Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
8 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 

วงจรจําลอง..ปฏิจจสมุปบาท

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย กล่าวคือมีเหตุมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน อันคือ ปัจจัยหนึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปเช่นนี้เป็นวงจักรหรือวงจรที่ไม่รู้จักจบสิ้น มองในมุมมองนามธรรมอันไม่มีตัวตนเพียงสัมผัสได้ด้วยใจอาจจักไม่เห็นชัดแจ้ง ลองพิจารณาจากวงจรจําลองของวงจรปฏิจจสมุปบาท เพื่ออธิบายนามธรรมอันไม่มีตัวตน ให้เห็นเป็นภาพพจน์หรือรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น เพื่อความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทในกาลต่อไป


ไฟ อันลุกโพลง อันเกิดขึ้นจากการกระทำ โดยใช้แว่นขยาย(เลนส์นูน) ส่องรับแสงแดด ไปที่เชื้อไฟหรือฟืน

ไฟที่เกิดขึ้นมานั้น มิได้มีตัวมีตนอยู่ในแว่นขยายนั้น

ไฟที่เกิดขึ้นมานั้น ก็มิได้มีตัวมีตนอยู่ในแสงแดดนั้น

ไฟที่เกิดขึ้นมานั้น ก็มิได้มีตัวมีตนอยู่ในสิ่งที่เป็นเชื้อไฟนั้น

ไฟที่เกิดขึ้นมานั้น ก็มิได้มีตัวมีตนอยู่ในผู้กระทำ

แต่ ไฟ นั้นเกิดจากเหตุปัจจัยทั้ง ๔ มาประชุมรวมเป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่งหรือปฏิจจสมุปบันธรรม ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ไม่เกิดผลหรือไฟขึ้น และเป็นปัจจัยอย่างผสมกลมกลืนเนื่องสัมพันธ์กัน ดุจดั่งกรรมที่ใช้แว่นขยายส่องไปยังเชื้อไฟก็ต้องถูกต้องสอดคล้องได้ระยะกันอีกด้วย ถึงจักเกิดไฟขึ้นได้ จิตหรือชีวิตเราก็เฉกเช่นกัน เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกันดังกล่าวแล้ว มาเป็นจิตหรือชีวิต และยังมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งหลัก อันคือกรรม(การกระทํา) อันทําให้ชีวิตเป็นไปตามกรรม(การกระทํา)นั้นๆอีกด้วย

ขอให้สังเกตุดีๆว่าไฟนั้น มิได้เกิดแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยตรงๆ แต่เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน

ถ้าเราจักจําลองคําอธิบายให้เป็นวงจร ดั่งวงจรแบบปฏิจจสมุปบาท(ประ-ติด-จะ-สะ-มุป-บาท)เพื่อให้เห็นภาพการทํางานที่ชัดเจนขึ้น เพื่อความเข้าใจในกาลต่อไปอย่างแจ่มแจ้ง เราจักจําลองได้เป็นดั่งนี้

คน เป็นปัจจัยจึงมี กรรม อันหมายความถึง เพราะคนเป็นเหตุปัจจัยจึงเป็นปัจจัยให้มีการกระทําที่มีเจตนาจุดไฟขึ้น

กรรม เป็นปัจจัยจึงมี แสงแดด อันไม่ได้หมายถึงการกระทําให้มีแสงแดด แต่หมายถึง การกระทําที่มีเจตนาเป็นเหตุจึงเป็นปัจจัยให้ใช้ประโยชน์จากแสงแดดและแว่นขยายนั้นได้

แสงแดด เป็นปัจจัยจึงมี แว่นขยาย ..อันหมายความถึง แสงแแดดเป็นเหตุ จึงเป็นปัจจัยทําให้แว่นขยายได้ทําหน้าที่ส่วนของตน คือรวมแสงแดดนั้นได้

แว่นขยาย เป็นปัจจัยจึงมี เชื้อไฟ .อันหมายความถึง แว่นขยายเป็นเหตุปัจจัยทําให้เกิดไฟได้ จึงทําให้เกิดการหาเชื้อไฟ

