีทำได้
วิธีการก็คือ เมื่อเกิดรู้สึกทุกข์ทีเกิดขึ้นแบบทีเขียนไว้ข้างต้น
ให้นึกไปถีง อาการทางจิตทีดี เช่น
** อาการจิตทีสงบ
** อาการจิตเงียบ
** อาการจิตทีปลอดโปร่ง สดใส
เพียงนึกอาการทางจิตอย่างใดอย่างหนี่งที่ทำได้
อาการรู้สึกเป็นทุกข์จะหายไปทันที
.
หมายเหตุ วิธีนี้เป็นสมถะภาวนา
ถ้าใครจะหมั่นนึกแบบนี้ แล้วไม่ทุกข์ โดยนึกอยู่เสมอ ๆ เนืองๆ
ก็จะเป็นการเจริญสมถะภาวนาอยู่เนือง ๆ
ดังทีทราบกันแล้วว่าการเจริญสมถะนั้น มีผลดี แต่ไม่ทำให้เกิดปัญญา
.
3.2 การแก้ไขโดยการรู้สึกลงไปทีกาย
วิธีนี้ จะง่ายกว่า 3.1 คนทีทำได้จะมีมากกว่า 3.1 มาก
วิธีการก็คือ ให้รู้สึกถึงการสัมผัสลงไปทีผิวกายให้มากขึ้น
เช่น รู้สีกถึงเสื้อผ้าโดนร่างกายอยู่ เป็นต้น
.
หมายเหตุ วิธีนี้ เป็นสมถะภาวนาเช่นเดียวกับข้อ 3.1
.
3.3 วิธีผสมผสาน ข้อ 3.1 และ 3.2 เพื่อให้เกิด สมถะ และ วิปัสสนา
สลับไปมา
วิธีการก็คือ เมื่อท่านทำข้อ 3.1 หรือ 3.2 อยู่
แล้วขณะที่ทำ อาการทุกข์ได้หายไป ขอให้ทำต่อไปอีกสัก 2 ถึง 3 นาที
เพื่อให้ทุกข์หายไปนานขึ้นอีกสักหน่อย เมื่อทุกข์หายไปแล้ว
ให้หยุดทำ เมื่อหยุดทำ ทุกข์ทีเคยเป็นอาจกลับมาใหม่ได้อีกเสมอ
เมื่อทุกข์กลับมาใหม่ ให้ทำข้อ 3.1 หรือ 3.2 ซ้ำใหม่ได้
ต่อเมื่อทำแล้ว ทุกข์หายไป ก็ให้หยุดทำอีก
แล้วรอเวลาให้ทุกข์มาใหม่ จึงทำใหม่
ให้ทำวนเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
.
เมื่อทุกข์เกิด แล้วหายไปเพราะทำสมถะ แล้วเกิดใหม่อีกเมื่อหยุดทำสมถะนั้น
จะเป็นการเจริญสมถะ เวียนไปกับการทำวิปัสสนา
.
3.4 การแก้ไขโดยการทิ้งการภาวนาไปเลย แล้วกลับไปสู่สภาวะปุถุชนเหมือนเดิม
วิธีนี้ ถ้าใครทำข้อ 3.1 หรือ 3.2 ไม่ได้เลย
ให้ทำข้อนี้ คือ เลิกภาวนาไปชั่วคราว จนกว่าอาการนี้จะหายไป
.
4..อาการนี้ จะหายไปเมื่อใด
อาการนี้ ไม่หายไปได้เลย ถ้าตราบใดทีจิตไปค้างอยู่แถวบริเวณหน้าผาก
แล้วนักภาวนาไปยึดอาการนี้ไว้
.
แต่ถ้านักภาวนาสามารถผ่านอาการนี้ไปได้ก็คือ
เมื่ออาการนี้เกิดขึ้นอยู่ก็ตาม แต่นักภาวนายังมีสติทีรู้ลงไปทีโลกภายในได้ด้วย
เช่นรู้สึกถึงการสัมผัสทีเกิดขึ้นทีกาย
หรือ รู้สึกได้ถึงอาการทางจิต ทีปลอดโปร่ง สดใจ ได้ด้วย
เมื่้อนักภาวนาสามารถมีสติรู้อยู่ในโลกภายในได้ดีขึ้น
อาการทุกข์แบบนี้ ถึงมีอยู่ แต่จะเบาบางลงไป
และจะไม่รู้สึกทุกข์หนักเหมือนเดิมอีก
.
ขอให้นักภาวนาทำความเข้าใจกับสติปัฏฐานให้กระจ่าง
การรู้สึกไปทีอาการเดียวทีเป็นทุกข์นั้น คือ การยึดติด
เมื่อยึดติดแล้ว ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้รู้สึกทุกข์ รู้สึกไม่สบายขึ้นมาได้
ความเป็นสติปัฏฐานนั้น เมื่อนักภาวนาทำการภาวนาได้ตรง
ทาง นักภาวนาจะสามารถรู้สึกได้ทุกอย่างในสติปัฏฐานครบถ้วนทั้งหมด
กล่าวคือ จะรู้หมด ทั้ง กาย เวทนา จิต ธรรม
การรู้ถ้วนในสติปัฏฐาน คือ การมีสติระลึกได้ในสติปัฏฐาน ทีไม่มีการยึดติด
แต่อย่างใด
ผมเขียนอย่างนี้ คงค้านกับความเห็นความเข้าใจของนักภาวนาหลาย ๆคน
อยู่ แต่ฝากไว้ให้ท่านพิจารณา