Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
24 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 

๑. อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร



กล่าวโดยย่อ

ธรรมชาติของจิตเดิมที่ปภัสสร แต่หมองหม่นเพราะเพราะเหล่ากิเลสที่จรมา
จิตหมองหม่น, หดหู่, ขุ่นมัว, หรือเศร้าหมองเพราะอาสวะกิเลส-ความจําอันเจือด้วยกิเลสเป็นปัจจัย อันล้วนเกิดมาแต่เหล่า

ความเศร้าใจ(โสกะ),
ครํ่าครวญ อาลัย รําพันในสุข(ปริเทวะ),
ทุกข์ทางกาย(ทุกข์),
ทุกข์อันเกิดแต่ใจ(โทมนัส),
ความคับแค้นขุ่นข้องใจ(อุปายาส)

อันเกิดมาจากความทุกข์และสุขทางโลกๆตามที่ได้เคยสั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมาแต่อดีต, จึงได้ครอบงํา หมักหมม ราวกับ เป็น ตัณหา และ อุปาทาน ที่นอนเนื่องค้างคาอยู่ในจิต ที่ท่านเรียกว่า" อาสวะกิเลส" ซึ่งเมื่อผุดขึ้นมา หรือเจตนาขึ้นมาก็ตามที อันย่อมไปเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ร่วมกับ อวิชชา คือความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม, สติไม่รู้เท่าทัน ตามที่มันเกิด ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ธรรมชาติ)

จึงเป็นเหตุ ที่เป็นปัจจัยที่ยังให้เกิด สังขาร เป็นการกระทําทางกาย, วาจา หรือใจ ต่างๆ ตามที่ได้เคยสั่งสม อบรม เคยประพฤติ ปฏิบัติ เคยชิน มาแต่อดีต หรือจะเรียกสังขารกิเลส หรือสังขารวิบากก็ยังได้

ขยายความ

เนื่องเพราะอาสวะกิเลสที่หมักหมมและนอนเนื่องซึมซาบอยู่ในจิต อันล้วนเกิดมาจากความทุกข์และความสุขในทางโลกๆอันเกิดมาแต่อดีต อันเป็นสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมองแอบแฝงอยู่ลึกๆภายในจิตโดยไม่รู้ตัว และเพราะอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงตามเหตุปัจจัยของสภาวธรรมหรือธรรมชาติของการเกิดทุกข์และการดับไปแห่งทุกข์ จึงครอบคลุมถึงความไม่รู้เท่าทันอาสวะกิเลสนี้ด้วย, หรือกล่าวอีกนัยคือความไม่รู้แจ้ง ไม่แทงตลอดในอวิชชาทั้ง๘ อันมี อริยสัจ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท ฯ.

ดังนั้นอาสวะกิเลสและอวิชชาจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ยังให้เกิด สังขาร อันคือ สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ที่หมายถึง การกระทำต่างๆ ทั้งทางกาย(กายสังขาร) ทางวาจา(วจีสังขาร) ทางใจ(มโนสังขาร) ต่างๆนาๆขึ้น โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา และย่อมเป็นสังขารชนิดมีกิเลสตามที่แฝงนอนเนื่องอยู่ ที่จักก่อให้เกิดเป็นความทุกข์ต่อไป

หรือกล่าวโดยย่อได้ว่า เพราะวิบากกรรมหรือกรรมเก่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชา จึงยังให้เกิดสังขารกิเลสต่างๆนาๆขึ้น ตามที่ได้สั่งสมอบรมไว้

อวิชชา ๘ ความไม่รู้และไม่ปฏิบัติ ตามความเป็นจริงแห่งธรรมหรือในสิ่งต่างๆอย่างถูกต้อง อันมีดังนี้

