พ้นทุกข์ด้วยสมาธิ ไม่ทุกข์ด้วยปัญญาญาณ
พุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติเพื่อการพ้นไปจากทุกข์
ในการพ้นทุกข์นั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ระดับ คือ
1..การพ้นทุกข์ด้วยสมาธิ
ท่านเคยถูกใครจับกดน้ำไหม ท่านจมอยู่ในน้ำ หายใจไม่ได้ ท่านอีดอัดมาก
จนแทบจะทนไม่ได้อยู่แล้ว จู่ ๆ คนทีจับท่านก็ยกท่านให้โผล่มาเหนือน้ำทันที
วินาทีแรกทีท่านหายใจได้ ท่านจะรู้สีกถีงความไม่ทุกข์ทันที เพราะความทุกข์ทีมีอยู่ในวินาทีทีแล้ว ได้หายไปอย่างฉับพลัน
การพ้นทุกข์ด้วยสมาธิ จะมีอาการคล้ายๆ แบบนี้
เมื่อจิตเป็นทุกข์ จิตถูกโมหะเข้าครอบงำก่อน แล้วกิเลสตัวอื่นก็จะเข้ามาผสมโรง
คนทีเป็นทุกข์ จิตจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสจนดิ้นไม่หลุด
อาการคล้ายๆ กับตอนถูกจับกดน้ำ
ด้วยอำนาจของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จิตทีตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส สามารถสลัดกิเลสทีครอบงำจิตให้หลุดออกไปเป็นอิสระ เมื่อจิตหลุดออกจากการครอบงำ จิตจะพบกับอาการแห่งการไม่ทุกข์อย่างฉับพลัน เหมือนการได้หายใจทันทีหลังจากโดนจับกดน้ำมา
นักภาวนาจะพบกับความแตกต่างอย่างสุดขั้วของ 2 สิ่งอย่างฉับพลัน คือ
ทุกข์ และ การหลุดออกจากทุกข์
ความแตกต่างนี้ จะทำใ้ห้นักภาวนาเข้าใจอย่างเข้าไปในจิตใจว่า
ทุกข์คืออย่างนี้ การหลุดออกจากทุกข์คืออย่างนี้
และเป็นเหตุแห่งการสร้างปัญญาให้เห็นโทษของกิเลส และ เห็นคุณของสมาธิ
ยังมีการหลุดออกจากทุกข์อีกแบบหนี่ง คือ การหลุดออกทีไม่ฉับพลัน
เช่น คนทีกำลังอกหัก เขาอกหักจะเป็นจะตาย ช่วงทีทุกข์หนัก จิตไม่หลุดออกจากทุกข์
แต่พอเวลาผ่านไปนานเข้า ทุกข์เพราะอกหักจะค่อยๆ คลายตัวออกอย่างช้า ๆ
แล้วเขาก็จะลืมการอกหักไปชั่วคราว
การหลุดจากทุกข์แบบนี้ ไม่ฉับพลัน ไม่ก่อให้เกิดปัญญา
อีกไม่นาน คนทีอกหักและหายไปชั่วคราว ก็พร้อมจะกลับมอกหักใหม่อีกรอบ
วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น
ความแตกต่างระหว่างการพ้นทุกข์อย่างฉับพลันและไม่ฉับพลัน คือ ความชัดแจ้ง
ทีต่างกัน ความชัดแจ้งทีชัดกว่าด้วยการหลุดอย่างฉับพลันจะซีมลีกเข้าไปในจิตใจ
ทีสามารถเปลี่ยนนิสัยอะไรบางอย่างได้ แต่การหลุดแบบไม่ฉับพลันจะไม่เข้าไปในจิตใจ และไม่ก่อผลใด ๆ ในการเปลี่ยนแปลงนิสัย
กลไกแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์แบบฉับพลันนั้นจะเป็นว่า...
