661106 ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องด้วยวิธีสามเส้า
661106 ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องด้วยวิธีสามเส้า #DrPK
Verify correct information using triangulation method
อ่านประวัติศาสตร์ ด้วยใจเด็กวิทย์ จะรู้สึกงงงวยสับสน เอ๊ะ เรื่องเดียวกันแท้ ทำไมช่างแตกต่างกันมากมาย แล้วจะตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องได้อย่างไรล่ะ
ตอนเรียน ป.เอก วิชาการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้คำศัพท์มา 1 คำ คือ triangulation method วิธีสามเส้า ใช้ 3 วิธี ดูว่าข้อมูลตรงกันไหม น่าเชื่อถือหรือไม่ ไม่เอาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ หรืออ้างอิงตาม ๆ กันมา
นึกถึงปัจจุบัน ข้อมูลตามสื่อ มีอคติมากมาย เชื่อกันตามแหล่งที่ฟังมา แล้วขยายต่อกันไป อาจไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เลยมีช่องที่เตือนว่า ชัวร์ก่อนแชร์ ขืนแชร์ผิด ๆ อาจต้องโทษ ข้อหาเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ
ช่วงที่ละครอิงประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาฮิตติดตลาด บางคนอาจเปิด youtube ตามประสาคนใฝ่รู้ แล้วอาจงงและงง เพราะทำไมบางคนโดนก่นด่าสาดเสียเทเสีย หาชิ้นดีไม่เจอ ขณะที่บางแหล่งมีแต่ชื่นชมยินดี
นี่แหละ จะช่วยให้เกิดการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ว่า ควรเชื่อหรือไม่เชื่อ และเกิดสติคิดพินิจพิเคราะห์ ทางพุทธสอนให้ใช้สติและปัญญา โยนิโสมนสิการ และกาลามสูตร
การสอนให้รู้จักคิด จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่รู้ ๆ และจำให้ได้เท่านั้น
ฝรั่งโดย Benjamin Bloom คนที่เรียนการศึกษาคงคุ้นตา หลักการเรียนรู้ เริ่มด้วย การรู้ จำ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า
เขียนซะยุ่ง ๆ จับต้นชนปลายได้ไหม
ประเด็นหลัก คือ อ่านมาก รู้มาก จากหลายแหล่ง ต้องคิดสักหน่อยว่า สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังนั้น น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เกิดจากการทุ่มทุนเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้ามให้ด่าวดิ้นสิ้นใจ หรือเชียร์พวกที่ยอมจ่ายอักโขเพื่อให้ดูดีเด่นวิเศษเลิศเลอ
สิ่งที่ฟังและรับรู้ ต้องตกตะกอนเป็นความคิดของตนเองให้ได้ซะก่อน จะเที่ยวโพนทะนานะ