๑. ความไม่รู้ใน"ทุกข์" ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ รู้ และให้ดับสนิทนั้น หมายถึงทุกข์อุปาทานหรือการเกิดอุปาทานขันธ์ ๕, และรู้เท่าทันทุกข์อุปาทานที่เกิดนั้น, ตลอดจนไม่เข้าใจเวทนา จึงไม่ยอมรับทุกขเวทนา-ความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นชนิดไม่ถูกใจไม่สบายใจหรือไม่ชอบใจอันเป็นสภาวธรรมชาติของชีวิตอย่างหนึ่งที่ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จึงเกิดการสับสนไม่เข้าใจ การปฏิบัติจึงไม่ถูกเป้าหมายที่ถูกต้อง อันย่อมทำให้การดับไปแห่งทุกข์ไม่สัมฤทธิ์ผล ดังเช่น ต้องปฏิบัติเพื่อดับอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์อย่างแท้จริงที่สามารถดับลงไปได้ แต่ด้วยอวิชชาจึงไม่รู้ จึงกลับไปพยายามปฏิบัติในแนวทางที่จะดับทุกขเวทนาอันเป็นสภาวธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิตหรือขันธ์หนึ่งของชีวิต ที่อย่างไรเสีย ก็ต้องมีอยู่

๒. ความไม่รู้ใน"สมุทัย" เหตุหรือปัจจัยให้เกิดทุกข์คือตัณหา อันมี ๓ กามตัณหา-ความอยากในกามหรือในทางโลกๆ(เช่นใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส), ภวตัณหา-ความอยากในธรรมารมณ์(สิ่งที่สัมผัสหรือรับรู้ได้ด้วยใจ), ตลอดจนวิภวตัณหา-ความไม่อยากในธรรมารมณ์,หรือความอยากในความไม่อยาก หรือความอยากดับสูญ อันล้วนเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดอุปาทาน อันเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นในที่สุด เมื่อไม่รู้ ไม่เข้าใจจริงๆ จึงไม่ระมัดระวังจึงสร้างตัณหาความทะยานอยาก หรือความไม่อยากแอบแฝงขึ้น จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานขึ้น

๓. ความไม่รู้ใน "นิโรธ" ความสุขจากการหลุดพ้น ว่าเป็นเช่นใด? ไม่เคยสัมผัส หรือไม่เข้าใจสภาวะนิโรธอันว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่ล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน อันยังผลให้เกิดอุปาทานทุกข์อันรุ่มร้อนเผาลนขึ้น, บางทีเข้าใจผิดไปยึดความสุขสงบในฌาน หรือความว่างในอรูปฌาน ทําให้ไม่ทราบว่าดับทุกข์ได้แล้วจักเป็นสุขสงบบริสุทธิ์เยี่ยงใด? หรือดับร้อนอะไร? เยี่ยงใด? คุ้มค่าให้ปฏิบัติไหม? มีจริงหรือเปล่า? และมักเข้าใจผิด จับสภาวะผลของความสุขสงบสบายอันเกิดแต่การปฏิบัติสมาธิหรือฌาน หรือความว่างในอรูปฌานว่าเป็นสภาวะนิโรธ ฯลฯ. ทั้งหลายเหล่านี้ทําให้จริงๆแล้วยังคงมีความกังวลความสงสัยอยู่ลึกๆในจิต(วิจิกิจฉา) จึงทำให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างผิดแนวทางโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา

๔. ความไม่รู้ใน"มรรค" แนวทางปฎิบัติเพื่อการดับทุกข์ ควรปฏิบัติอย่างไร? ศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ ปฏิบัติไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน? วิธีใด? ของใครถูกแน่? มรรคองค์ใดแน่ๆที่ทำให้พ้นทุกข์? ต้องปฏิบัติเป็นลำดับหรือไม่? จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติอยู่เสมอๆ อันมักก่อให้เกิดการปฏิบัติแบบนอกลู่ผิดทาง อันนําผลร้ายมาสู่นักปฏิบัติเองโดยไม่รู้ตัว

