Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
23 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

สิทธิในการทำงาน ที่ผู้หญิงควรรู้



คุณรู้ไหมว่า ตามกฎหมายไม่มีบริษัทไหนมีสิทธิ์ห้ามไม่ให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ทำงาน
หรือต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เหมาะกับช่วงตั้งครรภ์
ยังมีเรื่องที่คุณควรรู้อีกมากมาย ที่กฎหมายกำหนดไว้เกี่ยวกับการทำงานเพื่อ ไม่ให้ผู้หญิงถูกเอาเปรียบ ...

ความ เท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ได้รับการพัฒนาและยอมรับเพิ่มมากขึ้น เป็นลำดับ
สำหรับประเทศไทยเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลังจากมีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ซึ่งในมาตรา 30 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน”
และที่ทำงานก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ที่ผู้หญิงต้องการการยอมรับในความ สามารถไม่น้อยไปกว่าผู้ชาย
เป็นเรื่องน่าดีใจที่คนไทยค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
เพราะปัจจุบันมีผู้หญิงทำงานจำนวนไม่น้อย ที่ได้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง
เป็นผู้บริหาร เป็นนักการเมือง เป็นนักการทูต ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ในทุกสังคมเมื่อมีคนใจกว้างก็ย่อมมีคนใจแคบด้วย
จึงมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับการยอมรับ และให้โอกาสในการทำงานเท่า เทียมกับผู้ชาย
เพียงเพราะว่าเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้ว และเรื่องที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ
มีผู้หญิงทำงานจำนวนมากถูกล่วงเกิน หรือถูกคุกคามทางเพศไม่ว่าจะจากนายจ้าง เพื่อนร่วมงาน
หรือแม้แต่ลูกค้า ซึ่งบางครั้งผู้หญิงที่ถูกละเมิดก็ไม่กล้าโวยวาย เพราะกลัวถูกไล่ออกจากงาน
เนื่องจากเมื่อมีเรื่องชู้สาวเกิดขึ้น ผู้หญิงมักเป็นฝ่ายถูกมองว่าเป็นคนผิดมากกว่าผู้ชาย

ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงออกกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของผู้หญิง ไว้ เช่น

มาตรา 15 บัญญัติว่า “ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกัน
เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้”

มาตรา 16 บัญญัติว่า
“ห้ามมิให้นายจ้างหรือหัวหน้างาน กระทำการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงหรือเด็ก”

และมาตรา 43 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์”


อำนาจไม่อยู่เหนือกฎหมาย

กฎหมายทั้งสามมาตราดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ที่บัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานของผู้หญิง โดยเป็นบทบัญญัติพื้นฐานที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียม
และความเสมอภาคกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในการทำงาน อย่างเช่น คดีหนึ่ง*
เป็นเรื่องที่ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ชายของบริษัทแห่งหนึ่ง และเป็นผู้มีอำนาจตัดสินว่า
พนักงานเข้าใหม่จะผ่านทดลองงานหรือไม่ และมักจะใช้อำนาจหน้าที่ชักชวนพนักงานหญิงที่อยู่ใต้บังคับบัญชา
ออกไปเที่ยว เตร่ในเวลาค่ำคืนนอกเวลางาน หากพนักงานไม่ไปก็ขู่ว่าจะไม่ยอมให้ผ่านการทดลองงาน
ภายหลังเมื่อบริษัทรู้พฤติกรรมของผู้บริหารคนนี้ จึงไล่เขาออกจากบริษัทในที่สุด

ตามกฎหมายแรงงาน หากลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรง
การไล่ลูกจ้างออกนั้น นายจ้างหรือบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้ด้วย แต่กรณีนี้ทางบริษัทไม่จ่าย
ผู้บริหารคนนี้จึงนำคดีมาฟ้องที่ศาลแรงงาน
แต่ศาลฎีกาตัดสินว่า การกระทำของเขาเข้าข่าย ที่จะมุ่งกระทำการล่วงเกินทางเพศต่อพนักงานหญิง
หรือ ผู้สมัครงานหญิง ซึ่งนอกจากจะเป็นการประพฤติผิดศีลธรรม และจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมแล้ว
ยังมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของบริษัท และความเจริญก้าวหน้าของกิจการ ด้วย
เพราะถ้าบริษัทมีผู้บริหารแบบนี้ พนักงานก็จะถูกกลั่นแกล้งจนขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ซึ่งมีผลกระทบต่อ บริษัทโดยตรง บริษัทจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ไล่ผู้บริหารคนนี้ออก