เชื้อไฟ เป็นปัจจัยจึงมี ไฟเกิด ..อันหมายความถึง เชื้อไฟ เป็นปัจจัย ที่ทําให้ไฟเกิดการลุกไหม้

ไฟเกิด เป็นปัจจัยจึงมี การลุกไหม้ที่แปรปรวนและดับไป อันหมายความถึง ไฟที่เกิดลุกไหม้เป็นปัจจัยให้ไฟที่เกิดนั้นย่อมมีการแปรปรวนลุกไหม้สว่างบ้าง หรื่บ้าง มอดบ้าง สว่างโพลงบ้าง ปะทุบ้าง..ฯลฯ และต้องดับไปในที่สุด

การลุกไหม้ที่แปรปรวนและดับไป เป็นปัจจัยจึงมี คน อันหมายความถึง ไฟที่ได้แปรปรวนและดับไปเป็นเหตุ.ปัจจัยให้คนต้องจุดหรือเริ่มกระบวนการเกิดไฟขึ้นใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากไฟ....อันเป็นการเริ่มวงจรขึ้นมาใหม่ไม่รู้จักจบสิ้น อันเป็นไปตามวงจรนี้





จากกระบวนการเกิดไฟจากเหตุปัจจัยต่างๆที่มาประชุมกันชั่วขณะ ถ้าเราพิจารณาจักเห็นการเกิดของไฟเกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันเป็นปัจจัยแก่กันและกันเป็นวงจรต่อเนื่องกันได้, เมื่อพิจารณาวงจรให้ดีจักเห็นได้ว่าถ้าเราต้องการดับไฟ (อันอุปมาดั่งดับอุปาทานทุกข์ในวงจรปฏิจจสมุปบาท) วงจรจักเป็นเช่นนี้

คนดับ... กรรมดับ... แสงแดดดับ... แว่นขยายดับ... เชื้อไฟดับ...ไฟดับ... ไฟที่ลุกไหม้แปรปรวนดับ...

ความหมายของวงจรดับไฟก็จักเป็นดังนี้

คนดับ อันหมายถึงไม่มีใครหรือบุคคลที่ลงมือกระทํา ไฟนั้นย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน อันคือไฟดับหรือทุกข์ดับลงนั่นเอง เพราะไม่มีคนตัวตนที่กระทํา

กรรมดับ อันหมายถึง ไม่มีการกระทํา ไฟนั้นหรือทุกข์นั้นย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

แสงแดดดับ อันหมายถึง ไม่มีแสงแดดหรือดับแสงแดดโดยใช้วิธีการต่างๆ ไฟย่อมเกิดไม่ได้

แว่นขยายดับ อันหมายถึง แว่นขยายไม่ทําหน้าที่หรือไม่มีแว่นขยาย ไฟนั้นหรือทุกข์นั้นย่อมเกิดไม่ได้เช่นกัน

เชื้อไฟดับ อันหมายถึง ไม่มีเชื้อไฟเช่นกระดาษ,ไม้นั่นเอง ไฟย่อมไม่สามารถติดได้แน่นอน

จากกระบวนธรรมต่างๆเหล่านี้ถ้าขาดหรือดับหรือทำให้เสียสมดุลย์ไปล้วนย่อมสามารถดับไฟไม่ให้เกิดได้ทั้งสิ้น อันอุปมาดั่งเช่นเดียวกันกับการดับหรือตัดวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)นั่นเอง แต่มีข้อสังเกตุที่ควรพิจารณา คือแสงแดดซึ่งเป็นกระบวนธรรม อันเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมบังคับได้โดยคน เป็นกระบวนธรรมที่เราควรละเว้นไว้เช่นไม่มีแดดไฟย่อมไม่เกิดและจักบังคับให้มีให้เป็นก็มิได้ ดังนั้นปัจจัยนี้เราจึงควรหลีกเลี่ยงในการที่จะดับไฟเพราะแสงแดดเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพราะเป็นสภาวะธรรมหรือกระบวนการธรรมชาติอันยิ่งใหญ่อันควบคุมบังคับโดยตรงไม่ได้ และแสงแดดดับในวงจรจําลองการเกิดแห่งไฟนี้จึงมีความหมายถึงแสงแดดไม่สามารถทํางานหรือทําหน้าที่ได้นั่นเอง มิได้ไปควบคุมบังคับแสงแดดนั้นให้ดับ ถ้าทําก็ต้องโดยทางอ้อมและยุ่งยากดังเช่นต้องหาอุปกรณ์มากั้นมากางเป็นต้น และเวลากลางคืนย่อมไม่มีแสงแดดอันจะบังคับให้มีแสงแดดย่อมไม่ได้เช่นกัน

