Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
14 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

สรรหา-รักษาคน ช่วงเศรษฐกิจขาลง



ค่อนข้างจะชัดเจนแล้วว่าสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งของประเทศไทย
กำลังสะดุดและโซเซเพราะพิษน้ำมันแพง ค่าแรงถูก อาหารขาดแคลน และการเมืองขาดเสถียรภาพ
บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงิน และผู้นำประเทศ รวมทั้งผู้นำธุรกิจได้ออกมาแสดงความมั่นใจแล้วว่า
เศรษฐกิจคงจะไม่ฟู่ฟ่าแน่ นอน นอกจากจะไม่ฟู่ฟ่าแล้วยังจะแน่นิ่ง ซึ่งแน่นิ่งก็ย่อมดีกว่าถดถอยขาลง
ซึ่งผู้เขียนเกรงว่าประเทศไทยของเราจะอยู่ในข่ายขาลงไปกับเขาด้วย ...

สภาพ การณ์แบบนี้ไม่เอื้อต่อการขยายธุรกิจและการจ้างงานเลย ดังจะเห็นได้ว่าในสหรัฐอเมริกานั้น
อัตราการจ้างงานและการสร้างงานใหม่ในภาคอุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและภาค รัฐ
ลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมาแล้ว โดยอัตราการเปิดตำแหน่งใหม่เพื่อจ้างงานนั้นลดลง
จากเดือน ธ.ค. 2549 ที่มีตัวเลขอยู่ที่ 4,401,000 ตำแหน่ง ลดลงเหลือ 4,039,000 ตำแหน่งในเดือน ธ.ค. 2550

สำหรับประเทศไทยนั้น แม้ผู้เขียนจะยังหาตัวเลขยืนยันแน่นอนไม่ได้ว่าอัตราการเปิดตำแหน่งใหม่
และ การจัดจ้างโดยทั่วๆ ไปเป็นอย่างไร แต่จากการสอบถามพูดคุยกับบุคคลในวงการ HR
และการติดตามบทสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์กรต่างๆ ก็พบว่า
ปีนี้เศรษฐกิจไทยของเราไม่น่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เกิน 4% แน่นอน
และตัวเลขที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ อยู่ที่ 3.7-3.8% หากไม่มีเหตุการณ์วิกฤตอะไรเกิดขึ้นทำให้ขาลงไปยิ่งกว่านี้
และลักษณะเช่นนี้มีผลทำให้องค์กรทั้งหลาย ใช้ความระมัดระวังในการกำหนดงบ ประมาณค่าใช้จ่าย
การจ้างงาน (ไม่ใช่ว่าไม่จ้างนะคะ ถ้าจำเป็นก็จ้าง แต่จ้างด้วยความระวัง) ประมาณว่า
ถ้าจะจ้างใครสักคนต้องคุ้มค่าตั้งแต่วันแรกที่ทำงานจนถึงอนาคตภาย ภาคหน้าเลยทีเดียว

ตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการเสมอ
แม้ว่าแนวโน้มการเปิดตำแหน่งงานใหม่และการจัดจ้างงานโดยทั่วไปจะไม่ คึกคักและดูท่าจะซึมเซา
แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีงานอยู่หลายตำแหน่งที่ครองอันดับ “ฮิตตลอดกาล” ทั้งนี้ในสหรัฐอเมริกานั้น
Jobfox ได้ทำการสำรวจ Jobfox Top 25 Most Wanted U.S. Professions ประจำปี 2550 พบว่า
บุคลากรที่มีความสามารถสูงระดับมือโปร (Professional) เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ คือ
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developers) พยาบาล พนักงานขาย และนักบัญชี
และตำแหน่งงานระดับมืออาชีพที่มีการเข้า-ออกของตำแหน่งสูงก็คือ งานออกแบบ/พัฒนาซอฟต์แวร์
(Software Design/Development) งานพยาบาล
งานบัญชี/การเงินในตำแหน่งบริหารระดับสูง (Accounting/Finance Executives)
ตัวแทนนักพัฒนาการขาย/ธุรกิจ (Sales/Business Development Representatives)
และงานผู้ช่วยด้านงานบริหาร (เลขานุการ หรือ Administrative Assistant)

