สติทางธรรม เป็นเช่นไร
.
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนครับว่า สติ นั้นมี 2 อย่าง คือ
.
1..สติ โลกภายนอก
2..สติ โลกภายใน ตัวนี้มีชื่อพิเศษ เรียกว่า สัมมาสติ หรือ สติทางธรรม
.
1..สติ โลกภายนอก นั้น ก็คือ ความตั้งใจ ทีเกิดขึ้นในจิตใจ
ถ้าทำอะไร มีความตั้งใจ ก็คือ การมีสติโลกภายนอก พอมีสติโลกภายนอก ก็จะทำงานต่างๆ ในทางโลกได้ เช่น ขับรถได้ ทำงานทีบริษัทจ้างท่านมาทำงานได้ เป็นต้น
.
2..สัมมาสติ หรือ สติในโลกภายใน หรือสติทางธรรม
ตรงนี้ก็คือ การไม่หลง (หมายความว่า ไม่ถูกโมหะครอบงำ จนขาดความรู้สึกตัวไป)
เมื่อไม่หลง แล้ว ต้องมีการรู้สึกได้ถึงอาการทางกาย อาการทางใจ ได้ด้วย (คำว่า รู้สีกได้ ภาษาพระจะใช้คำว่า ระลึกได้ หรือ บางอาจารย์ ก็ใช้คำพูดว่า นึกขึ้นมาได้ )
.
กล่าวในแง่การปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเกิดการจงใจไปจ้องรู้สภาวะธรรมของกาย ใจ จะไม่ใช่ สัมมาสติ เพราะการจงใจจ้องรู้ จะเป็น ภวตัณหา ซึ่งเป็นกิเลส เมื่อเป็นการกระทำด้วยกิเลส สิ่งทีเกิดขึ้นก็จะไม่ใช่สัมมาสติ
นี่คือ สิ่งทีผิดพลาดเสมอในการปฏิบัติธรรมของนักภาวนา
.
ถ้าไม่จ้องรู้สภาวะธรรม แล้วจะให้ทำอย่างไรละ จึงจะรู้สภาวะธรรม ??
.
ท่านนักภาวนาต้องมีความตั้งใจทีไม่มากเกินไปเพื่อให้เกิดสติทางโลกก่อน ถ้ามากเกินไปจะเกิดความเครียดซี่งไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติธรรม และไม่อ่อนเกินไป เพราะอ่อนเกินไป สติทางโลก จะใช้งานไม่ได้เช่นกัน
.
เคร็ดการปฏิบัตินั้น เมื่อสติทางโลกทีพอดีเกิดขึ้น สติทางธรรมก็จะเกิดด้วยเสมอ เมื่อสติทางธรรมทำให้เกิดไม่ได้ ท่านก็ต้องใช้วิธีอ้อมแทน โดยทำให้สติทางโลกเกิด เพื่อให้สติทางธรรมเกิดได้เองต่อไป
.
เมื่อสติทางธรรมเกิดแล้ว ท่านนักภาวนาต้องหัดรู้สึก อย่าไปจ้องทีสภาวะธรรมทางกาย ทางใจ ซึ่งโดยธรรมชาติ เมื่อสติทางธรรมเกิดขึ้นแล้ว สติจะไประลึกรู้ หรือ รู้สึกได้เองทีอาการทางกาย หรือ อาการทางใจ โดยทีท่านนักภาวนาไม่ต้องไปจ้องเลย
.
ผมจะยกตัวอย่างการปฏิบัติ สำหรับนักภาวนามือใหม่ ในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าใจสติทางธรรม
.
สมมุติว่า ท่านนั่งอยู่บนเก้าอี้ ถ้าท่านมีพัดลม ขอให้เปิดพัดลม ส่ายไปมาด้วย ให้ลมนั้นโดนตัวท่านแบบส่ายไปมา กล่าวคือ จะมีลมโดนตัวบ้าง ไม่โดนบ้าง ทีนี้ ขอให้ท่านใช้ ฝ่ามือขวา ไปลูบทีแขนซ้ายของท่าน
ขอให้ท่านลูบแขนเป็นจังหวะ ๆ ดังนี้
.
1..ให้เริ่มจากทีต้นแขนก่อน ท่านใช้ฝ่ามือไปจับทีต้นแขน แล้วท่านก็ลูบแขนแบบช้า ๆ สบายๆ เหมือนท่านทาครีมบำรุงผิวแล้วลูบไป พอถึงทีข้อศอก ขอให้ท่านหยุดลูบสักครู่หนี่ง แป๊บหนี่ง แล้วก็ลูบแขนต่อไปจนถึงที่ข้อมือแบบเดิม คือ ลูบช้า ๆ เหมือนท่านทาครีมบำรุงผิวแล้วลูบไป พอถึงทีข้อมือแล้วขอให้หยุดลูบสักครู่ แล้วลูบแขนขึ้นไปทีข้อศอกใหม่แล้วหยุดสักครู่ แล้วก็ลูบแขนขึ้นไปที่ต้นแขนแล้วหยุด แล้วก็ลูบลงแขนไป ให้ท่านทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ
**ขอให้อ่านให้จบต่อไปครับ อย่าเพิ่งไปคิดว่า ลูบแบบนี้จะได้อะไร**
.