เหตุที่กล่าวนี้เพราะว่าในวงจรของปฏิจจสมุปบาท ก็มีกองธรรมหรือองค์ธรรมหลายๆองค์ที่แสดงไว้ให้เห็นถึงปัจจัยอันเนื่องให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งแต่ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ดั่งแสงแดดนี้ หรือควบคุมบังคับได้ยากเกินกำลังปุถุชน ดังถ้าเราเข้าไปยุ่งหรือพยายามปฏิบัติย่อมเสียเวลาและเสียกําลังและเกิดผลร้ายขึ้นได้ และย่อมไม่บังเกิดผลอย่างถาวร ดังเช่นแสงแดดนี้ และทุกข์ทั้งหลายอันคืออุปาทานขันธ์๕ อันเกิดเนื่องจากอุปาทานเป็นมูลเหตุปัจจัยสําคัญที่สุดและโดยตรง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ดับอุปาทานนั้นโดยตรงๆแต่ฝ่ายเดียว เหตุเนื่องจากกําลังอันแก่กล้าดุจดั่งพระอาทิตย์ ยากแก่การควบคุมบังคับโดยตรง หรือแม้เป็นเหตุโดยตรงก็จริงอยู่ แต่ไม่สามารถไปดับมันได้เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินยังชีวิต ดังเช่นในกรณีของ เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เราย่อมไม่สามารถดับเวทนาได้เลยแม้จะเป็นเหตุให้เกิดตัณหาโดยตรง เพราะความที่เป็นขันธ์หรือธรรมที่จำเป็นยิ่งในการดำรงชีวิต ไม่มีเสียก็ดำรงขันธ์หรือชีวิตไม่ได้เลย จึงต้องเป็นการปฏิบัติในลักษณะการใช้ปัญญาไปรู้ไปเข้าใจเวทนา เพื่อไม่ให้เป็นปัจจัยเกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง เป็นต้น.

ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านจึงใช้วิธีตัดทอนกําลังอันแรงกล้าของอุปาทานนี้ โดยการลดละ หรือนําออกซึ่งกิเลส ตัณหา, หรือทําให้อ่อนกําลังลงเช่นในเวทนาด้วยปัญญา เพื่อให้เกิดนิพพิทาทอนกําลังของอุปาทานอันแกร่งกล้าลงก่อนนั่นเอง ในขณะเดียวกันนั้นก็ให้พัฒนาสติ,สมาธิ อันเพื่อนําไปใช้ให้เกิด"ปัญญา"ในการดับทุกข์เป็นที่สุด เพื่อทําลายอุปาทานให้สิ้นไปจากจิตอันหมายถึงนิโรธหรือพระนิพพาน บางครั้งพระองค์ท่านทรงทอนกําลังของอุปาทานโดยขั้นตอนการปฏิบัติในขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา หรือตามเพศ(บรรพชิต, นักบวช) ตามกิเลสตัณหาอันหลากหลาย และตามกําลังสติ ปัญญา หรือสถานะการณ์นั้นๆ อันล้วนแล้วแต่เพื่อตัดทอนกําลังของอุปาทานหรือความทุกข์เพื่อให้เหมาะแก่สถานะภาพนั้นๆของผู้ที่ท่านสั่งสอนนั่นเอง คําสั่งสอนของท่านจึงแตกแขนงออกไปถึง๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์แต่ล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันทั้งสิ้นคือดับทุกข์หรือดับอุปาทานทุกข์