ส่วนงานที่ฮอตอีก 10 อันดับถัดไป คือ งานนักการเงินขององค์กร (Corporate Finance)
งานบริหารโครงข่ายและระบบ (Networking/System Administration)
งานด้านการประมวลข้อมูลข่าวสาร (Intelligence)
งานบัญชีทั่วไปและงานเทคโนโลยีสนับสนุนและบริการลูกค้า (Technical Customer Support)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังไม่เห็นมีชื่อ HR ติดอันดับท็อป 10 กับเขาเลยนะคะ แต่อย่าเพิ่งเสียใจไป
เพราะอย่างน้อยงาน HR ก็ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นสาขาอาชีพที่น่าให้ความสนใจ
(ประมาณว่ามีแววดีและมีอนาคตสดใส) อาชีพหนึ่ง
และทั้งหมดนี้ก็คือสถานการณ์ความฮอตของสายอาชีพต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

แล้วประเทศไทยล่ะ? สำหรับของไทยนั้นตัวเลขจากหน่วยราชการต่างๆ ในบ้านเรา และสำนักวิจัยต่างๆ
เช่น สภาพัฒน์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ TDRI ฯลฯ บ่งชี้มาหลายปีว่า
อาชีพต่างๆ เหล่านี้เป็นสาขาที่บ้านเราขาดแคลนเสมอ คือ แพทย์ พยาบาล วิศวกร
นักพัฒนาและออกแบบซอฟต์แวร์ โปรแกรมเมอร์ นักการเงิน นักบัญชี และนักการตลาด
แต่ในระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ นักบริหารมืออาชีพในสาขางานใหม่ที่เป็นที่ต้องการของบริษัทข้ามชาติ (MNC)
และองค์กรขนาดใหญ่ก็คือ มือโปรด้าน HR นั่นเอง งานนี้ HR ได้เฮ! แล้วนะคะ ถ้าไม่เชื่อ
ก็ลองพลิกดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็จะเห็นว่า มีประกาศลงโฆษณาหาคนทำงานในตำแหน่งดังกล่าวจริงหรือไม่
จะว่าไปแล้วสภาพการจ้างงานและความต้องการของนายจ้างในบ้านเรา
ก็ไม่หนีห่าง จากสภาพในสหรัฐสักเท่าไรนัก


เก่งจริงเสียอย่าง...ยังไงก็ต้องจ้าง!
แม้ภาวะเศรษฐกิจจะลดลง แต่เมื่อได้พูดคุยกับบรรดา HR ของบริษัทชั้นนำหลายคน
ผู้เขียนก็พบว่า บริษัท MNC และองค์กรชั้นนำทั้งหลายก็ยังประสบปัญหาขาด Talent อยู่ตลอดเวลาในทุกสาขา
เพราะคนเก่งระดับ Talent นั้นเป็นที่ต้องการและถูกหมายตาจาก HR ทุกองค์กร
อย่าเผลอเชียวนะ! แว้บ...หายไปอยู่บริษัทอื่นอีกแล้ว ดังนั้นแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะซบเซา
แต่ภาระงานในการสรรหาไล่ล่า Talent ของ HR นั้นมิได้ลดลงเลย
ทั้งนี้ตัวเลขจากสำนักวิจัยของ New York Stock Exchange (NYSE) ได้ระบุไว้แล้วว่า
ภารกิจในการสรรหาและรักษา Talent ตั้งแต่ปี 2006–2008 มันยากยิ่งขึ้น
และยากกว่าการสรรหาและรักษาลูกค้าและผู้ลงทุนเสียอีกแน่ะ!

เครื่องมือและสื่อที่ใช้ในการสรรหาคนยุคเศรษฐกิจขาลง
จากการสำรวจของ IOMA ที่จัดทำการวิจัยและคู่มือชื่อ IOMA’s 2008 Guide to HR Benchmarks
ได้แสดงผลการสำรวจว่า มีเครื่องมือหรือช่องทางถึง 10 กว่าวิธี ที่องค์กรขนาดเล็กถึงขนาดยักษ์
ใช้ในการสรรหาบุคลากร โดยในบรรดา 14 วิธีนี้ เครื่องมือสุดฮิต 5 อันดับแรกที่องค์กรในสหรัฐอเมริกานิยมใช้
ก็คือ

อันดับ 1 โฆษณาผ่านเว็บไซต์ของบริษัทเอง นิยมถึง 87%
อันดับ 2 สรรหาโฆษณาโดยวิธีออนไลน์ นิยมถึง 82%
อันดับ 3 พนักงานในบริษัทแนะนำกันเอง นิยมถึง 78%
อันดับ 4 โฆษณาในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ นิยมถึง 73%
อันดับ 5 ไปคัดเลือกกันในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเลย นิยมถึง 60%

