ยิ่งฝีกฝนการภาวนา ยิ่งไม่ก้าวหน้า จะแก้ไขอย่างไร
มีคำถามที่น่าสนใจในกิจกรรมครั้งที 11 ว่า

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคำถามว่า....
ยิ่งฝีกฝน ทำไมยิ่งถอยหลัง อารมณ์โหโหฉุนเฉียวเกิดง่าย เกิดบ่อยมากกว่าเดิม จะแก้ไขอย่างไรดี

ในการภาวนานั้น จะก้าวหน้าหรือไม่นั้น ให้ใช้หลักการของอริยสัจจ์ 4
ข้อที 1 และ 2 เป็นเครื่องมือตรวจสอบ

เมื่อภาวนาไป อารมณ์โมโหฉุนเฉียวทีเกิดขึ้น เมื่อจิตไปสัมผัสได้แล้ว
นี่คือ ทุกข์ทีเกิดขึ้น
เมื่อเกิดแล้ว ก็ให้ดูต่อไปว่า จิตไปยีดติดหรือไม่
นีคือ การสำรวจสภาวะของตัณหา

ถ้าจิตไปยีดติดด้วยตัณหา ทุกข์ทีเกิด จะเกิดค้างอยู่นาน
ถ้าจิตรู้แล้วไม่ยีดติดด้วยตัณหา ทุกข์ที่เกิดแล้วจะดับไปเป็นไตรลักษณ์ในเวลาทีไม่นาน

การภาวนานั้น ไม่ใช่ไปดูว่า จิตใจนิ่งสงบไม่มีอารมณ์ไม่ดีเกิดขึ้น
แต่นักภาวนาต้องดูว่า สิ่งทีเกิดในจิตใจนั้น เกิดได้ด้วยเหตุและปัจจัย
แต่สิ่งเหล่านี้ ถูกยีดติดไว้หรือไม่ นีคือ วิธีตรวจสอบการภาวนาของตนเอง

ถ้านักภาวนาฝีกฝนไป แล้วพบว่า จิตใจหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย
แต่พบว่า ทุกครั้งทีเกิดอารมณ์ดังกล่าว มีสภาวะการรู้เกิดขึ้น และอารมณ์เหล่านี้
ได้ดับสลายไปอย่างรวดเร็วเป็นไตรลักษณ์
ถ้านักภาวนาพบแบบนี้ แสดงว่า การภาวนาได้ก้าวหน้าแล้ว ไม่ใช่ไม่ก้าวหน้า

ขอให้อ่านเรื่องนี้ ประกอบ
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=03-2016&date=25&group=17&gblog=142

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มีอีกคำถามหนี่งมีว่า

ตอนฝีกเดินจงกรม ทำไมความคิดมี คิดไม่หยุด จะแก้ไขอย่างไร

เรื่องนี้ ขอให้นักภาวนาสำรวจอย่างนี้ว่า ทีว่า คิดไม่หยุด นั้น ยังสามารถรู้อาการทางกายในขณะเดินจงกรมได้อยู่หรือไม่

ถ้านักภาวนาสามารถรู้อาการทางกายได้อยู่ นักภาวนาไม่ต้องตกใจ ขอให้ปล่อยอาการ
คิดไม่หยุดไว้ต่อไป ให้จิตเขาคิดไป แต่ต้องรู้กายไปด้วย แล้วฝีกฝนต่อไป
เพราะในขณะทียังรู้กายได้อยู่ แต่มีความคิดด้วย แสดงว่า ตอนนั้น จิตไม่ได้หลุดไปเกาะติดกับความคิด เมื่อจิตไม่หลุดออกไปเกาะกับความคิด
แสดงว่า จิตตั้งมั่นในระดับหนี่งแล้ว

การฝีกฝนอย่างนี้ต่อไป จะยิ่งทำให้จิตตั้งมั่นมากขึ้นไปตามลำดับ
การมีความคิดเกิดขึ้น แต่จิตตั้งมั่นได้อยู่
จะยิ่งเป็นตัวการส่งเสริมให้นักภาวนามีจิตตั้งมั่นได้เป็นอย่างดี

แต่ถ้านักภาวนา เดินจงกรม แล้วมีความคิด แต่เกิดอาหารไม่รู้อาการทางกายแล้ว
อย่างนี้ แสดงว่า จิตได้หลุดไปเกาะกับความคิดแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้
ไม่ดีครับ
วิธีแก้ ก็คือ ขอให้เพิ่มความตั้งใจในการเดินให้มากขึ้น
เช่นเดินช้าลงไปกว่าเดิม การตั้งใจมากขึ้น จะทำให้จิตหยุดความคิดได้ดีขึ้
ความคิดจะเกิดน้อยลง

==============
ความเข้าใจในพื้นฐานของการภาวนานั้นเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะถ้าเข้าใจไม่ตรงทาง จะทำให้เข้าใจผิดและผลคือ
จะไม่สามารถพัฒนาจิตจนเข้าสู่การหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้เลย

จำไว้แม่น ๆ ครับ อริยสัจจ์ 4 ข้อ 1 และ 2 ทีว่า
ทุกข์ให้รู้ แต่สมุทัยคือตัณหา ต้องละเสีย
แปลว่า อย่าให้จิตไปเกาะติดกับทุกข์ทีรู้นั่นเองครับ
แต่ถ้าไม่รู้ทุกข์เลย นีใช้ไม่ได้นะครับ

ขอบคุณท่านทีถาม



Create Date : 21 พฤษภาคม 2559
Last Update : 21 พฤษภาคม 2559 8:15:49 น.
Counter : 2409 Pageviews.

0 comments
ข้อคิด สะกิดจิต สะกิดใจ ตอนที่ 4 อาจารย์สุวิมล
(3 ก.ค. 2568 15:24:41 น.)
เกิดดับ นาฬิกาสีชมพู
(3 ก.ค. 2568 11:48:41 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ความสุขโดยสังเกต : กะว่าก๋า
(2 ก.ค. 2568 04:34:43 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - โตเกียวไม่มีขา : กะว่าก๋า
(27 มิ.ย. 2568 05:35:40 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Namasikarn.BlogGang.com

นมสิการ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]

บทความทั้งหมด