จากวงจรจําลองปฏิจจสมุปบาทนี้ควรสังเกตุพิจารณาดังต่อไปนี้

๑. พิจารณาความเป็นเหตุปัจจัยอันมาประชุมรวมกันชั่วขณะ(ระยะเวลาหนึ่ง มิใช่ตัวตน หรืออย่างถาวรแท้จริง) จึงทําให้เกิดไฟหรืออุปมาดั่งความทุกข์ หรือสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุอันคือ "ธรรมใด เกิดแต่เหตุ" ในพุทธอุทานคาถาที่๑ นั่นเอง

๒. พิจารณาให้เห็นความเป็นปัจจัยอันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน คือปัจจัยอันหนึ่งยังให้เกิดหรือเป็นเหตุ ทําให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่งหรือผล และปัจจัยนี้ก็ไปยังให้เกิดปัจจัยอื่นๆต่อเนื่องไป เป็นความสัมพันธ์อันสืบเนื่องต่อกันเป็นวงจร อันยังให้เกิดแรงหมุนเวียนอย่างสืบเนื่องขับดันวงจรอย่างไม่รู้จักจบสิ้น อันเป็นไปตามหลักธรรมอิทัปปัจจยตา เพราะเหตุนี้มี ผลนี้จึงเกิด

๓. พิจารณาให้เห็น เมื่อปัจจัยอันหนึ่งซึ่งเป็นเหตุเกิด ทําให้ปัจจัยอันต่อไปหรือผลก็ต้องเกิดเป็นธรรมดาเป็นปัจจัยต่อเนื่องเป็นลูกโซ่หรือวงจร และเมื่อปัจจัยอันหนึ่งดับ ปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กันนั้นก็ต้องดับตามๆกันไปด้วยเป็นวงจร (ดับนั้นไม่ได้หมายถึง ดับสูญ แตกดับไป แต่เป็นภาษาธรรม ซึ่งในบางครั้งหมายความถึงไม่สามารถทําหน้าที่นั้นๆแห่งตนได้) อันจักเป็นไปตามหลักธรรมอิทัปปัจจยตา

วงจักรหรือวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็คล้ายๆกับการทํางานของวงจรจําลองนี้ เพียงแต่ไม่ใช่วงจรง่ายๆดังนี้ เป็นวงจรกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ที่เป็นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงถึงแก่นแท้หรือขั้นสูงสุด และละเอียดอ่อนเป็นที่สุด

คงพอจะเห็นได้ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุปัจจัย อันเป็นปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กัน ไม่ใช่เฉพาะแต่รูปธรรมข้างต้นเท่านั้น แต่หมายถึงทุกๆสรรพสิ่ง อันรวมทั้งสิ่งที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม ดังเช่นสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือวัตถุ

นํ้าก็ประกอบด้วยปัจจัยของ 2H+O เป็น H2O หรือ นํ้า

โมเลกุลก็ประกอบคือเกิดขึ้นจากการเหตุคืออะตอมหลายๆอะตอมมาเป็นปัจจัยกัน กล่าวคือประชุมรวมตัวกัน

แม้แต่อะตอมเพียงอะตอมเดียวอันเป็นสิ่งที่เล็กเกือบที่สุดที่มนุษย์รู้จักก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยของโปรตอนและอิเลคตรอน และยังแสดงอาการไม่เที่ยงโดยการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แสดงให้เห็นอนิจจังความแปรปรวนอันไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดแรงบีบคั้นให้คืนสู่สภาพเดิมๆก่อนการปรุงแต่ง จึงคงทนอยู่ไม่ได้ จนต้องดับไปในที่สุด ฯลฯ

เซล เซลเดียวก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมากหลายมาประชุมกัน เช่นสารประกอบต่างๆ แร่ธาตุมากมาย โปรตีน นํ้า อากาศ สารอาหาร ชีวเคมี ฯลฯ.ที่เคลื่อนไหวแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา

กายหรือตัวตนก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมาย ดังเช่น ธาตุดิน อันหมายถึงแร่ธาตุต่างๆ และธาตุนํ้า ธาตุลม ธาตุไฟ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ, ที่มีการเสริมแต่งแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาทุกขณะเช่นกัน