๕. ความไม่รู้"อดีต" อันคือการไม่รู้ระลึกชาติ หรือภพ(ชาติ ภพ ในปฏิจจสมุปบาท)ที่เคยเกิดเคยเป็นต่างๆในอดีต ของปัจจุบันชาติ อันคือ สภาวะมนุษย์ในชาตินี้นั่นเอง หรือก็คือการย้อนระลึกขันธ์ ๕ หรืออุปาทานขันธ์ ๕ (การกระทําต่างๆในอดีตโดยการพิจารณาเป็นระบบอย่างแยบคาย)ที่เคยเกิด เคยเป็น กล่าวคือ ไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในขันธ์ ๕ ที่เคยเกิดๆดับๆในอดีตว่า ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้นนั้น เกิดแต่เหตุปัจจัยอะไร? มิใช่อยู่ดีๆก็เกิดขึ้นเองอย่างไร้เหตุผล การรู้อดีต หรือการระลึกชาติภพในปฏิจจสมุปบาทมีจุดประสงค์เพื่อเป็น เครื่องรู้(ความรู้) เครื่องระลึกเพื่อเตือนสติ เครื่องพิจารณาเพื่อก่อให้เกิดปัญญาญาณและนิพพิทา(ความหน่าย คลายกําหนัดในความชื่นชม ความยินดี)ในสิ่งที่ไปยึดไปอยาก อันยังผลให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ การรู้อดีตจึงมิได้มีเจตนาเพื่อการพิรี้พิไร ครํ่าครวญอาลัยในอดีต หรือมุ่งหมายทางอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แต่ประการใด หรือเพื่อประโยชน์ในทางโลก (พิจารณาในปฏิจจสมุปบาทจนเข้าใจเรื่องภพ ชาติ ชรา-มรณะ จนมีความเข้าใจแล้ว ลองย้อนมาพิจารณาอีกครั้ง)

๖. ความไม่รู้"อนาคต" การไม่รู้อนาคต คือไม่รู้ไม่เข้าใจในการอุบัติ(เกิด) การจุติ(ดับ)ของขันธ์ทั้ง ๕ หรือการเกิดๆดับๆของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาว่าล้วนเป็นไปตามกรรม(การกระทําที่มีเจตนา)และหลักอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น และในอนาคตนั้น ก็จักต้องเป็นเช่นนั้น เป็นไปตามหลักเหตุผล-อิทัปปัจจยตา อันเกิดมาแต่กรรมอันคือการกระทํานั่นเอง และความทุกข์ในภายหน้าก็ล้วนเกิดๆดับๆอันเกิดแต่กรรมอันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ เช่นเดิมหรือเกิดความทุกข์ขึ้นเฉกเช่นเดียวกับอดีต และด้วยความความไม่รู้อนาคต จึงประมาท ขาดการป้องกัน จึงมิได้ระมัดระวัง สำรวม หรือแก้ไข, กล่าวคือ การรู้อนาคตนั้นเพราะการเข้าใจในหลักเหตุปัจจัย(อิทัปปัจจยตา)นั่นเอง คือเมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ ผลเยี่ยงนี้จึงต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อันเกิดขึ้นจากความเข้าใจในเหตุหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อย่างแจ่มแจ้งหรือหลักอิทัปปัจจยตา จึงย่อมรู้ผลที่จักเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ระวังป้องกันแก้ไข หรือยังให้เกิดนิพพิทาเช่นกัน มิใช่เพื่อประโยชน์ในทางโลกๆ

๗. ความไม่รู้ใน"อดีตและอนาคต" คือ เมื่อไม่รู้อดีตและอนาคต จึงไม่สามารถหยั่งรู้ได้ถึงทุกข์ต่างๆที่จักต้องบังเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอดีต จึงเกิดการไม่ยอมรับเมื่อวิบากกรรมเหล่านั้นมาเยือน จึงไม่เข้าใจในผลหรือเหตุปัจจัยต่างๆที่จะเกิดในอนาคตอย่างถูกต้องตามธรรมหรือตามความเป็นจริง จึงเกิดความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ ความไม่มีเครื่องเตือนสติ และเกิดความประมาทขึ้นเป็นที่สุด จึงไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา การรู้อดีตหรือรู้อนาคตไม่ได้เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์หรือประโยชน์ในทางโลกแต่อย่างใด แต่ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดับทุกข์ พึงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

