Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. วิภาคแห่งปฏิจจสมุปบาท


ภิกษุ ท.!
ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
.. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร;
.. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ;
.. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป;
.. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก;
.. เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ;
.. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา;
.. เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา;
.. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน;
.. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ;
.. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ;
.. เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.

ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.!
ชรา มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ชรา คือ
.. ความแก่ความคร่ำคร่า
.. ความมีฟันหลุด
.. ความมีผมหงอก
.. ความมีหนังเหี่ยว
.. ความเสื่อมไปแห่งอายุ
.. ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ;

นี้เรียกว่า ชรา.

ภิกษุ ท.!
มรณะ เป็นอย่าไรเล่า ?

มรณะคือ
.. การจุติ
.. ความเคลื่อน
.. การแตกสลาย
.. การหายไป
.. การวายชีพ
.. การตาย
.. การทำกาละ
.. การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย
.. การทอดทิ้งร่าง
.. การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ;
นี้ เรียกว่า มรณะ; ด้วยเหตุนี้แหละ ชราอันนี้ด้วย มรณะอันนี้ด้วย.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า ชรามรณะ.

ภิกษุ ท.!
ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?

ชาติคือ
.. การเกิด
.. การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์)
.. การบังเกิด
.. การบังเกิดโดยยิ่ง
.. ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย
.. การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า ชาติ.

ภิกษุ ท .!
ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภพ มีสามเหล่านี้ คือ
.. กามภพ
.. รูปภพ
.. และอรูปภพ.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า ภพ.

ภิกษุ ท.!
อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
อุปาทานมีสี่อย่างเหล่านี้ คือ
.. กามุปาทาน
.. ทิฏฐปาทาน
.. สีลัพพตุปาทาน
.. และอัตตวาทุปาทาน.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า อุปาทาน.

ภิกษุ ท.!
ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
หมู่แห่งตัณหามีหกอย่างเหล่านี้ คือ
.. ตัณหาในรูป
.. ตัณหาในเสียง
.. ตัณหาในกลิ่น
.. ตัณหาในรส
.. ตัณหาในโผฏฐัพพะ
.. และตัณหาในธรรมารมณ์.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า ตัณหา.

ภิกษุ ท.!
เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
หมู่แห่งเวทนามีหกอย่าง เหล่านี้ คือ
.. เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา
.. เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู
.. เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก
.. เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น
.. เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางกาย
.. และเวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า เวทนา.

ภิกษุ ท.!
ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
หมู่แห่งผัสสะมีหกอย่าง เหล่านี้ คือ
.. สัมผัสทางตา
.. สัมผัสทางหู
.. สัมผัสทางจมูก
.. สัมผัสทางลิ้น
.. สัมผัสทางกาย
.. และสัมผัสทางใจ.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า ผัสสะ.

ภิกษุ ท.!
อายตน ะหก เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
หมู่แห่งอายตนะมีหกอย่างเหล่านี้คือ
.. อายตนะคือตา
.. อายตนะคือหู
.. อายตนะคือจมูก
.. อายตนะคือลิ้น
.. อายตนะคือกาย
.. และอายตนะคือใจ.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่าอายตนะหก.

ภิกษุ ท.!
นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ?

นาม คือ
.. เวทนา
.. สัญญา
.. เจตนา
.. ผัสสะ
.. และมนสิการ.
นี้ เรียกว่า นาม.

รูป คือ
.. มหาภูตทั้งสี่ด้วย
.. และรูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย.
นี้ เรียกว่า รูป.

ด้วยเหตุนี้แหละ นามอันนี้ด้วย รูปอันนี้ด้วย.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า นามรูป.

ภิกษุ ท .!
วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท .!
หมูแห่งวิญญาณมีหกอย่างเหล่านี้ คือ
.. วิญญาณทางตา
.. วิญญาณทางหู
.. วิญญาณทางจมูก
.. วิญญาณทางลิ้น
.. วิญญาณทางกาย
.. และวิญญาณทางใจ.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่าวิญญาณ.

ภิกษุ ท.!
สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
สังขารทั้งหลายเหล่านี้ คือ
.. กายสังขาร
.. วจีสังขาร
.. และจิตต สังขาร.

ภิกษุ ท .!
เหล่านี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย

ภิกษุ ท .!
อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท .!
ความไม่รู้อันใด ..
.. เป็นความไม่รู้ในทุกข์,
.. เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์,
.. เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์,
.. และเป็นไม่รู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท.!
นี้ เรียกว่า อวิชชา.

ภิกษุ ท .!
ด้วยเหตุนี้แหละ,
.. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร;
.. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ;
.. เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ;
.. เพ ราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก;
.. เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ;
.. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา;
.. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา;
.. เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีอุปาทาน;
.. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ;
.. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ;
.. เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณ ะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.

ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
.
.
.
นิทาน. สํ. ๑๖/๒-๕/๕-๑๗.




 

Create Date : 24 มีนาคม 2557
0 comments
Last Update : 24 มีนาคม 2557 7:00:18 น.
Counter : 1098 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.