Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
14 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

๕. สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ



เมื่อมีสฬายตนะ ทวารหรืออวัยวะที่ใช้ในการสื่อสารรรับรู้การสัมผัสของกายตน ได้ทํางานตามหน้าที่อย่างสมบูรณ์ จึงย่อมต้องมีการผัสสะ คือการประจวบกันกับสังขารที่สั่งสมแล้วผุดขึ้นมานั้นอันพร้อมด้วยวิญญาณที่รับรู้เกิดขึ้น กล่าวคือเกิดการประจวบครบองค์ธรรมทั้ง ๓ อันกล่าวได้ว่า เป็นการเกิดกระบวนธรรมของการกระทบสัมผัสตามธรรมชาติอย่างสมบูณ์และถูกต้องและเป็นธรรมดา ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ดังนี้

บุคคลอาศัยจักษุ(อายตนะภายใน)และรูป(อายตนะภายนอก) (ย่อมต้อง)เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

(กล่าวเหมือนกันในอายตนะหรือทวารทั้ง ๖)
(ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)

หรือเขียนเป็นกระบวนธรรม เพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกแตกธรรมในการพิจารณาได้ดังนี้

อายตนะภายนอก สฬายตนะ(อายตนะภายใน) (เกิด)วิญญาณ พระองค์ท่านเรียกว่าผัสสะ หรือเกิดการกระทบสัมผัสกัน

ดังตัวอย่าง

คิด,นึก(อันคือธรรมารมณ์) ใจหรือจิต (เกิด)มโนวิญญาณ เกิดการกระทบกันหรือผัสสะ

ตา รูป (จักษุ)วิญญาณ(ตา) ผัสสะ

หู เสียง (โสต)วิญญาณ(หู) ผัสสะ

บางครั้งการอธิบายในที่นี้ อาจมีการเขียนสลับตําแหน่งกันบ้าง ก็เพื่อให้พิจารณาเห็นได้ชัดเจนขึ้นในแต่ละเรื่อง อันเป็นไปตามธรรม, แต่ล้วนมีความหมายเหมือนกัน คือเกิดแต่เหตุปัจจัยทั้ง ๓ เช่นกันอันมี อายตนะภายนอก(อันหมายรวมถึงสังขารต่างๆเช่นความคิดตามที่สั่งสมไว้ในวงจรปฏิจจสมุปบาทด้วย) สฬายตนะ(อายตนะภายใน) วิญญาณ ทั้ง ๓ องค์ธรรมมาประจวบเป็นเหตุปัจจัยกัน ท่านเรียกว่าเกิดผัสสะ อันเป็นกระบวนธรรมของผู้มีชีวิตเป็นธรรมดา

ดังนั้นการเกิดขึ้นแห่งผัสสะในวงจรปฏิจจสมุปบาท จึงเกิดจากสฬายตนะ ที่มีทางเข้า หรือเหตุใหญ่ๆได้ ๒ ทาง (ดูรูปประกอบที่มุมขวาล่าง) คือ

๑. ดําเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทตามปกติ คือ เกิดจากองค์ธรรมสังขาร(องค์ธรรมที่ ๒) ในวงจรปฏิจจสมุปบาท อันเกิดขึ้นมาแต่อาสวะกิเลสหรือสัญญาหรือธรรมารมณ์ชนิดหนึ่ง แต่แอบแฝงกิเลสที่นอนเนื่องที่เจตนาขึ้นมาหรือผุดขึ้นมาเอง ดังกระบวนธรรมที่แสดงนี้

สังขาร(องค์ธรรมที่ ๒) วิญญาณ(องค์ที่ ๓) สฬายตนะ(องค์ธรรมที่ ๕) ครบองค์ทั้ง ๓ เกิดการกระทบ หรือ ผัสสะ (เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเป็นองค์ธรรมที่ ๖ นั่นเอง)

ดูวงจรมีหมายเลขกำกับประกอบการพิจารณาคลิกที่นี่ (รายละเอียดอยู่ในบทที่๙)

๒. และเกิดจากอายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันมีอยู่ในสภาวธรรมชาติธรรมดาๆ อันอาจจรมาร่วมกระทบกับองค์ธรรมสฬายตนะ(องค์ธรรมที่ ๕)โดยตรงในการดําเนินชีวิต อันเป็นอีกเหตุปัจจัยหนึ่งอันสําคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดการกระทบกันโดยตรง อันเมื่อเกิดการกระทบสัมผัสแล้วย่อมต้องเกิดวิญญาณการรับรู้ในสิ่งที่มากระทบเกิดขึ้นด้วยเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต ไม่เกิดก็ไม่ได้ ดังกระบวนธรรมนี้

อายตนะภายนอกอันมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ จากภายนอก(กองธรรมที่๑๖)จรมากระทบโดยตรงกับ สฬายตนะ(กองธรรมที่ ๕) วิญญาณอันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต(กองธรรมที่๑๕) ผัสสะ(องค์ธรรมที่ ๖)

โยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคาย จะเห็นความเป็นกระบวนการธรรม ตามธรรมชาติ ธรรมดาๆ ที่เมื่อ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบสัมผัส ความคิดกระทบใจ ย่อมเกิดวิญญาณการรับรู้(ระบบประสาทรับรู้)ในสิ่งที่สัมผัสหรือกระทบนั้นๆเป็นอาการธรรมดาหรือเป็นสภาวธรรมที่มันเป็นเช่นนั้นเอง อันเรียกว่าผัสสะ เป็นการทํางานของระบบร่างกายตามปกติธรรมชาติที่สมบูรณ์ถูกต้องด้วยประการทั้งปวงนั่นเอง! แต่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้เนื่องจากความไม่รู้ในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ หรืออวิชชานั่นเอง !

ข้อควรพิจารณา ที่องค์ธรรมผัสสะนี้ เหตุที่ทําให้เกิดนอกจากสังขารแล้ว ยังมีอายตนะภายนอกคือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,ธรรมารมณ์สามารถที่จะจรมากระทบโดยตรงผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง๖ (สฬายตนะ) ซึ่งล้วนมีอาสวะกิเลสที่นอนเนื่องและอวิชชาแฝงอยู่ในทีอยู่แล้ว ดังนั้นในชีวิตประจําวัน การงาน ขับรถ การสังสรรค์....ฯลฯ จึงควรมีความสํารวม สังวร ระวัง ไม่ประมาท เพราะเมื่อกระทบกันเมื่อใดย่อมต้องมีผัสสะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นกระบวนการธรรมชาติหรือสภาวธรรมแท้ๆ, อย่างในการออกบวชเป็นบรรพชิตจะมีพระวินัย กฏข้อบังคับคือศีลต่างๆ การปลีกวิเวก การออกธุดงค์ ฯ. เหล่านี้เป็นเครื่องสํารวม สังวร ระวัง อันเพื่อสำรวมในสฬายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ทั้งหลายนั่นเอง เพื่อเป็นเครื่องป้องกันในขั้นต้น เพื่อให้ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์อย่างรวดเร็ว, ดังนั้นในปุถุชนนักปฏิบัติเพื่อดับทุกข์หรือจางคลายจากทุกข์ จึงยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากย่อมมีการกระทบผัสสะอันเกิดแต่สฬายตนะนี้โดยตรงๆอันเกิดจากกิจต่างๆในชีวิตประจําวันอันมากมายและยุ่งเหยิงในทางโลกๆนั่นเองและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะหน้าที่ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน จึงยิ่งต้องมีสติรู้เท่าทัน, เพราะเป็นสภาวธรรมที่ต้องมี ต้องเกิด อันไม่สามารถห้ามการผัสสะได้โดยตรง อันสามารถยังให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ทุกขณะที่กระทบถ้าไม่มีสติรู้เท่าทันและเข้าใจ(ปัญญา)อย่างถ่องแท้

ตัวอย่างของขันธ์๕ หรือปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดในชีวิตทุกๆขณะจิต เช่น

ตา รูป จักขุ(ตา)วิญญาณ การประจวบกันเรียกว่า ผัสสะ

หู เสียง โสต(หู)วิญญาณ การประจวบกันเรียกว่า ผัสสะ

ใจ คิด มโน(ใจ)วิญญาณ การประจวบกันเรียกว่า ผัสสะ

ท่านจึงกล่าวไว้ว่า สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ กล่าวคือเมื่อมีวิญญาณเกิดขึ้นแล้วย่อมยังให้ครบองค์ของการผัสสะ และย่อมเป็นการผัสสะชนิดอวิชชาผัสสะ คือผัสสะที่มีอวิชชาแฝงอยู่ในที คือหมายถึงเกิดการผัสสะที่ยังไม่มีวิชชาในเรื่องทุกข์และวิธีการดับทุกข์ จึงไม่รู้(ปัญญา)และไม่มีสติรู้เท่าทันว่า มีสัญญาความจําอันแฝงไว้ด้วยกิเลสหรืออาสวะกิเลสนั่นเอง แอบแฝงมาด้วยเป็นธรรมดา จึงเป็นการยอมอยู่ในทีให้อาสวะกิเลสหรือกิเลส และอวิชชานั้นแฝงติดไปกับการกระทบผัสสะนั้น จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนามีอามิส(เวทนาที่เจือด้วยกิเลส) จึงพรั่งพร้อมไปในทางที่ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้น




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2553
0 comments
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2553 12:20:50 น.
Counter : 1303 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.