๘. ความไม่รู้ใน"ปฏิจจสมุปบาท" ไม่ทราบ, ไม่รู้กระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์และกระบวนการดับไปแห่งทุกข์ เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจจึงย่อมไม่สามารถดับทุกข์ที่เหตุปัจจัยได้อย่างเข้าใจและถูกต้องตามจริง(ปรมัตถ์), อันอุปมาได้ดั่ง "ช่างยนต์ที่ไม่รู้ไม่ศึกษาเรื่องเครื่องยนต์ แล้วจักซ่อมเครื่องยนต์ให้ได้ดีและเร็วได้ฉันใด"

ดังนั้นเมื่อไม่รู้ ไม่เห็น และไม่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทหรือเรื่องการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ด้วยอวิชชา จึงไม่มีการแก้ไข หรือแก้ไขหรือปฏิบัติโดยไม่ถูกต้อง, จิตย่อมถูกครอบงําด้วยอาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาความจําที่แฝงด้วยกิเลสที่ทําให้จิตขุ่นมัวอันนอนเนื่องอยู่ในจิต กล่าวคือ เมื่ออาสวะกิเลสผุดขึ้นมาจะเป็นด้วยผุดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ๑ หรือเจตนาขึ้นมา๑ หรือเกิดแต่การกระทบผัสสะขึ้นมา๑ ก็ตามที ก็จักเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาโดยทันที จึงเป็นเหตุที่ไปกระตุ้น เร่งเร้า ส่งเสริมให้เกิดสังขารสิ่งปรุงแต่ง อันหมายถึงการกระทําต่างๆทั้ง ๓ ทาง อันมี มโนสังขาร(จิตสังขารหรือความคิด), วจีสังขาร(ทางวาจา), กายสังขาร(การกระทําทางกาย) ตามความเคยชินที่ได้เคยสั่งสม ได้เคยอบรม หรือได้เคยประพฤติ, ได้เคยปฏิบัติ หรือก็คือการกระทํา(กรรม)ต่างๆแต่ในอดีต จึงเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารอันเป็นเหตุ เช่นความคิด ความนึก ความเห็น อันล้วนแฝงกิเลส จึงเป็นเหตุก่อ ให้ดำเนินไปในกองทุกข์

สังขารในปฏิจจสมุปบาท ที่หมายถึง การกระทําต่างๆนั้น เช่น การกระทําทางใจ-ความคิดนึกต่างๆ, การกระทําทางวาจา-การพูดจาต่างๆ, การกระทําทางกาย-การกระทําต่างๆทางกาย ล้วนเป็นไปตามความเคยชินตามที่ได้สั่งสม,จดจำ,อบรมหรือประพฤติ,ปฏิบัติมาแล้วแต่อดีต ที่จะก่อให้เกิดทุกข์ หรืออาสวะกิเลสและร่วมด้วยกับอวิชชาความไม่รู้ นั่นเอง

ในที่นี้ เราจะเน้นที่จิตหรือใจอันยังให้เกิดมโนสังขารหรือการกระทําทางใจหรือจิต อันคือ ความคิดนึก

ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหลักหรือศูนย์บัญชาการของชีวิต, และทําให้เกิดทุกข์และดับทุกข์โดยตรง

ตลอดทั้งยังเป็นต้นกําเนิดหรือเหตุปัจจัยหลักของ

กายสังขารอันยังให้เกิดกายกรรม-การกระทําทางกาย และ

วจีสังขารอันยังให้เกิดวจีกรรม-การกระทําทางวาจา

ผ่านทางสัญเจตนาหรือเจตนาอันเกิดมาแต่จิตหรือใจนั่นเอง

จึงกล่าวได้ว่าจิตเป็นประธานทั้งต่อฝ่ายกายและฝ่ายใจ เป็นไปดังพุทธพจน์นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

(นิพเพธิกสูตร)