เป็นเช่นนี้ในทุกสรรพสิ่ง แม้แต่จักรวาลอันใหญ่โตก็ล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยธาตุต่างๆ ดาวต่างๆ พลังงานต่างๆ แรงดึงดูด สิ่งต่างๆทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ฯลฯ ที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงหมุนรอบตนเอง และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อันล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดจักรวาลขึ้นเช่นกัน

พิจารณาในทางรูปธรรมหรือวัตถุสิ่งของต่างๆหรือกาย ทุกชนิดทุกสิ่งในโลกนี้ที่สงสัยอยู่ให้เห็นให้เข้าใจเสียก่อนว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยนั่นเอง เพื่อเป็นบาทฐานกําลังปัญญา ความเชื่อมั่น ว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ อันเป็นไปตามกฏของความเป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิทยาศาตร์นั่นเอง หรือความเป็นเหตุปัจจัยตามหลักอิทัปปัจจยตา, การพิจารณาในสิ่งที่เป็นรูปธรรมอันเป็นของหยาบกว่าก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักความเป็นปัจจัยอย่างแจ้งชัดเสียก่อน, ตลอดจนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็สามารถยืนยันในคําสอนของพระพุทธองค์ที่มีมากว่า๒๕๐๐ปีได้เป็นอย่างดี

ในทางนามธรรมอันเป็นของละเอียดอ่อน ก็เช่นเดียวกัน ทุกๆสรรพสิ่ง(ยกเว้นเพียงสิ่งเดียวคืออสังขตธรรม คือสิ่งที่ไม่ได้ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เช่น นิพพาน ซึ่งมีอธิบายขยายความในภายหลัง) ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกันกับรูปธรรมคือเกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น จิตหรือใจจริงๆแล้วก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัย ดังเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งสี่หรือที่เรียกกันว่านาม จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจ และจิตนี้ก็ยังต้องมีกายหรือตัวตนเป็นเหตุปัจจัยร่วมอีกด้วย

แม้แต่ส่วนย่อยๆของจิตเองก็เกิดแต่เหตุปัจจัย ดังเช่นเวทนาก็เกิดแต่เหตุปัจจัยอันหลากหลายมาประชุมปรุงแต่งกันชั่วขณะ อันคือเกิดมาแต่เหตุปัจจัยต่างๆ ดังเช่นเวทนาจักเกิดขึ้นได้แต่ละครั้งแต่ละทีก็ย่อมมีเหตุมีปัจจัย พอจักเขียนเป็นกระบวนธรรมของเวทนา เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนขึ้นดังนี้

ตา+รูป+วิญญาณ >> ผัสสะ(การกระทบรับรู้ของทั้ง๓สิ่งนั้น) >> พร้อมความจําได้ >> จึงเกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นชอบ, ไม่ชอบ หรือเฉยๆ(สุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุข)

แม้แต่ความทุกข์ที่ครอบสรรพสัตว์ไว้ ก็ล้วนแล้วต้องเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆเช่นกัน ดังที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงค้นพบและบัญญัติเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ ใน

ปฏิจจสมุปบาท กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและการดับไปแห่งทุกข์

ดังนั้นถ้าเราต้องการดับทุกข์ เราจึงควรรู้แจ้งว่าความทุกข์นั้นเกิดมาแต่เหตุปัจจัยใดบ้าง เราก็ย่อมมีโอกาสดับเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านั้นเสียแต่ต้นมือได้ง่าย ก่อนที่จะเป็นทุกข์, อุปมาดั่งดับไฟที่เหตุหรือต้นเพลิง มิได้พยายามดับไฟที่เปลวเพลิงนั่นเอง