เมื่อโมหะเข้าครองงำจิตได้แล้ว จิตจะตกเป็นทาสของโมหะ เพราะการหลงลืมตัว
แต่ด้วยอำนาจแห่งสัมมาสติ จิตทีตกอยู่เป็นทาสของโมหะ จะสลัดตัวออกจากโมหะได้อย่างฉับพลัน แล้วกำลังของสัมมาสมาธิจะเดินต่อเนื่องจากสัมมาสติทีจบการทำงานลงไป
ให้จิตนั้นตั้งมั่นเป็นอิสระจากโมหะต่อไปได้ แล้วกิเลสจะสลายไปเองเป็นไตรลักษณ์เพราะธรรมชาติของกิเลสจะเป็นเช่นนี้ทีจิตเป็นอิสะออกมาได้
นีคือกลไกการประหารกิเลสด้วยสัมมาสมาธิ
การฝีกตามอริยมรรคมีองค์ 8 ทีถุกทางเท่านั้น กล่าวคือ การฝีกรู้ทุกข์ด้วยการละตัณหา
ทำบ่อยๆ ฝีกมาก ๆ จิตจะไปสร้างกำลังจิตขึ้นอยู่ภายใน และ พร้อมจะนำมาใช้งานในรูปของสัมมาสติ สัมมาสมาธิได้ทันที เมื่อถูกกิเลสเข้าโจมตี
2..การไม่ทุกข์ด้วยปัญญาญาณ
จิตทีผ่านการฝีกฝนมาดีพอควร จะมี ญาณ เกิดขึ้นอย่างหนี่งเรียกว่า ปัญญาญาณ
ปัญญาญาณนี้จะทำให้ จิตเห็นจิต ได้เมื่อจิตเห็นจิตได้เมื่อไร จิตจะพบว่า สภาวะทีแท้ทีเป็นธรรมชาติของจิตคือความว่างเปล่า ตราบใดทีเกิดสภาวะ จิตเห็นจิต ได้อยู่ กิเลสใด ๆ จะเกิดไม่ได้เลย เมื่อกิเลสเกิดไม่ได้ ทุกข์เพราะกิเลสก็เกิดไม่ได้เช่นกัน
ในอริยสัจจ์ 4 ข้อที 3 ทีพระพุทธองค์ได้ทรงสอนว่า นิโรธ คือ ความไม่ทุกข์ นั้นให้ทำให้แจ้ง (แปลว่า ให้เห็นขึ้นมาได้ ) ซี่งก็คือ สภาวะแห่ง จิตเห็นจิต หรือจะเรียกว่า ปัญญาญาณ ก็ได้ หรือ นิโรธ ก็ได้ มันคือสิ่งเดียวกัน
ปัญญาญาณ เป็นผลจากการหลุดพ้นจากทุกข์ด้วยสมาธิก่อน จิตมีปัญญาจากการหลุดพ้นด้วยสมาธิ และ ค่อยๆ สะสมขึ้นมาจนมากเข้า พอถีงระดับหนี่งทีจิตมีปัญญามากพอ จิตมีกำลังปัญญามากพอ ก็จะเกิดปัญญาญาณขึ้นมา
ปัญญาญาณนี้ก็มีหลายระดับขึ้นกับประสบการณ์ทีผ่านทุกข์มาได้ และ ขึ้นอยู่กับระดับของกำลังสัมมาสมาธิอีกด้วย
สัมมาสมาธิทีตั้งมั่นอย่างมั่นคง และ ปัญญาทีผ่านทุกข์มามาก จะทำให้จิตมีประสบการณ์เต็มในปัญญาญาณ
****************************
นี่คือ ขบวนการดับทุกข์ในพุทธศาสนา ทีสอดคล้องเป็นอย่างดีกับอริยสัจจ์ 4 ทีพระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า
ทุกข์ ให้รู้
สมุทัย คือ ตัณหา ให้ละเสีย
นิโรธ คือ ความไม่ทุกข์ ทำให้แจ้ง
มรรค คือ วิธีปฏิบัติ ทำให้มาก ๆ ทำให้บ่อยๆ
กุญจแห่งการไม่ทุกข์ด้วยทีอริยสัจจ์ 4 นี่เอง
พีงศีกษา ทำความเข้าใจในกระจ่างแจ้ง
เมื่อกระจ่างแจ้งได้ในอริยสัจจ์ 4
จักเข้าใจในอริยสัจจ์ 4 แล้วเข้าใจกลไกแห่งความไม่ทุกข์ได้ในทีสุด