บรรพบุรุษย่อมถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมไปสู่ลูก หลาน เหลน...ฉันใด, อาสวะกิเลส และอวิชชาก็เปรียบเสมือนบรรพบุรุษของความทุกข์ฉันนั้น ดังนั้นต้องรู้ต้องเข้าใจยอมรับว่า องค์ธรรมต่างๆที่จักเกิดสืบเนื่องต่อๆไปในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น จึงย่อมแฝงทั้งอาสวะกิเลสและอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรมไปด้วย คือยังไม่รู้และรู้เท่าทันในเรื่องสภาวธรรมของทุกข์และการดับทุกข์, ดังนั้นจึงควรไม่ประมาท เพราะในทุกๆองค์ธรรมที่จักเกิดสืบเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกันต่อไปอีกนั้น ก็ย่อมต้องมีอามิส อันคือกิเลส,ตัณหาและอุปาทานที่แฝงอยู่รูปของอาสวะกิเลสไปด้วย (คือพร้อมที่จะทํางานให้เกิดเป็นความทุกข์ทันทีที่มีเหตุปัจจัยอันคือตัณหาเข้าร่วม และตัณหานี้ อาศัยเกิดที่หมายถึงเกิดการทำงานหรือactiveขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยโดยตรงที่สุดก็คือเวทนา)

ดังนั้นท่านจึงตรัสไว้ว่า อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร คือการกระทําต่างๆทางกาย,วาจา,ใจ(เช่นคิดที่ก่อทุกข์)ตามความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้ หรือ ได้เคยประพฤติ ได้เคยปฏิบัติ หรือก็คือกรรม(การกระทําที่มีเจตนา)ตามที่ได้เคยสั่งสมอบรมไว้ในอดีต ซึ่งล้วนเป็นสังขารที่จักไปก่อให้เป็นความทุกข์ อันเป็นสังขารวิบาก (วิบาก - ผลที่ได้รับ, สังขาร-การกระทําที่มีเจตนา, สังขารวิบาก จึงหมายถึง ผลที่ได้รับ อันพึงเกิดขึ้นจากการกระทําที่ผ่านมาหรืออดีตหรืออาสวะกิเลสนั่นเอง) หรือพิจารณาว่าเป็นสังขารกิเลสก็ถูกต้องเช่นกัน กล่าวคือ การกระทำที่มีกิเลสแฝงอยู่ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า " กิเลส " คือเกิดขึ้นจากกิเลสที่นอนเนื่องอยู่นั้น ได้เกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนเป็นความคิดเป็นการกระทำต่างๆที่ประกอบด้วยกิเลสนั่นเอง

ซึ่งถ้าว่ากันโดยละเอียดถูกต้องจริงๆแล้ว องค์ธรรมสังขาร หรือสังขารกิเลส หรือกิเลสที่เกิดขึ้นนี้ เกิดแต่กระบวนธรรมของจิตหรือความคิดล้วนๆก่อน กล่าวคือ จากอาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาความจำที่นอนเนื่องอยู่นั่นเอง อันจะเกิดความเข้าใจขึ้นในภายหน้า เมื่อมีความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์๕โดยแจ่มแจ้งบ้างแล้ว

ข้อสังเกตุ - สังขารที่สั่งสมไว้เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเท่านั้นที่ก่อทุกข์ เพราะย่อมเป็นสังขารกิเลส กล่าวคือย่อมแฝงกิเลสจากอาสวะกิเลสที่นอนเนื่องนั่นเอง, ส่วนสังขาร(คิด-มโนสังขาร, การกระทําต่างๆ)อันเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์ ๕ อันเป็นปกติธรรมชาติของผู้มีชีวิตนั้น เป็นสิ่งจําเป็นต้องมีเพื่อการยังชีวิตให้สมบูรณ์ทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้า เพราะชีวิตประกอบด้วยขันธ์ทั้ง๕ และชีวิตดํารงคงอยู่ได้อย่างปกติสมบูรณ์ ก็ด้วยการทํางานกันอย่างประสานกลมกลืนและอย่างสมดุลย์กันของขันธ์ทั้ง ๕ นั้นเอง (มีรายละเอียดอยู่ในเรื่องขันธ์๕)






 

Create Date : 24 ตุลาคม 2553
0 comments
Last Update : 24 ตุลาคม 2553 7:04:54 น.
Counter : 1177 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.