เมื่อท่านทำการลูบแขนแบบนี้ จะเป็นการใช้ความตั้งใจเพื่อในเกิดสติทางโลก เพราะการลูบแขนช้าๆ จะเป็นการจงใจทำ แต่ท่านควรลูบแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียด เมื่อสติทางโลกเกิดแล้ว มาอ่านข้อ 2 ต่อไป ทีเกี่ยวกับสติทางธรรม
.
2. เมื่อท่านสนใจการลูบแขนตนเองดังข้อ 1 แบบสบายๆ ท่านต้องสนใจการลูบแขนนะครับ อย่าไปจ้องรู้อาการกาย อาการใจ เด็ดขาด
เพราะถ้าท่านไปจ้องรู้ นั่นคือ ภวตัณหา ซึ่งไม่ใช่สติทางธรรม
.
เพียงท่านทำข้อ 1 อยู่ ท่านจะพบว่า ความรู้สึกของลมจากพัดลมทีพัดมาโดนผิวกาย ท่านจะรับรู้ได้เอง โดยไม่ต้องไปจ้องรู้ความรู้สึกทีผิวกายโดนลมเลย เมื่อท่านนั่งอยู่ ก้นทีสัมผัสเก้าอี้ทีนั่ง ท่านก็รู้สึกได้ด้วยเช่นกันโดยท่านไม่ต้องไปจ้องดูทีก้นเลย
ขอให้ท่านลองทำดูจริงๆ แล้วท่านจะรู้ได้เองว่าทีผมเขียนนี้เป็นเช่นไร
.
การรู้สึกได้เองแบบนี้ โดยไม่ต้องไปจ้องรู้ รู้สึกได้ถึงก้นทีสัมผัสกับเก้าอี้ รู้สึกได้ถึงลมทีโดนผิวกายได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพราะพัดลมส่ายไปมา นี่แหละ คือ สติทางธรรมเกิดแล้ว
.
เพียงท่านหมั่นรู้สึกได้แบบนี้ สติทางธรรมจะค่อยๆ มีการพัฒนาตัวขึ้นเองไปเรื่อยๆ ทำให้มีศักยภาพสูงขึ้นไปอย่างช้า ๆ ถ้าท่านฝึกไปสักระยะหนี่งแบบนี้ เช่นสัก 2 อาทิตย์โดยฝีกทุกวันวันละ 30 นาที สติในตัวท่านอาจรับรู้ความรู้สึกที่เพิ่มขึ้นมาได้เองว่า เสื้อผ้าทีโดนตัวนั้น ท่านก็จะรู้สึกได้ด้วย นี่เป็นการรู้ทีมากขึ้นไปเอง เพราะกำลังสติทางธรรมของท่านมีพลังมากขึ้นแล้ว
.
ถ้าท่านฝีกไปอีกเรื่อยๆ ดังทีผมว่า เพียงลูบแขนหยุด ลูบหยุดนี่แหละ แล้วให้สติทางธรรมเกิดบ่อยๆ สติทางธรรมจะพัฒนาตัวเองไปตามลำดับ จากทีอ่อนแอปวกเปียกไปเป็นสติที่มีพลังมากขึ้น
.
ถ้าสติทางธรรมมีพลังมากขึ้น การรู้อาการทางกาย อาการทางใจ ก็จะรู้เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนรู้ได้มากอย่างที่มีกล่าวในตำรา สติปัฏฐาน 4
คือ รู้อาการแห่งกาย เวทนา จิต ธรรมได้ - นี่หมายถึงว่า ท่านอาจต้องฝีกพัฒนาสติทางธรรมไปเรื่อยๆ อาจเป็นเวลาถึง 10 ปี กว่าท่านจะได้รู้ครบในตำรา สติปัฏฐาน 4
.
ผมขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า สติทางธรรมนั้น ท่านอย่าไปจ้องรู้ ท่านต้องรู้สึกได้เอง นี่คือหัวใจของสติทางธรรม
ถ้าท่านไปจ้องรู้ ท่านก็รู้สึกได้ถึงอาการทางกาย แต่นั้นไม่ใช่สติทางธรรม การกระทำโดยการจ้องรู้ จะไม่ทำให้การพัฒนาสติทางธรรมไปได้ดีจนเกิดการพ้นทุกข์ไปจากกองทุกข์ได้
.
ท่านอาจคิดว่า โอโห 10 ปีกว่าจะได้
ใช่ครับ ถ้าท่านทำถูก อาจใช้เวลาถึง 10 ปี
แต่ถ้าท่านทำผิด ไม่รู้อีกกี่ชาติ ท่านจึงจะพ้นทุกข์ได้
เวลายาวนานต่างกันมากนะครับ
อยู่ทีท่านจะตัดสินใจเอง
ผมเพียงนำประสบการณ์ทางธรรมมาแบ่งปันเท่านั้นเอง
การเดินทางเป็นหน้าทีของท่านจะตัดสินใจเอง