Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

สร้างภาพลักษณ์ด้วยการรู้จักจังหวะในที่ทำงาน



ในสถานที่ต่างๆ แต่ละที่มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป
ส่งผลให้การปฏิบัติตัวต่างๆ ก็ย่อมแตกต่างกันออกด้วย

การที่เราเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องรู้จักจังหวะ กาลเทศะ
หรือความเหมาะสมในการปฏิบัติตัวในสถานที่นั้นๆ เป็นอย่างดี
เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการทำงาน และถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์อย่างหนึ่ง

การรู้จักจังหวะ หรือกาลเทศะในการทำงาน ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากนะคะ
ไม่ได้จำเป็นเฉพาะกับคนที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น
แม้แต่ผู้บริหารเองก็ต้องรู้จักจังหวะในการทำงานด้วยเช่นกัน
จังหวะที่กล่าวถึง ก็คือ การรู้จักเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
เลือกว่าช่วงนี้อะไรที่สามารถทำแล้วก่อให้เกิดผลดี หรืออะไรที่ทำแล้วจะก่อให้เกิดผลเสียก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง

อย่างถ้าคุณรู้ว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่บริษัทกำลังมีคู่แข่ง ที่ผลิตสินค้าออกมาชนิดเดียวกัน เหมือนกัน
หรือแม้แต่การโฆษณาสรรพคุณต่างๆ ก็ยังคล้ายกัน
คุณก็ควรที่จะหยุดและถอยออกมาดูก้าวหนึ่ง ว่าบริษัทคู่แข่งของคุณนั้น ได้พัฒนาสินค้าออกมาในรูปแบบไหน
และมีอะไรที่ทำให้สินค้าของเขามีคุณภาพทัดเทียมกับของเราบ้าง
เพื่อที่จะได้หาข้อบกพร่อง หาทางพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ไม่ใช่ดึงดันที่จะเอาชนะ โดยไม่ตรวจสอบ
เอาแต่มองจากสายตาของคนภายใน แทนที่จะหยุดเพื่อศึกษามุมมองของคนภายนอก ซึ่งเป็นลูกค้า

หรือเมื่อบริษัทกำลังเกิดภาวะวิกฤติ
แทนที่คุณจะชะลอการดำเนินการเพื่อศึกษาแนวทางต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาหรือวิกฤตต่างๆ ไปทีละเปราะ
แต่คุณกลับใจร้อน ทุ่มทุกสิ่งทุกอย่างลงไปเต็มที่ ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมา ผลที่ได้ย่อมไม่คุ้มเสียแน่นอนค่ะ
แต่ถ้าคุณค่อยๆ รู้จักแก้ปัญหาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเกิดปัญหานั้นแก้ไม่ได้คุณก็ยังมีโอกาสใหม่อีกครั้ง
เพราะคุณรู้จักจังหวะว่าควรก้าวทีละน้อย และควรถอยเมื่อไม่ไหว
นอกจากจะพาบริษัทของคุณให้รอดพ้นวิกฤตได้แล้ว ยังทำให้ลูกน้องเชื่อมั่นในตัวคุณมากขึ้นอีกด้วย

การรู้จักจังหวะที่ดีในการทำงาน จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ลูกน้องประทับใจในตัวคุณ
เพราะคุณเป็นผู้บริหารที่รู้จักว่าเมื่อไหร่ที่ควรผ่อน และเมื่อไหร่ที่ควรตึง
รู้จักจังหวะที่ดีเพื่อการทำงานที่เกิดผลดีต่อบริษัท ไม่ใช่เป็นหัวหน้าที่รู้จักแค่การดึงให้ตึงแต่เพียงอย่างเดียว
คือดึงดันที่จะทำให้ได้ โดยไม่ดูจังหวะ กาลเทศะ และความเหมาะสมของโอกาสในขณะนั้น

อย่างเช่น เมื่อคุณกำลังปรึกษาโครงการหนึ่งกับลูกค้าที่ใจร้อน ขณะนั้นลูกค้ากำลังอารมณ์โกรธ
แต่คุณเห็นว่าโครงการที่คุณคิดเป็นสิ่งที่ดี จึงเถียงลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ายอมรับในโครงการของคุณ
ถ้าคุณทำอย่างนั้นลูกค้าก็จะยิ่งโกรธ และไม่ยอมรับผลงานคุณมากเข้าไปใหญ่
เพราะเขาถือว่าคุณไม่ยอมฟังความต้องการของเขา ทั้งที่จริงๆ แล้วผลงานของคุณอาจจะดีที่สุดก็ตาม
นอกจากงานคุณจะเสียหายแล้วลูกน้องยังไม่นับถือคุณอีก
เพราะเขาจะเห็นว่าคุณเอาแต่ดึงดัน ไม่รู้จักจังหวะเอาเสียเลย แต่ถ้าคุณปล่อยยอมตามใจลูกค้า
และพูดให้ลูกค้าเข้าใจในวันหลังเมื่ออารมณ์เย็นขึ้น เขาก็ย่อมที่จะรับฟังคุณ
และลูกน้องยังนับถือคุณ เพราะคุณรู้จักจังหวะที่ดีในการทำงานด้วยนะคะ

การรู้จักจังหวะที่ดีในการทำงาน นอกจากจะทำให้งานของคุณผ่านพ้นอย่างราบรื่นไปได้ด้วยดีแล้ว
ยังถือว่าเปิดโอกาสให้คุณสำรวจข้อผิดพลาดของงานด้วยนะคะ
และที่สำคัญ ยังสร้างภาพลักษณ์ของคุณให้ดูดีในสายตาลูกน้องของคุณด้วย
เพราะคงไม่มีลูกน้องคนไหนอยากทำงานกับหัวหน้า ที่ดึงดันจะเอาความคิดของตนเองให้ได้
โดยไม่ดูจังหวะ และโอกาสที่เหมาะสมหรอกค่ะ


ข้อมูลโดย : //www.jobroads.net
ที่มา : //www.raidai.com




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 11 มิถุนายน 2553 20:20:58 น.
Counter : 1042 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.