วิธีแก้การจ้องสภาวะแล้วปวดหัวเกิดขึ้น
ถ้าปวดหัวในการภาวนา ก็จะมีว่า

1.เกร็ง ไม่ผ่อนคลาย

2..ไปจ้องสภาวะธรรมอะไรสักอย่าง การจ้องนี้ลำบากที่จะพูด บางครั้งผมบอกว่า จ้อง คนทีมาถาม ก็บอกว่า เขาไม่จ้อง แต่จริงๆ เขาจ้อง แต่เขาไม่รู้ตัวว่าไปจ้อง วิธีแก้จ้อง ก็คือ การใช้สายตาช่วย ให้ตามองไปข้างหน้า มองไปไกลๆ แต่อย่าจ้องอะไรเป็นพิเศษ ให้ทำเหมือนตอนนั่งรถไฟ แล้วมองไปนอกหน้าต่างรถไฟ เห็นทิวทัศน์ ภูเขา ท้องฟ้า แต่เห็นได้ แต่ไม่จ้องอะไรเป็นพิเศษ การมองไกล ๆ คนมักไม่ชอบ เพราะว่า พอมองไกลๆ การรู้สภาวะจะอ่อนลงไป คนมักชอบอยากรู้สภาวะชัด ๆ แรงๆ แต่นั้นมันไม่ถูกที่จะรู้แบบชัด ๆ ตอนฝีกฝน เพราะจะทำให้ปวดหัวได้ การรู้สภาวะตอนฝีกฝนที่ดี คือ รู้เบามาก ๆ รู้แผ่ว ๆ ให้รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง นี่ดีกว่า การไปรู้ชัดๆ เสียอีก ...แต่ตอนจิตเดินวิปัสสนาเอง จิตจะเห็นสภาวะชัดมาก และ จะเห็นสภาวะนั้นอย่างเดียวด้วย อย่างอื่นก็จะไม่เห็น ซี่งต่างจากตอนฝีกที่ให้รับรู้สภาวะมาก ๆ รู้หลาย ๆ อย่าง รู้กว้าง ๆ ไม่เจาะจง

มีการแก้ใขการจ้องอีกแบบหนี่ง ก็คือ การรู้สึกถึง การรู้สึกถึงนั้น จะไม่เหมือนกับการมองไกล ๆ แต่จะรู้สึกถึงกาย หรือ ถึงจิต เมื่อรู้สึกถึง จะเห็นไว่า ตาจะเหมือนเห็นภาพมัว ๆ สักหน่อย (แต่การมองไกลๆ ทีเขียนข้างบน ตาจะไม่มัว เห็นชัด แต่ไม่เห็นลายละเอียดของสิ่งที่เห็น ) สำหรับการฝีก คนใหม่ ทียังรุ้สึกลงไปที่จิตไม่ได้ ก็ให้รู้สึกที่กายก่อน ถ้าสงสัยว่า รู้สึกที่กายทำอย่างไร ก็ลองใช้ cotton bud ปั่นหูดู ตอนปั่นหูนั้น ให้สังเกต อาการตาตัวเอง ว่า มัว ๆ ใช่ใหม แล้วรู้สึกทีรับได้ตอน cotton bud ทีกำลังปั่นหูอยู่ ก็คือ การรู้สึกแบบนั้น ทีนี้ พอรู้สึกเป็น ก็ลองมา ลูบหลังมือเล่นดู สังเกตตามัว แล้วรู้สึกถึงการลูบได้ด้วย ถ้าจะให้ดี ก็หาพัดลมมาเปิดส่ายไปมา รู้ลมกระทบกายไปด้วย เพื่อเพิ่มให้รู้หลายๆ อย่างได้ ....แต่ถ้าใครรู้สึกลงไปทีจิตได้ ก็รู้สึกลงไปทีจิตแทนกาย แต่จิตมันละเอียดกว่ากาย พอรู้สึกลงไปที่จิต ก็จะรู้สึกถึงกายได้ด้วย เช่นกัน

การที่เราฝีกเพื่อให้จิตรู้หลายๆ อย่างพร้อม ๆ กัน จุดประสงค์ก็คือ เวลาจิตรู้อะไรพร้อมกันหลาย ๆ อย่าง ตอนนั้น จิตจะเป็นอิสระอยู่ จิตที่เป็นอิสระอยู่เสมอ ๆ คือ จิตพร้อมที่จะเดินวิปัสสนาญาณได้เอง ซี่งนักภาวนาต้องการคือ จิตเดินวิปัสสนาได้เองเพื่อให้จิตมีปัญญาเกิดขึ้น แต่ถ้าเราฝีกแบบสนใจอะไรเป็นพิเศษ เช่น สนใจลมเป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นสมถะ ในขณะที่จิตสนใจลมเป็นพิเศษ จิตจะเดินวิปัสสนาเองไม่ได้เลย แต่จิตจะมีความสงบอยู่เท่านั้น

การมองไกล ๆ แบบมองที่รถไฟ สภาวะแบบนี้ จะใกล้เคียงธรรมชาติของคนเรา และ จิตพร้อมที่จะเดินวิปัสสนาได้เองมากกว่าแบบการรู้สึกถึงแบบใช้ cotton bud ซี่งการรู้สึกถึงกายในขณะฝีกฝน จะเป็นสมถะภาวนา ซี่งตอนฝีกก็ฝีกไปเป็นสมถะ แต่ตอนเดินวิปัสสนานั้น จะเกิดในระหว่างดำเนิชิวิตประจำวันอยู่



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2556 6:22:10 น.
Counter : 2897 Pageviews.

2 comments
พระพุทธสิหิงค์ : หลวงพ่อเพชร ผู้ชายในสายลมหนาว
(27 มิ.ย. 2568 15:34:46 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ความรักเท่าที่รู้ : กะว่าก๋า
(23 มิ.ย. 2568 04:26:06 น.)
ไม่เปลี่ยนใจ ไม่โลภ รู้จักพอ แทนคุณ การอยู่ ทำผิด ความถูก ความดี ปัญญา Dh
(2 ก.ค. 2568 07:37:44 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ความสุขโดยสังเกต : กะว่าก๋า
(22 มิ.ย. 2568 05:29:20 น.)
  
หมายเหตุ ผมเขียนถึงการแก้ใขการจ้อง แต่ในการฝีกฝนนั้น ถ้าท่านไม่เข้าใจ ขอให้ไปดูในวิดิโอกิจกรรมบรรยายต่าง ๆ ที่อยู่ในหมวดกิจกรรมครับ
โดย: นมสิการ วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:6:27:02 น.
  
กิจกรรมธรรมปฏิบัติ ครั้งที่ 5 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2556 เวลา 13-16 น.

ท่่านทีสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ลงชื่อได้ที่นี่ครับ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=03-2013&date=15&group=14&gblog=14

โดย: นมสิการ วันที่: 20 มีนาคม 2556 เวลา:8:24:20 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Namasikarn.BlogGang.com

นมสิการ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]

บทความทั้งหมด