การปฏิบัติในโฮมเพจหรือหนังสือเล่มนี้ เป็นการปฏิบัติที่จิต โดยใช้สติและปัญญาเป็นสําคัญ และปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาอย่างความหมายในทางโลก แต่หมายถึงวิชาหรือปัญญาความรู้ความเข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์ ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติในแนวอื่น ในการอ่านแรกๆอาจจะงุนงงหรือรู้สึกขัดแย้งกับความเชื่อบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้ามีความเพียรโดยเฉพาะการหมั่นพิจารณาด้วยใจที่สงบ สบายๆ ถ้าใช้สมาธิก็แค่ระดับขณิกกะคือแค่ใจไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน และวางจากความเชื่อ ความยึดมั่นชั่วขณะ แล้วพิจารณาตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ) ผู้เขียนเชื่อว่าจักเกิดคุณอนันต์ต่อผู้ปฏิบัติในที่สุด ตลอดจนสามารถหลีกเลี่ยงและแก้ไขผลร้ายต่างๆ อันจักอาจบังเกิดขึ้นหรือได้บังเกิดขึ้นแล้วเพราะวิปัสสนูปกิเลส อันเกิดขึ้นเป็นธรรมดากับนักปฏิบัติเพราะแม้ว่าท่านได้กระทําประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดที่มนุษย์ทั้งหลายพึงปฎิบัติ แต่อย่าลืมสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ตามความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่ยิ่งสูงนั้นถ้าตกก็ยิ่งเจ็บหรือยิ่งอันตรายเช่นกัน จึงไม่ควรประมาทควรปฏิบัติด้วยสติและปัญญาจึงจักสัมฤทธิ์ผลตามที่ตั้งใจไว้

อนึ่งหนังสือหรือและโฮมเพจนี้ ผู้เขียนไม่ได้มีความตั้งใจเขียนเพื่อขัดแย้งกับผู้ใด หรือหลักธรรมใดๆที่ได้ยึดปฏิบัติกันอย่างหลากหลาย เป็นเพียงข้อเขียนของผู้เขียนที่เขียนขึ้นตามความเข้าใจในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บังเกิดขื้นแก่ผู้เขียน และต้องการเผยแผ่หลักธรรมอันลํ้าค่าที่เข้าใจได้บ้างนี้เป็นธรรมทานแด่เหล่ากัลยาณมิตรนักปฏิบัติที่ต้องการดับทุกข์หรือต้องการจางคลายจากทุกข์เท่านั้น กัลยาณมิตรทั้งหลายมีหน้าที่ต้องใช้ธรรมวิจยะ(การพิจารณาในธรรม) อันเป็นโพชฌงค์องค์ประกอบอันสําคัญยิ่งแห่งการตรัสรู้หรือพ้นทุกข์, อันคือการพิจารณาในธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) เพื่อให้ทราบประจักษ์แก่ตัวท่านเองว่า ถูกต้องหรือผิดประการใด อันเป็นไปตามหลักกาลามาสูตร แล้วใช้สัมมาญาณ ความเข้าใจหรือปัญญาอันจักเป็นฐานกําลังแห่งจิตนั้นปฏิบัติจึงจะเกิดคุณอนันต์สมดังพุทธประสงค์ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุตติสุขจากการหลุดพ้นที่จําเป็นต้องมีสัมมาญาณจึงจะเกิดสัมมาวิมุตติขึ้นได้ จากมรรคองค์๘แห่งการปฏิบัติเป็นมรรคมีองค์๑๐ของพระอริยะเจ้าหรือสัมมัตตะ ๑๐ ที่บางท่านอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนจึงมิรู้ว่าจำเป็นต้องยังให้เกิดสัมมาญาณหรือสัมมาปัญญาเกิดขึ้นก่อนจึงจะถึงซึ่งสัมมาวิมุตติ จึงมิใช่สมาธิแต่อย่างเดียว ยังให้เกิดสัมมาวิมุตติโดยตรงๆอย่างที่บางท่านอาจเข้าใจผิดโดยการเชื่อตามๆกันมา




//www.nkgen.com/3.htm




 

Create Date : 08 ตุลาคม 2553
1 comments
Last Update : 22 ตุลาคม 2553 21:20:13 น.
Counter : 2172 Pageviews.

 

 

โดย: สดายุ... 24 พฤษภาคม 2557 8:01:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.