นอกจากนี้ภาครัฐยังคำนึงปัญหาที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ ถูกกีดกันในการทำงาน เพราะเหตุตั้งครรภ์ด้วย
จึงบัญญัติในกฎหมายไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างผู้หญิงเพราะเหตุตั้งครรภ์
เพราะถ้าหากไม่ป้องกันไว้ก่อน การทำงานของผู้หญิงอาจจะต้องสวนทางกับการมีครอบครัว
ซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้หญิงไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติสุข

ศาลฎีกาเคยตัดสินคดีหนึ่ง* ที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นนักแสดงที่ตั้งครรภ์
เพราะได้ทำข้อตกลงกันไว้ก่อนทำงานแล้วว่า นักแสดงหญิงจะตั้งครรภ์ไม่ได้ หากตั้งครรภ์จะต้องถูกเลิกจ้าง
แม้จะมีข้อตกลงไว้แบบนั้น แต่การเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ต้องเป็น กรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้างได้รับความเสียหาย
ส่วนการตั้งครรภ์นั้น นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างได้ เพราะถือว่าไม่เป็นธรรม นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย


บทลงโทษนายจ้าง

กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดโทษของผู้ที่กระทำฝ่าฝืนกฎหมายไว้ด้วย
กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างผู้หญิงเพราะตั้งครรภ์ จะต้องมีโทษจำคุก 6 เดือน และปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนกรณีนายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายหญิงไม่เท่าเทียมกัน หรือกระทำล่วงละเมิดทางเพศ
ต้องมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่ถ้าหากการล่วงละเมิดทางเพศนั้นรุนแรงจนถึงขั้นเป็นการทำอนาจาร
หรือข่มขืน กระทำชำเรา ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญาด้วยอีกส่วนหนึ่ง
นายจ้างหรือผู้ที่ กระทำก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมายอาญา

นอกจากนี้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ยังมีบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับการคุ้มครอง แรงงานหญิงไว้ในมาตรา 38 ถึง 42 ด้วย
โดยได้กำหนดงานบางประเภท ซึ่งห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างผู้หญิงทำงานที่กฎหมาย กำหนดไว้นั้น
ก็เป็นงานใช้แรงงานหนักและงานเสี่ยงอันตรายต่างๆ
และห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 06.00 น.
ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานหนักและอันตราย

กฎหมายยังกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ลา เพื่อคลอดบุตรได้ไม่ เกินเก้าสิบวันด้วย
และถ้าหากลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีใบรับรองของแพทย์มาแสดงว่า ไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้
ลูกจ้างก็มีสิทธิ์ขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิม เป็นการชั่วคราวก่อน หรือหลังคลอดได้ด้วย

เป็นเรื่องน่ายินดีที่กฎหมายได้ให้ความสำคัญ และคุ้มครองผู้หญิงในการทำงานเป็นอย่างดี
จึงหวังว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน ในการทำงานระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงก็น่าจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ


หมายเหตุ : *คดีแรงงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1372/2545 และ 3843/2541
ที่มา : //www.jobjob.co.th
ภาพจาก : //www.saveforhouse.com




 

Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2553
2 comments
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2553 20:41:16 น.
Counter : 1602 Pageviews.

 

ขอบคุณครับได้สาระความรู้ดีครับเกี่ยวกับการทำงาน



ทารก

 

โดย: Kingkimson 23 กุมภาพันธ์ 2553 23:53:27 น.  

 

รับจ้างพิมพ์งาน/ทำรายงาน

-พิมพ์งาน
ภาษาไทยแผ่นละ 3 บาท
ภาษาอังกฤษแผ่นละ 4 บาท
ส่งงานทาง E-mail
-ทำรายงาน
หน้าละ 3 บาท
จัดทำเป็นรูปเล่ม
ขาวดำหน้าละ 3 บาท
สีหน้าละ 4 บาท
แต่ถ้าไม่ถึง 50 หน้าหน้าละ 4 บาทหมด
ส่งงานทาง E-mail หรือเป็นรูปเล่มส่งทางไปรษณีย์จัดส่งทั่วประเทศ
-รับกรอกแบบสอบถามแผ่นละ 3 บาท

ส่งเงินทางธนาณัติหรือโอนเงินเข้าบัญชี
สนใจติดต่อ lingpop@hotmail.com หรือ 088-2311943

 

โดย: Sand IP: 192.168.28.86, 202.28.84.48 24 กุมภาพันธ์ 2553 17:09:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.