ส่วนรองอันดับอื่นๆ อีก 9 อันดับ คือ การใช้บริษัทสรรหาจำพวก Head Hunter การตั้งบูธรับสมัครงาน
การออกงาน Job Fair การสรรหาการคัดเลือกจากประวัติการทำงาน (Resume) ที่มีคนนำไป Post (ประกาศ)
เอาไว้ในอินเทอร์เน็ต การสรรหาจากสมาคมผู้ประกอบอาชีพต่างๆ การสรรหาจากพนักงานมือดีที่ลาออกไปแล้ว
การสรรหาจากพนักงานฝึกงาน (Internship) การประชาสัมพันธ์ทางทีวีและวิทยุ
และสุดท้ายคือ ไม่มีแผนกลยุทธ์การสรรหา (ประเภทแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามแต่จะมีไอเดีย ณ เวลานั้น)

สำหรับในประเทศไทยนั้น วิธีการในการสรรหาที่ใช้ได้ผลมากที่สุด 5 อันดับ คือ
การสรรหาของบริษัทผ่านทางออนไลน์
และการนำเสนอตนเองของผู้สมัครโดยการนำ Resume ไปลงในอินเทอร์เน็ต
เป็นวิธีการที่กำลังได้รับความนิยมมาก และได้ผลมากไม่แพ้การโฆษณารับสมัครงานตามหน้าหนังสือพิมพ์
ที่เคยเป็นสื่อที่ ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 แต่ในปัจจุบันนี้การสื่อสารโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตมาแรง
จนแซงหน้าหนังสือพิมพ์ ไปแล้วสำหรับคนวัย Gen X และ Gen Y แต่ถ้าเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงนั้น
โดยมากจะใช้วิธีสรรหาผ่าน Head Hunter เพราะตำแหน่งระดับนี้บุคลากรเขาไม่ค่อยง้องานค่ะ
มีแต่นายจ้างต้องวิ่งไปจับเขาเอง โปรดรับทราบเอาไว้ด้วย!
ถึงตอนนี้คงพอมองเห็นแนวทางการสรรหาบุคลากรระดับต่างๆ ช่วงเศรษฐกิจขาลงแล้วว่า
สภาพการณ์ทั่วไปของงาน HR ในเรื่องการสรรหา Talent ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสภาวะปกตินะคะ
กล่าวคือ ยังต้องหาคนเก่งกันอย่างเอาเป็นเอาตายอยู่!


กลยุทธ์ป้องกันไม่ให้ Talent ลาจาก
ถ้าถามว่าช่วงเศรษฐกิจขาลงนี้จะทำให้นายจ้างและ HR สบายใจขึ้นได้ไหมว่า
บรรดา Top Talent จะไม่ลาออกจากงานง่ายๆ และบ่อยๆ
เพื่อที่อัตราเข้า-ออก (Turnover Rate) ของพนักงานจะได้ลดลงบ้าง
แต่เปล่าเลยค่ะ! อัตราการเข้า-ออกของบุคลากรไม่ได้ลดลงไปอย่างแบบที่เรียกว่าเห็นหน้าเห็น หลังเลย
นอกจากนี้ ในกรณีที่อัตราการเข้า-ออกลดลงบ้างก็ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเศรษฐกิจฝืดเคือง
แต่เป็นเพราะองค์กรต่างๆ มีการพัฒนากลยุทธ์ในการรักษา Talent ดีขึ้น...
ทั้งนี้ถ้าเป็นพนักงานธรรมดาๆ ที่ไม่มีฝีไม้ลายมือมากนัก พวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ค่อยอยากลาออกอยู่แล้ว

มาคุยต่อเรื่องการรักษา Talent ดีกว่า ยิ่งเศรษฐกิจไม่ค่อยดี นายจ้างก็อยากได้คนเก่งๆ มาทำงาน
เพราะจ้างคนเก่งคนเดียวอาจคุ้มค่ากว่าจ้างคนไม่มีฝีมือ 3-4 คน ก็ยังเป็นไปได้
ทั้งนี้ในยุคเศรษฐกิจขาลงมีข้อแนะนำในการรักษาบุคลากรชั้นดี ให้นายจ้างและ HR ดังต่อไปนี้

1. ถามไปเลยว่าพนักงานอยากได้อะไร!
ดีกว่านั่งเทียนคิดแพ็กเกจค่าตอบแทนและรางวัลอื่นๆ ที่พนักงานไม่ชอบ
อย่ากลัวว่าจะตอบสนองความต้องการทั้งหมดของพวกเขาไม่ไหว มันสำคัญอยู่ที่นายจ้างและ HR “รับฟัง”
และ “สนใจ” ความต้องการของเขา และพยายามทำให้พวกเขาพอใจเท่าที่จะสามารถทำได้ต่างหาก

2. จัดการกับผู้จัดการและหัวหน้างานที่เป็นหัวหน้าที่ไม่ดี
เพราะนายไม่ดีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พนักงานอยากลาออก ดังนั้นรีบ “ซ่อม” ผู้จัดการซะ!

3. มีนโยบายกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น (Flex Time)
เพื่อให้เอื้อต่อการรักษาพนักงานดีๆ ที่อาจมีปัจจัยส่วนตัวทำให้ไม่สามารถทำงานในเวลาปกติได้
ยืดหยุ่นแบบนี้จะได้รักษาคนเก่งๆ ไว้ได้อีกหลายคน

4. เพิ่มโบนัสและรางวัลพิเศษให้คนที่มีผลงานเยี่ยมยอดกว่าคนอื่น

5. รู้จักให้เกียรติและยกย่องพนักงานที่ทำอะไรดีๆ ให้องค์กร
เช่น รู้จัก “ขอบคุณ” พนักงาน แม้ว่าสิ่งที่เขาทำให้อาจจะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

6. พยายามพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพในทุกๆ ด้าน
ได้แก่ การพัฒนาฝึกอบรมพนักงาน การพัฒนาทางสายอาชีพ จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโต
และเรียนรู้ให้พนักงาน สร้างโอกาสให้พนักงานได้มีสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่ดี เป็นต้น

7. ต้องคอยสำรวจเปรียบเทียบกับตลาดภายนอกว่า อัตราค่าตอบแทนขององค์กรยังแข่งขันกับคู่แข่งได้
ทั้งนี้เพราะถ้าคุณไม่ทำ พนักงานคนเก่งเขาจะเป็นคนสืบเสาะหาข้อมูลเรื่องนี้เอง

8. สร้างบรรยากาศการทำงานให้ทุกคนรู้สึก “สนุก” ในการทำงาน
ข้อสุดท้ายนี้ผู้บริหารทุกระดับและ HR ต้องใช้ศิลปะร่วมกับศาสตร์บริหารที่ทำให้การทำงานเป็นเรื่องสนุก
การร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานเป็นเรื่องสนุก
คนเราลงว่าถ้าชอบและสนุกเป็นทุน ก็นับว่าผูกใจเขาได้กว่าครึ่งให้ทำงานกับเราแล้วละค่ะ


ทำได้อย่างนี้แล้ว แม้เศรษฐกิจจะทรุด แต่ถ้าพนักงานใจสู้ ก็น่าจะช่วยกันฉุดให้ทุกๆ อย่างดีขึ้นได้แน่นอนค่ะ


ที่มา : //www.jobjob.co.th
ภาพจาก :




 

Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2553
2 comments
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2553 20:56:40 น.
Counter : 1043 Pageviews.

 

บางทีเราทุกคนก็ต้องเจอกับความเครียด ท้อแท้ สิ้งหวัง
นั้นไม่ใช้อะไรที่แปลกไม่ได้หมายความว่าคุณอ่อนแอ แต่การที่คุณยอมรับว่ากลัวสิ่งนั้นต่ะหากละ
ที่เรียกว่าความกล้า กล้าทีจะยอมรับในสิ่งที่คุณกลัว กล้าจะยืนหยัดเเละต่อสู้กับมัน
แต่วันนี้ถ้าสิ่งที่คุณแบบรับไว้นั้นมันเกินกว่าที่คุณจะทนได้ ถ้ายังงั้น
วันนี้คุณลองเปิดใจให้ พระเจ้าเข้ามามีส่วนช่วยคุณคลายปัญหาของคุณได้มั้ย
ลองดูสิเเล้วคุณก็จะผ่านทุกอย่างไปได้อย่างแน่นอน!!
เหมือนที่ฉันได้ผ่านมานมาจนได้!

 

โดย: da IP: 124.120.7.136 14 พฤษภาคม 2553 0:51:09 น.  

 

I was just looking for this info for a while. After six hours of continuous Googleing, at last I got it in your web site. I wonder what's the lack of Google strategy that do not rank this kind of informative sites in top of the list. Normally the top sites are full of garbage.
Mulberry Outlet UK Sale //www.wooden-plantation-shutters-knaresborough-harrogate.co.uk/

 

โดย: Mulberry Outlet UK Sale IP: 94.23.252.21 4 สิงหาคม 2557 1:32:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.