Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
20 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

บริหารจัดการตนเอง...พัฒนาภาวะผู้นำ



จอห์น เฮเดอร์ (John Heider) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Tao Of Leadership
ได้ประยุกต์หลักปรัชญาเต๋ามาใช้เป็นหลักในการพัฒนาภาวะผู้นำ
ตอนหนึ่งในหนังสือได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า
“การที่จะรู้ว่าใครเป็นอย่างไรนั้นต้องใช้ความฉลาด แต่การจะรู้ตนเองเป็นอย่างไรนั้นต้องใช้ปัญญา
ในการจัดการชีวิตผู้อื่นนั้นต้องใช้ความเข้มแข็ง แต่การจัดการกับชีวิตของตนเองนั้นต้องใช้อำนาจที่แท้จริง”

ความเป็นผู้นำ ในบางครั้งเราคุ้นเคยกับการนำคนให้คนทำงานตามคำสั่งต่างๆ ตามแผนงาน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยต้องฉลาดในการรู้จักแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร
เพื่อให้รู้ว่าจะใช้ใคร ทำสิ่งใด จึงเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้คนเท่านั้น
แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง ให้เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้วิธีที่จะพัฒนาตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ข้อแนะนำในการพัฒนาความเป็นผู้นำนั้น มีข้อแนะนำภาคปฏิบัติดังนี้


หมั่นสำรวจตนเอง
ผู้นำที่พัฒนาตัวเองจะศึกษาอย่างรอบคอบถึงพฤติกรรมของตนที่ทำอยู่ บุคลิกลักษณะที่เฉพาะเจาะจง
อาจเริ่มต้นด้วยการสำรวจและประเมินตนเอง โดยใช้ความซื่อสัตย์และไม่เพียงสร้างภาพลักษณ์หลอกลวงตนเอง
สำรวจดูว่าเรามีคุณสมบัติพื้นฐานเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่ ด้วยการตอบคำถามเหล่านี้ อาทิ
- ความยุติธรรม “ฉันยุติธรรมไหม?”
- ความรับผิดชอบ “ฉันมีความรับผิดชอบไหม?”
- ความเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง “ฉันชอบฟังคนอื่นไหม?” “ฉันเปิดโอกาสให้มีการถกเถียงไหม?”
- ความซื่อสัตย์ “ฉันมีความซื่อสัตย์ไหม?”
- ความน่าเชื่อถือ “ผู้ร่วมงานให้ความไว้เนื้อเชื่อใจฉันหรือไม่?”
- ความมุ่งมั่น “ฉันบากบั่นและมุ่งมั่นสู่เป้าหมายมากเพียงพอหรือยัง?”

ที่สำคัญอีกคำถามหนึ่งคือ
การถามตัวเองว่า “เรานำคนอื่นเช่นนี้ ถ้าเราเป็นผู้ตาม เราอยากทำตามการนำแบบนี้หรือไม่?”

การตอบคำถามเหล่านี้
ให้เราตอบตัวเองด้วยการพิจารณาสิ่งที่ตนเองทำอย่างรอบคอบ ด้วยความซื่อสัตย์และปราศจากอคติ
ขณะเดียวกันให้เราสังเกตจากการตอบสนองของคนรอบข้างในสิ่งต่างๆ ที่ทำว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง
อาจเปิดโอกาสให้ทีมงาน โดยเฉพาะคนที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมและการตัดสินใจของเรา
ได้สื่อสารความรู้สึกที่แท้จริงและให้คำแนะนำแก่เรา

การสำรวจและทบทวนสิ่งที่ตนเองทำลงไปนั้น หากเราทำใจให้เป็นกลางไม่มีอคติ
ไม่ปกป้องเข้าข้างตนเองหรือประเมินตนเองต่ำต้อยเกินความเป็นจริง
เราจะสามารถสกัดความเป็นเรา ทั้งในส่วนของ “จุดแข็ง” ที่เราควรเสริมสร้างให้แข็งแกร่งขึ้น
และ “จุดอ่อน” ที่เราควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้



ยอมรับจุดอ่อน - จุดแข็งของตนเอง
โดยทั่วไปความเป็นผู้นำไม่ได้สมบูรณ์เพียบพร้อมมาตั้งแต่เกิด แต่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และพัฒนา
โดยจำเป็นต้องถ่อมใจยอมรับในข้อบกพร่อง
จากนั้นต้องใช้ความกล้าหาญและความตั้งใจจริง ในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองในแต่ละเรื่อง
อย่างลงรายละเอียดและเอาจริงเอาจัง
เช่นที่เฮเดอร์กล่าวไว้ “การจัดการกับชีวิตของตนเองนั้นต้องใช้อำนาจที่แท้จริง”



พัฒนาให้ครบถ้วนทุกด้าน
ในการพัฒนาความเป็นผู้นำจำเป็นต้องพัฒนาให้ครบถ้วนทุกด้าน อันได้แก่
ด้านความรู้ โดยดูว่ามีความรู้ใหม่ๆ อะไรบ้างที่เราต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
ด้านทักษะ มีอะไรบ้างที่เราควรฝึกฝน
ด้านลักษณะชีวิต มีเรื่องอะไรบ้างที่เรายังขาดอยู่
และด้านประสบการณ์ที่เราต้องหาเพิ่มเติม



ตั้งเป้าหมายพัฒนาให้ชัดเจน
ความตั้งใจจะไม่ประสบความสำเร็จหากไม่ตั้งเป้าหมาย
ดังนั้นเราจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน พอที่เราจะทำสำเร็จได้ มีระยะเวลาที่เหมาะสม
เมื่อเราทำสำเร็จเรื่องหนึ่งให้เราพิจารณาตัวเอง และกำหนดเป้าหมายที่ต้องพัฒนา ในขั้นต่อไป

สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดี และมีประสิทธิภาพคือ
เราจะต้องไม่พยายามสร้างภาพลักษณ์ที่หลอกลวง
โดยเปลี่ยนแปลงเพียงรูปแบบภายนอก บุคลิกท่าทาง ลักษณะการพูด การใช้อำนาจสั่งการ
หรืออื่น ๆ ที่มุ่งหวังเพียงให้เกิดการยอมรับจากผู้อื่น

แต่เราต้องตระหนักว่าองค์ประกอบภายในที่ผสมผสานเป็นตัวเรานั้นคือ
เงื่อนไขสำคัญว่า เราจะสามารถเป็นผู้นำได้ประสบความสำเร็จเพียงใดในระยะยาว

ผู้นำจึงต้องเป็นผู้เริ่มต้นในการเป็นแบบอย่าง ในการเรียนรู้จักการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาตนเอง
ดังที่ มหาตมะคานธี ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียได้เคยกล่าวไว้ว่า
“ถ้าเราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเริ่มต้นจากตัวเรา”


ข้อมูลโดยนิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : สยามเสวนา
ที่มา : //www.kriengsak.com/




 

Create Date : 20 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 19:44:34 น.
Counter : 3301 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.