เฮราคลีตุส (Heraclitus: 551 491 B.C.)
นักคิดจะค้นพบสัจธรรมแห่งชีวิต
ว่าไม่มีสิ่งใดอยู่คงที่ได้ตลอดเวลา
เฮราคลีตุส (Heraclitus: 551 – 491 B.C.)
การเปลี่ยนแปลงเป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นแน่นอน
ไม่มีใครหลีกหนีความจริงนี้ไปได้
เฮราคลีตุสถือกำเนิดในนครรัฐเอเฟซุส ซึ่งเป็นหนึ่งใน 12 รัฐที่สังกัดกลุ่มไอโอเนีย
เฮราคลีตุสเกิดในตระกูลผู้ดีชั้นสูงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่มีสิทธิ์ในการเป็นราชาแห่งนครรัฐบาซิเลอุส แต่ได้สละสิทธิ์ในราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชาแล้วปลีกตัวไปวิเวกเพื่อแสวงหาสัจธรรม
ภายหลังได้ประกาศสัจธรรมที่ค้นพบ และกล่าวว่าปรัชญานี้แปลกใหม่และดีเด่นเหนือกว่าของผู้ใด ถึงขั้นที่ตำหนินักปราชญ์อื่น ๆ
คำกล่าวที่ว่า การเรียนมากไม่ทำให้ใจพัฒนา มิเช่นนั้นมันคงจะขัดเกลาเฮเลียด ปิทากอรัส เซโนฟาเนสและเฮคาเตอุสไปแล้ว
คำพูดเช่นนี้ก่อให้เกิดศัตรูและทำให้หลายคนเกลียดชัง
การเป็นคนเก่งแต่ขาดเสน่ห์ หรือเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไปจนถึงขั้นดูถูกผู้อื่นว่าด้อยกว่าตนอย่างเปิดเผย อาจสร้างความเกลียดชังจากผู้ที่โดนลบหลู่ได้
การอยู่อย่างพอดีจะทำให้เป็นที่รักของทุกผู้คนได้
เฮราคลีตุสเขียนตำราปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติ เช่น อุปนิสัยของคนคือชะตาชีวิตของคนนั้น แพทย์ผ่าตัดคนไข้ซึ่งสร้างความเจ็บปวดแต่คนไข้ยังต้องยอมจ่ายเงินให้
การค้นพบความจริงต้องคิดสิ่งที่แตกต่างจากคนทั่วไป
การเขียนหนังสือมักใช้คำคมและไม่อธิบายเพิ่มเติม ทำให้บางคนกล่าวว่า มันยากแก่การแปลความ การเขียนเช่นนี้เหมาะสำหรับชนชั้นปัญญาชนเท่านั้น
ความเชื่อของเขาเน้นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงหรืออนิจจัง
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดจากการค้นหาปฐมธาตุของโลกเป็นความเปลี่ยนแปลงมีจริงหรือไม่
เฮราคลีตุสเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะที่แท้จริงของสรรพสิ่ง
ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะแปรสภาพไปสู่อีกสภาพหนึ่งได้ เช่น จากเด็กเป็นผู้ใหญ่และกลายเป็นคนแก่ในที่สุด
มนุษย์ไม่สามารถดำรงตนให้หนุ่มสาวได้ตลอดกาล
ทุกสิ่งจึงต้องไหลเรื่อยไปตามกระแส ดุจสายน้ำที่ไหลไปแล้วไม่ไหลกลับ เช่นเดียวกับน้ำในแม่น้ำที่เรายืนอยู่ ย่อมไม่ใช่น้ำเดิมเพราะน้ำใหม่จะไหลมาแทนที่อยู่เสมอ โลกนี้จึงไม่มีอะไรคงที่ ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอนนอกจากการเปลี่ยนแปลง
ในชีวิตจะมีสิ่งที่เกิดและอยู่กันเป็นคู่สลับกันไปมา ดั่งเช่น ร้อนคู่กับเย็น ตื่นคู่กับหลับ ในแต่ละคู่จะเปลี่ยนแปลงสลับกันไปสลับกันมา
ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนไป ไม่อาจอยู่ดังเดิมได้ตลอดกาล
ผู้ฉลาดย่อมมองเห็นสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลงนี้
การตอบคำถามเรื่องปฐมธาตุของโลกซึ่งเป็นปัญหาที่นักปราชญ์ทุกคนต้องค้นหาคำตอบ เฮราคลีตุสตอบว่าไฟคือปฐมธาตุ ไฟมีวิญญาณ ไฟเป็นพระเจ้าและสถิตอยู่ในทุกหนแห่ง
พระเจ้าในนัยยะนี้เป็นกฎธรรมชาติตามสากล ซึ่งต่างจากเทพเจ้ากรีกที่มีตัวตน การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกเพราะไฟเป็นต้นเหตุทำให้เกิดทั้งสิ้น
เฮราคลีตุส มีความเชื่อเรื่องอนิจจัง การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นสัจธรรมชีวิต ไม่มีอะไรที่คงที่
ดังนั้นการยึดมั่นถือมั่นว่าทุกสิ่งย่อมอยู่คงที่ สิ่งใดที่เป็นของเราย่อมเป็นของเราตลอดกาล จึงเป็นความเชื่อที่ผิดและจะนำความทุกข์มาสู่ผู้ที่เป็นเจ้าของความคิด
นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่ได้รู้ ยังค้นพบว่าสรรพสิ่งในโลกทุกอย่างย่อมอยู่เป็นคู่เสมอแต่จะสลับไปสลับมาเช่นนี้ตลอดกาล
เมื่อธาเลสเชื่อว่าน้ำคือปฐมธาตุ เฮราคลีตุสได้คัดค้านว่าแท้จริงแล้วไฟต่างหากคือปฐมธาตุ
ซึ่งที่จริงผิดทั้งสองคน ต่อมามีคนคิดว่า ดินกับลมก็เป็นปฐมธาตุ
เราจึงมักจะได้ยินคำว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ คือปฐมธาตุ แต่สิ่งที่ทำให้นักคิดยุคต่อมายกย่อง คือ ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะคนในยุคนั้นเชื่อว่าทุกสิ่งจะอยู่คงที่
คำคมของเฮราคลีตุสคือเราไม่อาจเดินลงไปในแม่น้ำสายเดียวกันได้เป็นครั้งที่สอง (You cannot step twice into the same river) เพราะน้ำในแม่น้ำจะไหลลงตลอดเวลา แม่น้ำตำแหน่งเดิมจึงไม่ใช่มวลน้ำเดิมเพราะน้ำได้เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว
หลักการว่าด้วย กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้นำมาอธิบายสรรพสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสสาร วัตถุ โลก จักรวาล และชีวิตมนุษย์
ทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่คงที่ถาวร
คนเราจะคงอยู่ในรูปแบบหนึ่งในแต่ละช่วงตั้งแต่แรกเกิด เติบโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็แก่เฒ่าชราลงเสื่อมสภาพไป แม้แต่จิตวิญญาณของคนเราก็เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันตามกาลเวลา
หลักการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงในตนเอง ทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกสิ่งหนึ่งได้เมื่อมีตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จักรวาลจะดำรงคงอยู่ถึงแม้จะเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละช่วงของกาลเวลาซึ่งจะเป็นกฎธรรมชาติสากล
วิธีคิดจะมองเส้นแห่งการเปลี่ยนแปลง
จากจุดเริ่มต้นไปหาจุดสุดท้ายแล้วมองสิ่งที่จะเกิดขึ้นตรงกลาง
ฐานรากแห่งการคิดของคนที่หนึ่ง
ย่อมก่อให้เกิดการคิดแตกยอดของคนต่อ ๆ ไป